ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เผยแพร่นวัตกรรมการศึกษา "การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิค ๓อ๕พ ชั้นประถมศ฿กษาปีที่ ๑"

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพเป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑)

กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ นักเรียนเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ต้องอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทั้งในขณะที่เรียนอยู่ระดับการศึกษา และในระดับที่ซับซ้อนขึ้นเมื่อเติบใหญ่ สามารถดูแลตนเอง มีอาชีพและมีรายได้ เป็นนักคิด และเรียนรู้ตลอดชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดนโยบายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียน และมีทักษะการสื่อสาร เพื่อเป็นฐานในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อื่นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๒)

ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดนโยบายในปีการศึกษา ๒๕๖๔ “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ให้เป็นไปอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ทุกคน อ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ อ่านคล่องเขียนคล่อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและขับเคลื่อนการศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการใช้ภาษาไทยที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนการนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๖๔)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ มีความประสงค์ให้นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ “นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เมื่อจบชั้นป.๑ ต้องอ่านออกเขียนได้และมีมาตรการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม” บรรลุผลตามเป้าหมาย และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง จึงกำหนดนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดพัฒนาการอ่านการเขียนโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภายในเขตพื้นที่การศึกษา และหรือใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนอ่านเขียนของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องมาเป็นต้นแบบ เช่น ได้นำแนวทางวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนบ้านหนองแก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๑ ซึ่งเป็นแบบปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลในระดับประเทศ ในปี ๒๕๕๙ มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐ และพัฒนาต่อยอดคู่มือโดยคณะทำงานที่เป็นศึกษานิเทศน์และเครือข่ายครูภาษาไทยในสังกัดจนถึงในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ทำการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และให้ขวัญกำลังใจอย่างใกล้ชิด พร้อมกำกับ ติดตาม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ อยู่ในระดับพอใช้ในต้นปีการศึกษา ๒๕๖๕ เพื่อให้อ่านคล่องเขียนคล่องทุกคนต่อไป (กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒, ๒๕๖๕)

โรงเรียนวัดศรีประชารามเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ ผู้บริหารโรงเรียนจึงได้มีการแจ้งนโยบายและมาตรการการดำเนินงานพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ให้ครูผู้สอนรับทราบ เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนอ่านเขียนภาษาไทย และประเมินการอ่านเขียนภาษาไทยเดือนละ ๑ ครั้ง นำผลไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนต่อไป ภายใต้การนิเทศ กำกับ ติดตาม จากผู้บริหารโรงเรียนและฝ่ายวิชาการโรงเรียนวัดศรีประชาราม

ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีแนวคิดในการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนของผู้เรียน โดยเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community) กับครูในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ E-RECAP Model ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ให้มีความสามารถตามช่วงวัย แต่เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นระดับชั้นที่นักเรียนส่วนใหญ่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดวิเคราะห์ยังไม่เป็น ดังนั้นครูผู้สอนจำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ได้ตามช่วงวัย ซึ่งทักษะที่จำเป็นต้องพัฒนาเป็นลำดับแรกก็คือ ทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาทักษะการเขียน และการคิดวิเคราะห์สามารถทำได้ง่ายขึ้น ผู้สอนจึงมีการคิดค้นเทคนิคการสอนอ่านในรูปแบบ ๓อ๕พ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม

ปีการศึกษา ๒๕๖๕

๔. วัตถุประสงค์

๕.๑ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการประเมินการอ่านออกเสียงคำพื้นฐานภาษาไทยผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๑๐๐

๕.๒ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการประเมินการอ่านออกเสียงคำพื้นฐานภาษาไทยอยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ ๘๐

๕.๓ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) รวมสองด้านร้อยละ ๘๐

๕.๔ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้เทคนิค ๓อ๕พ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนวัดศรีประชาราม

๕. กลุ่มเป้าหมาย

ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

๕.๑ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๗๕ คน

๕.๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๓๗ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

๖. หลักการ แนวคิด ทฤษฎี

การดำเนินการศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้เทคนิค ๓อ๕พ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม ผู้สอนได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

๖.๑ ทฤษฎีระบบ (System Theory)

เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักบริหาร สามารถที่จะมองเห็นภาพรวมขององค์การทั้งหมดตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาองค์การในลักษณะระบบนั้นจะก่อให้เกิดการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาขององค์การทั้งระบบระบบประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ (สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, ๒๕๔๖)

๑) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ได้แก่ ทรัพยากรต่างๆ ที่ต้องใช้ในกระบวนการบริหาร นั่นคือทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางการเงิน และข้อมูลที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

๒) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) ประกอบด้วย เทคนิคในการจัดการต่างๆ รูปแบบกิจกรรมการผลิต เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

๓) ปัจจัยนำออก (Outputs/outcome) ได้แก่ สินค้า บริการ กำไร ขาดทุน และผลที่คาดหวังอื่นๆ เช่น ศักยภาพของพนักงานที่พัฒนาขึ้น เป็นต้น

๔) ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดจากกิจกรรมขององค์การ

ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ได้

จากทฤษฎีระบบนั้น องค์การจะใช้กระบวนการแปรสภาพเพื่อเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าไปเป็นผลผลิต และในขณะเดียวกันกลไกในระบบก็จะขึ้นกับการนำข้อมูลย้อนกลับไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์

๖.๒ หลักการของวงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นการจัดการอย่างมีคุณภาพ เป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่า วงจรคุณภาพ (PDCA) หรือวงจรเด็มมิ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ การวางแผนการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบและการปรับปรุงแก้ไขดังนี้ (วีณา โฆษิตสุรังคกุล, ๑๙๙๘)

๑) P = Plan (ขั้นตอนการวางแผน)

ขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน โดยระบุวิธีการเก็บข้อมูลและกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงให้ชัดเจน

๒) D = Do ขั้นตอนการปฏิบัติ ( ขั้นตอนการปฏิบัติ )

ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่าได้ดำเนินไปในทิศทาง

ที่ตั้งใจหรือไม่ เพื่อทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้

๓) C = Check ( ขั้นตอนการตรวจสอบ )

ขั้นตอนการตรวจสอบ คือ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทราบว่า ในขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่

แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้างและบ่อยครั้งแค่ไหน เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนถัดไป

๔) A = Act ( ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม )

ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ ๒ กรณี คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ หากเป็นกรณีแรก ก็ให้นำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ซึ่งอาจหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม หรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม หากเป็นกรณีที่สอง

คือ ผลที่ได้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่วางไว้ ควรนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และพิจารณา

ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร

๖.๓ การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีแนวทางดังนี้ (กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒, ๒๕๖๕)

๖.๓.๑ ขั้นนำ

แนะนำการออกเสียงพยัญชนะเพื่อเตรียมความพร้อมในการประสมเสียง เช่น “ก”ออก

เสียงว่า “กอ”

๖.๓.๒ ขั้นสอน

๑) ครูใช้เพลงพยัญชนะ สระ ที่สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต (You Tube) มาใช้สอนนักเรียน เช่น เพลงสระอิ เพลงพยัญชนะ “ก” ซึ่งมีทุกพยัญชนะ สระ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน ควรซ้ำเพลง ๒-๓ รอบ

๒) เมื่อเริ่มการสอนประสมเสียง ครูบอกตำแหน่งของพยัญชนะ สระ ลักษณธและรูปร่าง พร้อมให้นักเรียนดูบัตรพยัญชนะ บัตรสระ และควรให้นักเรียนทุกคนได้สัมผัสบัตรพยัญชนะ และบัตรสระ

๓) ครูให้นักเรียนฝึกเขียนพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในอากาศ เพื่อบันทึกความทรงจำ

๔) ในขั้นตอนการประสมเสียง ครูแนะนำนักเรียนว่า ให้นักเรียนออกเสียงอักษรที่เป็นสีดำก่อน(พยัญชนะต้น) ต่อมาออกเสียงอักษรสีแดง(สระ) สีน้ำเงิน(ตัวสะกด) และสีเขียว(วรรณยุกต์) ตามลำดับ

๕) เมื่อนักเรียนฝึกประสมเสียง (แจกลูกคำ) แล้ว ให้ครูสอนความหมายของคำที่ฝึกอ่านในโอกาสที่เหมาะสมในช่วงการสอนนั้น

๖) ในการฝึกอ่าน ครูให้นักเรียนฝึกอ่านตามลำดับ ดังนี้

- ครูอ่านให้นักเรียนฟัง โดยครูต้องอ่านออกเสียงชัดเจน ถูกต้องและเสียงดัง พอที่นักเรียนจะได้ยินทั่วถึงทุกคน อาจใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อให้นักเรียนสังเกตและจดจำการอ่านออกเสียงของครู

- ครูอ่านนำให้นักเรียนอ่านตาม เพื่อให้นักเรียนสังเกตและจดจำ

- ให้นักเรียนอ่านพร้อมกันทั้งชั้น เพื่อให้นักเรียนที่อ่านได้นำนักเรียนที่อ่านไม่ได้ นักเรียนที่อ่านไม่ได้จะคลอเสียงไปกับนักเรียนที่อ่านได้ และคุ้นเคยกับเสียงสูงต่ำและความไพเราะของภาษาไทย

- ให้นักเรียนอ่านรายบุคคล โดยการแบ่งกลุ่มการอ่าน กลุ่มละ ๓-๕ คน โดยให้นักเรียนนั่งล้อมวงแล้วอ่านทีละคน นักเรียนจะมีส่วนเอาใจช่วยเพื่อนและบอกให้เพื่อนอ่าน หากเพื่อนอ่านไม่ได้ การฝึกอ่านลักษณะนี้จะเป็นการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

๖.๓.๓ ขั้นการตรวจสอบและประเมิน

ครูตรวจสอบการประเมินการสอนทุกครั้งที่ทำการสอนโดยการขึ้นกระดานคำที่สอนอีกรอบ และมีการทดสอบการอ่านนักเรียนรายบุคคล

๖.๔ การเรียนการสอนภาษาไทย

๖.๔.๑ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (๒๕๔๙: ๙๔-๙๕) ได้ให้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยไว้ดังนี้

๑) ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว โดยการฝึก ทักษะแต่ละอย่าง

ให้แม่นยำแล้วจึงฝึกทักษะทั้ง ๕ ให้สัมพันธ์กันและส่งเสริมการคิด ตลอดจนความคิด สร้างสรรค์

๒) ฝึกทักษะทางภาษาซ้ำๆ และบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ และหมั่นฝึกฝน ทบทวนอยู่เสมอ

ครูผู้สอนต้องส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะเป็นรายบุคคลอย่างทั่วถึง

๓) ฝึกให้ผู้เรียนรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาควบคู่ไปกับการใช้ภาษาและรู้จัก วัฒนธรรมทางภาษา

๔) ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ และทักษะที่ได้จากการเรียนภาษาไทยไปใช้ เป็นเครื่องมือ

สื่อสารในชีวิตประจำวัน และใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนกลุ่มประสบการณ์อื่นๆ

๕) ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทย โดยสอนให้เห็นคุณค่าและ ตระหนักในความ

สำคัญของภาษาไทย ทั้งในส่วนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสาร และในด้านการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ

๖) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจความงดงามของภาษาเพื่อให้เกิดความ จรรโลงใจ โดย

ใช้ธรรมชาติ บทร้อยแก้ว และร้อยกรองที่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นมาเป็นสื่อการเรียนการสอน

๗) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่หาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ

ดำรงชีวิต

๘) สอดแทรกคุณธรรมต่างๆ เช่น ความมีระเบียบวินัย ความขยัน ความอดทน ความ

รับผิดชอบ

๙) ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนช่างสังเกต จดจำ และจดบันทึกสิ่งต่างๆ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์

ทางภาษา ได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

๑๐) นำภาษาที่ใช้ในสังคมแวดล้อมมาเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้สัมพันธ์กับ

การเรียนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

๑๑) ให้แบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ภาษาและการสื่อสารของครูผู้สอน

๑๒) วัดและประเมินผล โดยคำนึงถึงวัย ระดับชั้นและพัฒนาการทางภาษาของนักเรียน

๑๓) ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินผลการเรียนภาษาของตน เพื่อให้นักเรียนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ตามลำดับ

๑๔) ศึกษา ติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องทางภาษาของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

๑๕) จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาไทยด้วยความสนุกสนาน น่าสนใจ โดยใช้

โปรแกรม เพลง รูปแบบการสอนอื่นๆ และสื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดความรัก ในการเรียนภาษาไทย

๑๖) จัดทำหนังสือที่เหมาะสมให้ผู้เรียนอ่านมากๆ หรือส่งเสริมการอ่านหนังสือใน ห้องสมุด

เพื่อให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น

๖.๔.๒ หลักในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย

กิจกรรมการเรียนการสอนมีมากมาย เราสามารถจัดได้ทุกระยะของการเรียนการสอน ตั้งแต่

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุป และขั้นประเมินผล ครูเป็นผู้เลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับ บทเรียน โดยยึดหลักดังนี้

๑) เลือกให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของบทเรียน

๒) เลือกให้เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น ความยุ่งยาก ระดับความรู้

๓) เลือกโดยพิจารณาความสามารถของผู้สอนด้วย เช่น ครูที่ร้องเพลงไม่เก่งก็ จะใช้เครื่อง

บันทึกเสียงแทน

๔) เลือกโดยพิจารณาสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน เช่น ถ้าห้องเรียน แคบ การจัดให้

เล่นเกมแข่งขันก็อาจจะเกิดเสียงดังไปรบกวนห้องอื่น และการเคลื่อนไหวก็ไม่สะดวก ครู ใช้กิจกรรมอื่นแทน หรือพานักเรียนไปสนามหญ้าแทน

๕) เลือกกิจกรรมให้ความสนุกสนาน ปฏิบัติง่าย ไม่ซับซ้อน และยืดหยุ่นได้

๖) เลือกกิจกรรมที่ให้แนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทุกคนมีส่วนร่วม

วรรณี โสมประยูร (๒๕๔๔: ๑๙๓-๑๙๔) ได้อธิบายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็น

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาควรคำนึงถึงจุดประสงค์ ความพร้อมของผู้เรียน ควรให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้ง ๔ ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน และมีการฝึกฝนทาง ภาษา มีการบูรณาการสอนกับวิชาอื่นๆ ตามความเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด เน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดตัดสินใจเอง รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองอยู่เสมอ ควรใช้การสอนหลายๆ วิธี นอกจากนี้ครูควรสอดแทรกคุณธรรม และให้รู้จักการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนการสอนนอกจากจะมีความสำคัญในตัวมันเองแล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเรียนวิชาอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาไทยจึงไม่น่าจำกัดอยู่เฉพาะในชั่วโมงภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งการสอนภาษาไทยควรยึดหลักดังนี้

ด้านตัวผู้สอน ควรสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานและธรรมชาติของผู้เรียน โดยใช้สื่อการสอนที่

ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีการเชื่อมโยงความรู้ส่งเสริมทักษะการคิดให้กับผู้เรียน

ด้านผู้เรียน ควรมีความพร้อมในการเรียน มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ

ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีการใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนรู้คำ สามารถ

เชื่อมโยงคำที่มีลักษณะคล้ายกันได้ และสามารถอ่านออกเสียงคำที่คล้ายกันได้อย่างคล่องแคล่ว

๖.๕ การอ่าน

๖.๕.๑ ความหมายของการอ่าน

ประทีป วาทิกทินกร (๒๕๔๒: ๒) ได้ให้ความหมายของการอ่าน คือ การรับรู้ข้อความ ใน

ข้อเขียนของตนเอง และของผู้อื่น รวมทั้งการรับรู้เครื่องหมายสื่อสารต่างๆ เช่น เครื่องหมายจราจร และเครื่องหมายที่แสดงในแผนภูมิต่างๆ

วรรณี โสมประยูร (๒๕๔๔: ๑๒๑) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่านเป็นกระบวนการ

ทางสมองที่ใช้สายตาสัมผัสตัวอักษรหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคำหรือ สัญลักษณ์โดยแปลออกเป็นความหมายที่ใช้สื่อความคิดและความรู้ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านให้เข้าใจ ตรงกันและผู้อ่านสามารถนำความหมายนั้นๆ ไปใช้ประโยชน์ได้

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (๒๕๔๕: ๑) ได้ให้ความหมายของการอ่านคือความเข้าใจในสัญลักษณ์

เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร คำและข้อความที่พิมพ์หรือเขียนขึ้นมา

ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๖: ๑) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า หมายถึง การอ่านตาม

ตัวหนังสือ การออกเสียงตามตัวหนังสือ การดูหรือเข้าใจความจากหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดู เพื่อให้เข้าใจ การคิด การนับ

๖.๕.๒ ความสำคัญของการอ่าน

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (๒๕๔๓: ๒) ได้อธิบายความสำคัญของการอ่านว่าการอ่านเป็น

เครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ การรู้และใช้วิธีอ่านที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้อ่านทุกคน การรู้จักฝึกฝนอ่านอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านที่ดี ทั้งจะช่วยให้เกิดความชำนาญและความรู้กว้างขวางด้วย ดังนั้นการที่นักเรียนจะเป็นผู้อ่านที่ดีจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ครู เป็นผู้จัดเตรียมให้ อีกทั้งยังต้องผสมผสานกับความสนใจของผู้อ่าน เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้นักเรียนได้ อ่านอย่างสม่ำเสมอ

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (๒๕๔๕: ๒) ได้อธิบายความสำคัญของการอ่านว่า การอ่าน มีความ

สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและช่วยสนองความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ได้ทุกเรื่อง ซึ่งมีอยู่ในทรัพยากรสารนิเทศทุกประการโดยเฉพาะความอยากรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ

๖.๖ การเรียนรู้ตามทฤษฎีขของไทเลอร์

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tyler, ๑๙๔๙: ๑๓๖) ได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ด้วยกัน คือ

๑) ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน

๒) การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก

ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

๓) บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้

ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

๗. ขั้นตอนการดำเนินงาน/การออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรม

การจัดทำนวัตกรรมในการพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้เทคนิค ๓อ๕พ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้

๗.๑ INPUT (ปัจจัยนำเข้า)

สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จาก ๔ ปัจจัยดังนี้

๑) วิเคราะห์นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อพัฒนานักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้อ่านออกเขียนได้ทุกคน

๒) วิเคราะห์ผลการทดสอบการอ่านคำพื้นฐานครั้งที่ ๑ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑/๑ โรงเรียนวัดศรีประชาราม ผลปรากฏว่า นักเรียนนักเรียนมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๔๖ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๕๔ และจำแนกตามระดับความสามารถในการอ่านได้ดังนี้ กลุ่มเก่งจำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๕๑ กลุ่มปานกลางจำนวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๙๕ และกลุ่มอ่อนจำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๕๔ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน สาเหตุเนื่องมาจากปีที่ผ่านมาเผชิญกับภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้นักเรียนไม่สามารถมาเรียนได้ จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนลดลง จึงทำให้นักเรียนมีภาวะถดถอยในการเรียนรู้ค่อนข้างมาก ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องมีการคิดหาแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะพื้นฐานตามช่วงวัยโดยเฉพาะทักษะการอ่านซึ่งต้องมีการพัฒนาเป็นลำดับแรก ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการเขียนและการคิดวิเคราะห์ตามลำดับ

๓) วิเคราะห์สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน โดยการออกเยี่ยมบ้านเพื่อรับทราบเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของผู้เรียน รวมถึงประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียนให้มาโรงเรียนให้ทันเวลาเพื่อที่จะได้มีโอกาศในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองในการช่วยดูแลนักเรียนให้ฝึกอ่านเพิ่มเติมที่บ้านผ่านไลน์กลุ่มห้องเรียน

๔) วิเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรมในรูปแบบ E-RECAP Model ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่

๑-๓ โรงเรียนวัดศรีประชาราม

E : elementary (ประถม) คือ การพัฒนาการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ร่วมกันวิเคราะห์และวางเป้าหมายร่วมกัน โดยมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาส่งเสริมนักเรียนในระดับให้มีทักษะด้านการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษาและมาตรฐานการจัดการศึกษา

R : read (อ่าน) คือ การพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียน โดยใช้คู่มือครูภาษาไทย ป.๑ บัญชีคำพื้นฐาน บัตรคำ แบบฝึกอ่าน นิทาน ควบคู่กับการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การอ่านออกเสียงตามครู การอ่านออกเสียงพร้อมกัน การอ่านออกเสียงรายบุคคล เพื่อนสอนเพื่อน เกมแข่งกันอ่าน เป็นต้น

E : experience write (เขียน) คือ การพัฒนาทักษะด้านการเขียน ฝึกประสบการณ์การเขียนคำ เพื่อให้เกิดความคล่องและจดจำที่ดีขึ้น โดยการฝึกเขียนตามคำบอกทุกวัน

C : calligraphy (คัด) คือ การพัฒนาทักษะการเขียนโดยการคัดลายมือ เพื่อฝึกการเขียนให้จดจำได้มากขึ้น และปลูกฝังวิธีการคัดลายมือที่ถูกต้องตามหลักการเขียนภาษาไทย โดยการคัดคำที่เขียนผิดจากการเขียนตามคำบอกทุกวัน หรือการคัดคำยาก คำขวัญต่างๆ เป็นต้น

A : arithmetic (คิด) คือ การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยการคิดเลขเร็วหรือการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์

P : practice (เป็นนิสัย) คือ การฝึกฝนทักษะให้เป็นกิจวัตร เป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญ และเป็นความรู้ที่ยั่งยืน

๗.๒ PROCESS (กระบวนการ)

๗.๒.๑ การสร้างนวัตกรรม ผู้สอนดำเนินการสร้างนวัตกรรมการเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ ๓อ๕พ ดังนี้

อ : อ่านคำ คือ การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำ โดยเริ่มจากการสอนแบบครูพาอ่านให้นักเรียนอ่านตาม (ครูพาอ่าน) นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งห้อง (อ่านพร้อมกัน) นักเรียนอ่านออกเสียงรายบุคคล (อ่านลำพัง) นักเรียนที่อ่านได้ช่วยสอนเพื่อนที่อ่านยังไม่ได้ (เพื่อนสอนอ่าน) และนักเรียนเล่นเกมแข่งกันอ่าน (พยายามอ่าน) จากแบบฝึกอ่านที่ครูกำหนดให้ บัตรคำ หรือชุดฝึกอ่านที่นักเรียนสนใจ

อ : อ่านประโยค คือ การพัฒนาทักษะการอ่านประโยคหลังจากที่นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงคำได้แล้ว โดยเริ่มการสอนอ่านประโยคจากการสอนแบบครูพาอ่านให้นักเรียนอ่านตาม (ครูพาอ่าน) นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งห้อง (อ่านพร้อมกัน) นักเรียนอ่านออกเสียงรายบุคคล (อ่านลำพัง) นักเรียนที่อ่านได้ช่วยสอนเพื่อนที่อ่านยังไม่ได้ (เพื่อนสอนอ่าน) และนักเรียนเล่นเกมแข่งกันอ่าน (พยายามอ่าน) จากแบบฝึกอ่านที่ครูกำหนดให้ หรือชุดฝึกอ่านประโยคที่นักเรียนสนใจ

อ : อ่านเรื่อง คือ การพัฒนาทักษะการอ่านข้อความหรือเรื่องหลังจากที่นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงประโยคได้แล้ว โดยเริ่มการสอนอ่านข้อความหรือเรื่องจากการสอนแบบครูพาอ่านให้นักเรียนอ่านตาม (ครูพาอ่าน) นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งห้อง (อ่านพร้อมกัน) นักเรียนอ่านออกเสียงรายบุคคล (อ่านลำพัง) นักเรียนที่อ่านได้ช่วยสอนเพื่อนที่อ่านยังไม่ได้ (เพื่อนสอนอ่าน) และนักเรียนเล่นเกมแข่งกันอ่าน (พยายามอ่าน) จากแบบฝึกอ่านที่ครูกำหนดให้ และเรื่องที่นักเรียนสนใจ

พ : ครูพาอ่าน คือ การฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยครูเป็นผู้นำอ่านให้นักเรียนอ่านตามจากแบบฝึกอ่านที่ครูกำหนด โดยในช่วงแรกของการฝึกครูผู้สอนจะพาอ่านแบบสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำแบบแยกสีตามแบบนวัตกรรมอักษรสีของโรงเรียนบ้านหนองแก เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ได้ รวมถึงฝึกการออกเสียงตามลำดับการอ่านอย่างถูกต้อง เมื่อนักเรียนสามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่วแล้วจึงมีการปรับแบบฝึกอ่านให้มีสีเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และฝึกอ่านเป็นคำ เป็นประโยค และอ่านเรื่องตามลำดับ

พ : อ่านพร้อมกัน คือ การฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยนักเรียนอ่านพร้อมกันหลังจากที่ครูพาอ่านแล้ว เป็นการย้ำ ซ้ำ ทวน เพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น โดยครูคอยดูแลให้คำแนะนำและให้การเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนมีกำลังใจในการฝึกอ่าน

พ : อ่านลำพัง คือ การฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยนักเรียนฝึกอ่านรายบุคคล เป็นการทดสอบว่านักเรียนสามารถอ่านได้หรือไม่ ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำเพิ่มรวมถึงให้การเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนมีกำลังใจในการฝึกอ่าน หากพบว่านักเรียนยังอ่านไม่ได้ครูผู้สอนแนะนำให้ไปฝึกฝนเพิ่มเติมโดยการให้เพื่อนที่อ่านได้ช่วยสอน แต่กรณีที่เพื่อนไม่สามารถสอนได้ครูผู้สอนจะซ่อมเสริมเป็นรายกรณี

พ : เพื่อนสอนอ่าน คือ การให้นักเรียนที่อ่านได้ช่วยสอนเพื่อนที่อ่านยังไม่ได้ เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักความมีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกัน โดยครูผู้สอนคอยดูแลและให้กำลังใจโดยการกล่าวชมเชยและให้รางวัลแก่นักเรียนที่ช่วยสอนเพื่อนให้อ่านได้

พ : เพิ่มพูนการอ่าน คือ การฝึกทักษะการอ่านโดยการแข่งกันอ่าน เช่น แข่งกันอ่านจากบัตรคำ/ประโยค แข่งกันหาคำ/ประโยคจากแบบฝึกอ่าน แข่งกันหยิบบัตรคำ/ประโยค แข่งกันอ่านเรื่อง เป็นต้น โดยจัดการแข่งขันทีละกลุ่ม ครูผู้สอนจัดกลุ่มนักเรียนตามความสามารถในการอ่าน และมีการเสริมแรงโดยการให้รางวัลกับนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดของกลุ่มในแต่ละวัน หรือนักเรียนเลือกอ่านในสิ่งที่สนใจตามเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้นักเรียน

โพสต์โดย ครูสิริมาพร อย่างบุญ : [26 เม.ย. 2566 เวลา 11:33 น.]
อ่าน [2452] ไอพี : 49.229.204.7
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 2,086 ครั้ง
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี

เปิดอ่าน 11,574 ครั้ง
วิธีลด ความดันโลหิตสูง
วิธีลด ความดันโลหิตสูง

เปิดอ่าน 18,861 ครั้ง
ผักสุกมีคุณค่าอาหารสูงกว่าดิบ
ผักสุกมีคุณค่าอาหารสูงกว่าดิบ

เปิดอ่าน 31,772 ครั้ง
ล้างพิษตับ ขับสารพิษ...เทรนด์สุขภาพสุดฮิต พ.ศ. นี้
ล้างพิษตับ ขับสารพิษ...เทรนด์สุขภาพสุดฮิต พ.ศ. นี้

เปิดอ่าน 10,019 ครั้ง
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”
“ท่องเที่ยวอย่างไรให้สบายเท้า”

เปิดอ่าน 11,323 ครั้ง
เรียนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สนุก
เรียนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สนุก

เปิดอ่าน 30,366 ครั้ง
5 อาหารกินแล้วอ้วนตามความเชื่อแบบผิด ๆ
5 อาหารกินแล้วอ้วนตามความเชื่อแบบผิด ๆ

เปิดอ่าน 17,198 ครั้ง
คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?

เปิดอ่าน 15,849 ครั้ง
อนามัยโลกเตือนไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม "ร้อนเกินไป"
อนามัยโลกเตือนไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม "ร้อนเกินไป"

เปิดอ่าน 17,436 ครั้ง
ฮือฮา! คลิปโพสต์ทั่วเฟซบุ๊ก "พระ" สวดมนต์จังหวะเพลงแร็พ-ร็อก งานขึ้นบ้านใหม่!
ฮือฮา! คลิปโพสต์ทั่วเฟซบุ๊ก "พระ" สวดมนต์จังหวะเพลงแร็พ-ร็อก งานขึ้นบ้านใหม่!

เปิดอ่าน 62,176 ครั้ง
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?

เปิดอ่าน 29,052 ครั้ง
แตงกวา พืชใช้น้ำน้อย ปลูกข้างบ้านได้
แตงกวา พืชใช้น้ำน้อย ปลูกข้างบ้านได้

เปิดอ่าน 10,756 ครั้ง
ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน
ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน

เปิดอ่าน 12,674 ครั้ง
ว่านชักมดลูก
ว่านชักมดลูก

เปิดอ่าน 9,718 ครั้ง
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย

เปิดอ่าน 65,027 ครั้ง
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
เปิดอ่าน 13,740 ครั้ง
คลิป การจอดรถสุดเกรียน ชนิดเทพอยากเอามือปิดหน้า
คลิป การจอดรถสุดเกรียน ชนิดเทพอยากเอามือปิดหน้า
เปิดอ่าน 10,341 ครั้ง
"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"
"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"
เปิดอ่าน 89,492 ครั้ง
ฮือฮา! รถใช้น้ำแทนน้ำมัน วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร
ฮือฮา! รถใช้น้ำแทนน้ำมัน วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร
เปิดอ่าน 10,561 ครั้ง
คลิปโจรสะเหล่อ ปล้นเขาแต่ดันโดนเอาคืนแบบสะใจคนดู (หัวเราะกันหนักมาก)
คลิปโจรสะเหล่อ ปล้นเขาแต่ดันโดนเอาคืนแบบสะใจคนดู (หัวเราะกันหนักมาก)

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ