ชื่อผลงาน : นวัตกรรม การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาด้วย scratch game บูรณาการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21
รายละเอียดการนำเสนอนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice )
ตอนที่ 1 ความเป็นมาและสภาพปํญหา
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะสำหรับการดำรงชีวิตใน
สังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้
(Learning Skill) โดยอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่มาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) ซึ่งวิจารณ์ พานิช(2555: 16) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้ามสาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้ ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่21 ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) ครูต้องเรียนรู้ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้ เหมาะแก่วัยหรือพัฒนาการของผู้เรียน สาระวิชาก็มีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิต ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือsubject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของผู้เรียนโดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถ ประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ รูปแบบการเรียนรู้ที่สำคัญเช่น การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning : PBL) การเรียนรู้แบบใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน(Technology-Based Learning: TBL) การเรียนรู้แบบใช้สะเต็มศึกษา (STEM Education) การเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) เป็นต้น
ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ออย่างเป็นระบบขั้นตอน และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทักษะนี้มีความจำเป็นต่อทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่สามารถเรียก ทักษะการแก้ปัญหา ว่าเป็น ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญเลยก็ว่าได้เพราะทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) นั้นมักจะต้องใช้ควบคู่ไปกับทักษะต่างๆอย่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) คือ กระบวนการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลอย่างมีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) คือ การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง และการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คือ การคิดที่หลากหลาย ริเริ่ม ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความคิดการใช้ทักษะการแก้ปัญหาผนวกกับทักษะอื่นๆเหล่านี้จะส่งผลให้เรานำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ กลั่นกรองและย่อยข้อมูลที่มีอยู่มากมายในโลกดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตประจําวัน จนถึงการนำไปพัฒนา ต่อยอด สร้างสรรค์เกิดเป็นนวัตกรรมสิ่งใหม่เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้อย่างไม่มีสิ้นสุด
มิลเลอร์ (Miller. 1998 ) ได้ให้ความหมายของทักษะการแก้ปัญหาว่าหมายถึงความสามารถในการคิดอย่างเป็นนามธรรมที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาการวางแผนในอนาคตและการมองหาความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2550 ได้ให้ความหมายของทักษะการแก้ไขปัญหาว่าหมายถึงการใช้ประสบการณ์ที่ค้นพบด้วยตนเองที่เกิดจากการสังเกตการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการตีความและการสรุปความเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2551) ว่าทักษะในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการรู้จักขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในยามจำเป็นรู้จักพัฒนาและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหาสามารถหาทางแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
โรงเรียนวัดเขาสมอระบังได้สร้างนวัตกรรม SAMORs Model เพื่อพัฒนาบุคลากร ผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นว่า SAMORs Model เป็นนวัตกรรมที่คลอบคลุมครบทั้ง 3R8Cs จึงนำมาพัฒนาและ ต่อยอดในชั้นเรียน ปัจจุบันการเรียนการสอนเน้นการท่องจำซึ่งไม่เกิดจากความเข้าใจโดยแท้จึงทำให้นักเรียนไม่สามารถอ่านสะกดคำหรืออ่านออกเสียงได้และไม่เข้าใจความหมาย เมื่อคำศัพท์มากขึ้นการจำของนักเรียนไม่สามารถจดจำคำศัพท์ได้รวมทั้งขาดทักษะการคิดตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา ทางผู้จัดทำจึงจัดทำ นวัตกรรม การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาด้วย scratch game บูรณาการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาของนักเรียนบูรณาการกับวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาระดับสูงต่อไป