ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
นวัตกรรม การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model โรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21” และได้กำหนดยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติในยุทธศาสตร์ ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยกำหนดเป้าหมายให้ผู้เรียนมีทักษะ คุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย มีทักษะคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, 2560, 24-27) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หมวด 1 มาตรา 6 ได้ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ ไปกับกระบวนการเรียน การสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562, หน้า 1)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวนโยบายข้อที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มุ่งเน้นพัฒนาประชากรวัยเรียนทุกคนและทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหมายรวมถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ในทุกมิติ โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองดีของชาติและเป็นพลโลกที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะวิชาชีพ และมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีประเด็นกลยุทธ์ ดังนี้ 1) ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุกระดับการศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ (Career Education) 2) พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของชาติและเป็นพลเมืองโลกที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม 3) พัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ นำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 4) พัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต มีสุขภาวะที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 5) การจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ 7) นำ Digital Technology มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามสมรรถนะ ความต้องการ และความถนัด สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562, หน้า 6)

โรงเรียนวัดศรีประชารามเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตั้งอยู่ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ภายในปี ๒๕๖๕ โรงเรียนวัดศรีประชารามเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ครูได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา ” โดยการขับเคลื่อนสถานศึกษาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งระบบ ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการสถานศึกษา และงานสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในสถานศึกษาจะต้องมีทำงานที่มุ่งประโยชน์ที่จะเกิดแก่นักเรียนเป็นสำคัญ มีความตระหนัก รู้ และเห็นคุณค่าของการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข

จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model โรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษาให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม

๔. วัตถุประสงค์

๔.1 เพื่อขับเคลื่อนรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model ให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา

๔.๒ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์สถานศึกษากำหนด

๔.๓ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศ

เป้าหมายเชิงปริมาณ

1) ร้อยละ 90 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์สถานศึกษากำหนด

2) ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระ

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

๑) นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสังคม

๒) ครูมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ทางไกล สามารถจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียนเรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ

๓) โรงเรียนวัดศรีประชาราม มีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้

๕. กลุ่มเป้าหมาย

ประชากร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดศรีประชาราม จำนวน ๑,๓๖๔ คน

กลุ่มตัวอย่าง

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดศรีประชาราม ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๓๖๔ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย

๑. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๔๓ คน

๒. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๖๕๓ คน

๓. คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๑๕ คน

๔. ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ๖๕๓ คน

๓) ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา

วิธีการดำเนินงานนวัตกรรม “การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model” โดยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยการวิเคราะห์สภาพของปัญหา ความต้องการพัฒนา จุดแข็ง และจุดอ่อนของโรงเรียน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดพร้อมทั้งนำหลักการบริหาร ทฤษฎี และประสบการณ์การบริหารของผู้บริหารมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลและเป็นระบบรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็น ผลผลิต เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีความสามารถ และมีความสุข จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และ ประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา ทำให้ได้นวัตกรรม รูปแบบการบริหารที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) มาเป็นกลไกหลักในการบริหารงาน ประกอบกับการใช้ทฤษฎีระบบ (system theory) ในการกำหนดรูปแบบการบริหารงานการใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A หรือวงจรเดมมิ่ง ในการดูแล ควบคุม และกำกับติดตามการดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษา บรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพ ดังนี้

1. INPUT (ปัจจัยนำเข้า)

๑.๑ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ โรงเรียนวัดศรีประชารามได้สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา (SWOT Analysis) เพื่อทราบปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับ การบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน และวางแผนสร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

๑) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและความรู้เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา และนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและความรู้มาปรับประยุกต์ในการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model

๒) ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมจัดทำนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model เพื่อใช้เป็นแนวขับเคลื่อนสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา และเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

๓) ปรับปรุง แก้ไขนวัตกรรมให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริง

2. PROCESS (กระบวนการ)

ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนวัดศรีประชารามนำหลักการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model เข้ามาขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา โดยมีการประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ค่านิยมขององค์กรของนวัตกรรมให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ทราบ และตั้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนสถานศึกษารูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้

ค่านิยมองค์กรสู่ความสำเร็จ

W : Win การบริหารมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าประสงค์ ในการพัฒนาสถานศึกษา และสร้างความตระหนักให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญและสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายในการทำงานเพื่อดำเนินงานตามค่านิยมองค์กรของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา

I : Innovation การพัฒนานวัตกรรมในการขับเคลื่อนสถานศึกษา โรงเรียนมีนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบโดยใช้รูปแบบ WATSRI Model และการนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ PRACHA Model ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้สร้างสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของผู้เรียนและสถานการณ์ปัจจุบัน

N : Need Based การวิเคราะห์ความต้องการ โรงเรียนวัดศรีประชารามได้สำรวจ วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนสถานศึกษามุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ครู ผู้บริหาร บุคลากรภายในสถานศึกษาและเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

N : Network การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยอาศัยคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการบริหารสถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงาน ร่วมรับผิดชอบ และช่วยระดมงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอก เพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษาเพื่อเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

E : Efficiency การบริหารแบบมีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา นำหลักการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคคลากร การสั่งการการประสานความร่วมมือ การรายงาน และงบประมาณ มาควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานภายในของโรงเรียนวัดศรีประชาราม โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

R : Reflection การสะท้อนผลสำเร็จ เป็นขั้นตอนการทบทวนผลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

นวัตกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนสถานศึกษาให้สำเร็จสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาโดย ยึดหลักการมีส่วนร่วม WATSRI Model ซึ่งประกอบด้วย

W : Whole School Approach การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ โรงเรียนวัดศรีประชาราม ได้วิเคราะห์ภารกิจ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 นโยบายทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัดทั้งผู้บริหาร คณะครู ร่วมกันวิเคราะห์และวางเป้าหมาย ให้เห็นภาพรวมของโรงเรียน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าหมายหลัก และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการจัดการศึกษา และสถานการณ์ปัจจุบัน มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนเพื่อนำไป สู่การบริหารจัดการที่ดีตามเป้าหมายองค์กร

1) โรงเรียนทบทวน ปรับปรุง แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕

2) โรงเรียนทบทวน ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ปีพุทธศักราช ๒๕๖๕

3) โรงเรียนจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

A : Assignment การกำหนดผู้รับผิดชอบ กระจายความรับผิดชอบตามโครงสร้าง การปฏิบัติงานโดยโรงเรียนได้แบ่งฝ่ายการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารการเงินและพัสดุ และฝ่ายบริหารทั่วไป ทั้งนี้เพื่อกระจายความรับผิดชอบ ตามศักยภาพ ของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารเข้ามาพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มากที่สุด โดยการเลือกบุคคลให้เหมาะกับงาน เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามความรู้ ความสามารถ มีการทำงานเป็นทีม และตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอันก่อประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

1) โรงเรียนจัดทำโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา

2) โรงเรียนจัดทำคู่มือการบริหารงาน 4 ฝ่าย

3) โรงเรียนจัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ครูรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายงาน

4) โรงเรียนจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา

T : Technology การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ศึกษา และการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ระบบการบริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน มีคุณภาพ และ มีประสิทธิภาพ ก้าวทันยุคเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4.0

1) โรงเรียนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูและบุคลากรภายในโรงเรียน

2) โรงเรียนส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภายในห้องเรียนอย่างเพียงพอตามความจำเป็น

3) โรงเรียนนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

4) โรงเรียนสร้างคลังสื่อการสอนออนไลน์ของครูทุกคน เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ และเผยแพร่ให้บุคลที่สนใจได้รับชมและนำไปปรับประยุกต์ใช้

S : Standard คุณภาพนักเรียนได้มาตรฐานการศึกษา มีการดำเนินงานบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และเกิดการบริหารจัดการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา โดยผ่านการประกันคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

๑) โรงเรียนให้ครูออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชา ทุกชั้นปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕ โดยการนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ ผลการนิเทศการสอนในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุข ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา

๒) โรงเรียนจัดทำแผนการนิเทศภายในของสถานศึกษา และดำเนินการนิเทศและติดตามการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง

๓) โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ส่งผลตามจุดเน้นที่กำหนด หรือจุดเน้นอื่นของสถานศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

R : Result based management การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีวิธีการบริหารจัดการ ที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เป็นการปรับปรุงผลการดำเนินงาน ขององค์กรที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่แต่ละฝ่ายได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานที่ชัดเจน

๑) ผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน (SWOT Analysis) และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานร่วมกัน มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมกันพัฒนา รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของโรงเรียน และสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ

๒) โรงเรียนจัดทำคู่มือการประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนร่วมกันกำหนดเกณฑ์การประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อการแปลผลการประเมินคุณภาพที่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน

๓) โรงเรียนส่งเสริมการอบรมพัฒนาตนเองของครู เพื่อนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๔) ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้ทราบความสำเร็จของการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

I : Integrity การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม การบริหารสถานศึกษาผู้บริหารยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร และสถานศึกษามีลักษณะเฉพาะตัวในเรื่องของโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ ๓ ดาว โดยมีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักธรรมของศาสนา ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ที่เน้นการปฏิบัติจริง

๑) ผู้บริหารยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษา

๒) โรงเรียนขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. อย่างต่อเนื่อง

๓) โรงเรียนปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีให้เกิดกับผู้เรียน

การนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม PRACHA Model

P : Participation การมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน และการวางเป้าหมายร่วมกัน โดยการประชุมฝ่ายบริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผนนิเทศภายในโรงเรียนประจำปีการศึกษา และนำแผนไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และบรรลุเป้าหมาย จัดทำโครงการกิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

R : Resolution การแก้ไขปัญหาร่วมกันของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ครูจึงมีความจำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการเรียนการสอนอยู่เสมอ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และการนิเทศการจัดการเรียนการสอนจึงปรับตามสถานการณ์ เพื่อกำกับ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนของครูเป็นระยะและใช้กระบวนการ PLC เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

A : Application การประยุกต์ใช้ การส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามามีส่วนในการสอนอย่างเต็มรูปแบบ จัดโครงการพัฒนาครูในการสร้างและพัฒนาสื่อ และใช้เทคโนโลยีในการผลิตสื่อ คลิปวีดีโอการสอน และการอัปโหลดการสอน ซึ่งครูสามารถปรับประยุกต์ โปรแกรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจและสามารถสร้างนวัตกรรมการสอนออนไลน์ได้ เพื่อนำมาใช้ในกระบวน การจัดการเรียนการสอน

C : Construct ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความชอบ หรือความถนัด ของแต่ละบุคคล การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

H : Heart การปฏิบัติงานด้วยหัวใจ ผู้บริหาร ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความซื่อสัตย์ และความตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ยึดมั่นในวิชาชีพและรักษาเกียรติประวัติความเป็นครู ทำงานอย่างครูมืออาชีพ ให้ความร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน และเพื่อนครูด้วยความเต็มใจเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน และชุมชนตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของทางราชการที่ได้กำหนดไว้

A : Assessment การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการกิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

3. OUTPUT (ผลผลิต)

จากการดำเนินตามขั้นตอนนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model เกิดผลผลิตดังนี้

๑) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์สถานศึกษา

กำหนด

๑.๑ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์สถานศึกษากำหนด ส่งผลให้นักเรียนจบหลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวนร้อยละ ๙๙.๓๙

๑.๒ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์สถานศึกษากำหนด ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปีการศึกษา 2565 จำนวนร้อยละ ๙๙.๖๙

๒) ผู้เรียนมีผลการทดสอระดับชาติ RT,NT และ O-NET สูงกว่าระดับประเทศ

๒.๑ ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT (Reading Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา โดยภาพรวมสูงกว่าระดับประเทศ

ด้าน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ

ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ ผลต่าง

(+/-) ระดับโรงเรียน ระดับ

ประเทศ ผลต่าง

(+/-)

การอ่านออกเสียง 98.06 86.12 +11.94 98.06 77.38 +20.68

การอ่านรู้เรื่อง 94.66 86.19 +8.47 94.66 77.19 +17.47

เฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 96.36 86.15 +10.21 96.36 77.28 +19.08

๒.๒ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (Ordinary National Educational Test ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผลการทดสอบสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ระดับโรงเรียน ระดับ

เขตพื้นที่ ผลต่าง

(+/-) ระดับโรงเรียน ระดับ

ประเทศ ผลต่าง

(+/-)

ภาษาไทย 65.09 56.35 +8.74 65.09 53.89 +11.20

คณิตศาสตร์ 30.41 28.72 +1.69 30.41 28.06 +2.35

วิทยาศาสตร์ 46.16 41.03 +5.13 46.16 39.34 +6.82

ภาษาอังกฤษ 42.73 38.13 +4.60 42.73 37.62 +5.11

เฉลี่ย 4 สาระ 46.10 41.06 +5.04 46.10 39.73 +6.37

๒.๓ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (Ordinary National Educational Test) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผลการทดสอบสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระดับโรงเรียน ระดับ

เขตพื้นที่ ผลต่าง

(+/-) ระดับโรงเรียน ระดับ

ประเทศ ผลต่าง

(+/-)

ภาษาไทย 70.73 54.33 +16.40 70.73 52.95 +17.78

คณิตศาสตร์ 26.45 21.60 +4.85 26.45 24.39 +2.06

วิทยาศาสตร์ 38.51 32.57 +5.94 38.51 33.32 +5.19

ภาษาอังกฤษ 35.42 28.25 +7.17 35.42 32.05 +3.37

เฉลี่ย 4 สาระ 42.78 34.19 +8.59 42.78 35.68 +7.10

๓) สถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ

๔) ครูจัดทำสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

๕) ครูพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ ทำงานเป็นทีม สามารถพัฒนาผู้เรียน พัฒนาตนเองและพัฒนาทีมงานได้

๖) ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสถานศึกษา และให้การสนับสนุนสถานศึกษาด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

๖.๑ การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ปีการศึกษา 2565

ที่ ชื่อหน่วยงาน

จากภาครัฐ วัน เดือน ปี

ที่ได้รับการสนับสนุน รายละเอียดการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1 อบต.บ้านเก่า ปีการศึกษา 2565 โครงการอาหารกลางวัน ประจำปีงบประมาณ 2565

2 อบต.บ้านเก่า ประจำปีงบประมาณ 2565 โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนโรงเรียน วัดศรีประชาราม

ที่ ชื่อหน่วยงาน

จากภาครัฐ วัน เดือน ปี

ที่ได้รับการสนับสนุน รายละเอียดการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) 23 พ.ค. 2565 ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 เครื่อง

4 สำนักงานเหล่ากาชาด จังหวัดชลบุรี 29 ส.ค. 2565 โครงการกาชาดปันน้ำใจมอบชุดนักเรียนแก่เด็กนักเรียนผู้ยากไร้ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี

5 อบต.บ้านเก่า 24-25 ก.ย. 2565 โครงการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรี

6 อบต.บ้านเก่า 22 ก.พ. 2566 โครงการรู้ทันภัยร้ายจากสื่อออนไลน์

๖.๒ การได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ปีการศึกษา 2565

ที่ ชื่อหน่วยงาน

จากภาคเอกชน วัน เดือน ปี

ที่ได้รับการสนับสนุน รายละเอียดการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1 กองทุนไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 มิ.ย. 2565-31 ส.ค. 2565 โครงการส่งเสริมศักยภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดศรีประชาราม ประจำปีงบประมาณ 2565

2 บริษัทแกรนด์ พี พรอพเพอตี้ จำกัด 8 มิ.ย. 2565 1. ก่อสร้างอ่างน้ำที่แปรงฟันและล้างมือสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล พร้อมมุงหลังคาขนาดกว้าง 3 ม. ยาว 12 ม.

2. จัดซื้อเก้าอี้โรงอาหารจำนวน 100 ตัว

3 วัดศรีประชาราม 4 ก.ค. 2565 3. ทุนการศึกษาเจ้าอาวาสวัดศรีประชาราม

4 มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า 11 ก.ค. 2565 ทุนการศึกษามูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า

5 โรงไฟฟ้าบางปะกง 25 กรกฎาคม 2565 ทุนการศึกษาโรงเรียนวัดศรีประชาราม จากงบประมาณโรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) (เยาวชนนักสืบสายน้ำแม่น้ำบางปะกง)จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2565

6 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าบางปะกง 1 ส.ค. 2565 ทุนการศึกษากองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าบางปะกง

7 โรงไฟฟ้าบางปะกง 5-7 ส.ค. 2565 โครงการนักสืบสายน้ำ

8 บริษัทคาโอ อินดัสเตรียล(ประเทศไทย) จำกัด 17 ต.ค. 2565 มอบศาลานั่งพักร้อน จำนวน 1 หลัง

9 บริษัท ไดกิ อลูมิเนียม อินดัสทรี(ประเทศไทย) จำกัด 13 ม.ค. 2566 มอบเครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา

10 บริษัท ยูนิลิเวอร์ 15 ม.ค.2566 มอบไอศกรีมในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566

11 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน) 26 ม.ค. 2566 โครงการ”กีฬาอมตะจูเนียร์ลีค” ครั้งที่ 11

ที่ ชื่อหน่วยงาน

จากภาคเอกชน วัน เดือน ปี

ที่ได้รับการสนับสนุน รายละเอียดการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

12 บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด สาขา 2 30 ม.ค. 2566 มอบถุงพลาสติกสีฟ้า ขนาด 21.5 นิ้ว + 4 นิ้ว x 58 นิ้ว จำนวน 250 กก.

13 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 31 มี.ค 2566 โครงการทุนการศึกษาโรงเรียนวัดศรีประชาราม

หมู่ 8 บางนาง อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวน ๔๒ ทุน

4. OUTCOME (ผลลัพธ์)

จากการดำเนินตามขั้นตอนนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model เกิดผลลัพธ์ดังนี้

1) สถานศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบ 4 ในระดับดีทุกมาตรฐาน

2) ชุมชนมีความพึงพอใจในระบบการบริหารสถานศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงานภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง

3) สถานศึกษามีคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2565 ระดับยอดเยี่ยมทุกมาตรฐาน

5. FEEDBACK (การให้ข้อมูลย้อนกลับ)

การสะท้อนผลของทุกขั้นตอนในระบบ เพื่อพิจารณาไตร่ตรองการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำผลการดำเนินงานจากการรายงานมาปรับปรุงแก้ไข และส่งเสริมพัฒนา หากผลการดำเนินงาน ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานใหม่ให้เหมาะสมในการวางแผนระยะต่อไป แต่ถ้าผลการประเมินพบว่างานสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ในการทำงานครั้งต่อไปต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนา การหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญนั้นอาจใช้ประสบการณ์ของครูที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ผู้ทรงคุณวุฒิ งานวิจัย หรือ แหล่งอื่น ๆ ที่มีการเสนอแนวทางไว้แล้ว ร่วมกันลงความเห็นสรุปแนวทางการแก้ปัญหาสำคัญและดำเนินการแก้ปัญหา นำผลมาร่วมกันสะท้อนผลและปรับปรุงการดำเนินโครงการให้ดีขึ้น หากผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจัดให้มีการเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนความคิดในการพัฒนานวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น หากผลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์จะวางแผนร่วมกัน เพื่อปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมใหม่ให้สมบูรณ์

โรงเรียนวัดศรีประชารามมีการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ทำงานร่วมมือประสานสัมพันธ์ และดำเนินการแบบองค์รวม สามารถพัฒนางานได้ทั้งระบบครบวงจร โดยใช้การบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ตามแนวคิดของ เดมมิ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้บริหาร ติดตามและทบทวนปรับปรุงการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง และทำให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนโดยโรงเรียนได้นำวงจรคุณภาพ (PDCA) หรือวงจรเดมมิ่ง ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ร่วมวางแผน : ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2 ร่วมปฏิบัติงานตามแผน : พิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

ไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 3 ร่วมประเมินผล : ร่วมกันประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 4 ร่วมแก้ไข ปรับปรุง : แก้ไขและปรับปรุงสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หากไม่บรรลุผล สำเร็จกลับไปทบทวนและวางแผนการดำเนินงานและพัฒนาซ้ำจนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

๘. ผลสำเร็จของการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม

ผลงานของนักเรียน

๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีความสามารถด้านการอ่าน (RT) ร้อยละ 96.36 และมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 19.08

๒. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบแห่งชาติ (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยทั้ง 4 กลุ่มสาระเท่ากับร้อยละ 46.10 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 6.37

๓. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบแห่งชาติ (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยทั้ง 4 กลุ่มสาระเท่ากับร้อยละ 42.78 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 7.10

๔. นักเรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน Coding , STEM และการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น Active learning

การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

๑. การแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ป.4-ป.6 เหรียญทองอันดับที่ 7

๒. การแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ม.1-ม.3 เหรียญเงินอันดับที่ 40

๓. การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ม.1-ม.3 เข้าร่วม อันดับที่ 29

๔. การแข่งขันซูโดกุ ป.1-ป.6 เหรียญเงินอันดับที่ 14

๕. การแข่งขันเวทคณิต ป.1-ป.3 เหรียญเงินอันดับที่ 24

๖. การประกวดเล่านิทานคุณธรรม ป.4-ป.6 เหรียญทองอันดับที่ 30

๗. การประกวดเล่านิทานคุณธรรม ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 44

๘. การแข่งขันคีตะมวยไทย ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 6

๙. การแข่งขันเขียนภาพไทยประเพณี ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 6

๑๐. การแข่งขันการเขียนภาพจิตรกรรมไทยสีเอกรงค์ ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 8

๑๑. การแข่งขันการสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 6

๑๒. การแข่งขันประติมากรรม ป.1-ป.3 เหรียญทองอันดับที่ 14

๑๓. การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทหญิง ม.1-ม.3 เหรียญทองอันดับที่ 45

๑๔. การแข่งขันการแสดงตลก ป.1-ม.3 การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ป.4-ป.6

๑๕. การเต้นประกอบเพลง Cover Dance Contest (ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด) ป.1-ป.3 เหรียญทองอันดับที่ 10

๑๖. การแข่งขันประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ม.1-ม.3 เหรียญเงินอันดับที่ 29

๑๗. การแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ม.1-ม.3 เหรียญเงินอันดับที่ 40

๑๘. การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ป.4-ป.6 เหรียญทองอันดับที่ 20

ผลงานของครู

การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ได้รับรางวัลครูผู้ฝึกซ้อมกิจกรรม ดังนี้

หมวดภาษาไทย

1 นางสาวรุ่งศรี สุขแสง และ นางสาวพนมเทียน นามโคตร ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 7 ในการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ป.4-ป.6

2.นางสาวรุ่งศรี สุขแสง และ นางสาวทิวาภรณ์ เจริญพร ได้รับรางวัลเหรียญเงินอันดับที่ 40 ในการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย (คำคมเดิม) ม.1-ม.3

หมวดคณิตศาสตร์

1.นางสาวรจนา อุทัยชะวัง ได้รับรางวัลเหรียญเงินอันดับที่ 14 การแข่งขันซูโดกุ ป.1-ป.6

2.นางสาวฐิติยา ธรรมนาม ได้รับรางวัลเหรียญเงินอันดับที่ 24 การแข่งขันเวทคณิต ป.1-ป.3

หมวดสังคมศึกษา

1.นางสาวพิมพลอย หอมพิกุล ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 30 การประกวดเล่านิทานคุณธรรม ป.4-ป.6

2.นางสาวพิมพลอย หอมพิกุล ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 44 การประกวดเล่านิทานคุณธรรม ม.1-ม.3

หมวดสุขศึกษาและพละศึกษา

1.นายอิสเรศ กองมะณี นางสาวสุนทรี เตียงกูล และนางสาวสุภาพร ประเสริฐศรี ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 6 การแข่งขันคีตะมวยไทย ม.1-ม.3

หมวดศิลปะ

1.นายธวัชชัย ปุยขำบก ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 6 การแข่งขันเขียนภาพไทยประเพณี ม.1-ม.3

2.นายพีระพงษ์ มีโชคอนันต์ ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 8 การแข่งขันการเขียนภาพจิตรกรรมไทยสีเอกรงค์ ม.1-ม.3

3.นายยุทธศักดิ์ ลายทอง และนายพีระพงษ์ มีโชคอนันต์ ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 6 การแข่งขันการสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ม.1-ม.3

4.นางสาวชลธิชา ทองสุข และนางสาวสุนทรี เตียงกูล ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 14 การแข่งขันประติมากรรม ป.1-ป.3

5.นายอิสเรศ กองมะณี ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 45 การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทหญิง ม.1-ม.3

6. นายอิสเรศ กองมะณี และนางสาวพิไลวรรณ สิงห์ทุย ได้รางวัลเหรียญทองอันดับที่ 45 การแข่งขันการแสดงตลก ป.1-ม.3

หมวดการงาน

1.นายอิสเรศ กองมะณี นางสาวสุภาพร ประเสริฐศรี และนางสาวสุนทรี เตียงกูล ได้รับรางวัลเหรียญเงินอันดับที่ 29 การแข่งขันประดิษฐ์กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ม.1-ม.3

2.นางสาวสุนทรี เตียงกูล และนางสาวพรลภัส นพเกตุ ได้รับรางวัลเหรียญเงินอันดับที่ 40 การแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ม.1-ม.3

3.นางสาวสุนทรี เตียงกูล และนายอิสเรศ กองมะณี ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 20 การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ป.4-ป.6

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.นางสาวสายฝน โต๊ะงาม นางสาวฐิติยา ธรรมนาม และนางสาวอัญชนาพร จันทิไชย ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 10 การเต้นประกอบเพลง Cover Dance Contest (ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด) ป.1-ป.3

ผลงานของผู้บริหาร และสถานศึกษา

๑. สถานศึกษาได้รับเกียรติบัตรการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตลอดปีการศึกษา 2565

๒. สถานศึกษาได้รับเกียรติบัตร มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าระดับ ประเทศ ด้านการอ่านออกเสียง ด้านการอ่านรู้เรื่อง และรวม 2 ด้าน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ รวม 2 ด้าน สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตพื้นที่การศึกษา คะแนนเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าระดับประเทศ ย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกัน (2563,2564,2565) มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออกเขียนได้ทุกคน และย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกัน (2563,2564,2565) จากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test :RT) ปีการศึกษา 2565 ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน”

๙. แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้

๙.๑ การนำรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้รูปแบบ WINNER WATSRI PRACHA Model โรงเรียนวัดศรีประชาราม ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา

๙.๒ การนำวงจรคุณภาพ PDCA ไปใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างเป็นระบบ

๑๐. การเผยแพร่นวัตกรรม

๑๐.๑ นำเสนอนวัตกรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานบริหารสถานศึกษาครั้งที่ ๑ ณ โรงเรียนวัดบ้านเก่า เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖

๑๐.๒ เผยแพร่นวัตกรรมบนเพจเฟสบุ๊คโรงเรียนวัดศรีประชาราม เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖

๑๐.๓ เผยแพร่นวัตกรรมบนเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖

๑0.๔ เผยแพร่ผลงานไปยังกลุ่มโรงเรียนพานทอง ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖

๑๑. อ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2)

และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ : บริษัทสยามสปอรต์ ชินดิเค จำกัด.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล.(๒๕๕๔).การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

โรงเรียนวัดศรีประชาราม.(๒๕๖๕).หลักสูตรสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๖๕.โรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒

โรงเรียนวัดศรีประชาราม.(๒๕๖๔).แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๖๕.โรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต ๒

สถาบันราชประชาสมาสัย. (๒๕๔๙). สถาบันธรรมาภิบาลบันดาลสุข. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (๒๕๕๔). หลักการทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(๒๕๖๑). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579

(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม. ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Thinking). ๒๕๔๖

อรุณี ศิริสุขไพบูลย์.(๒๕๕๘).การมีส่วนร่วมของครูในการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต ๒.

โพสต์โดย นายยุทธศักดิ์ ลายทอง : [26 เม.ย. 2566 เวลา 08:14 น.]
อ่าน [1656] ไอพี : 101.51.173.130
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 70,515 ครั้ง
มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11

เปิดอ่าน 11,046 ครั้ง
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป

เปิดอ่าน 4,965 ครั้ง
แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 11,071 ครั้ง
เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน
เศรษฐศาสตร์มนุษย์เงินเดือน

เปิดอ่าน 9,756 ครั้ง
เขาห้ามผมทำ แต่ไม่ห้ามผมคิด ตอนที่ 10 : เมื่อโรงเรียนเป็นนิติบุคคลแล้วประชาชนได้อะไร
เขาห้ามผมทำ แต่ไม่ห้ามผมคิด ตอนที่ 10 : เมื่อโรงเรียนเป็นนิติบุคคลแล้วประชาชนได้อะไร

เปิดอ่าน 13,814 ครั้ง
4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล
4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล

เปิดอ่าน 20,221 ครั้ง
คลิปโฆษณาไทย ที่ซึ้งกินใจคนทั่วโลก
คลิปโฆษณาไทย ที่ซึ้งกินใจคนทั่วโลก

เปิดอ่าน 15,172 ครั้ง
มาทำความรู้จักกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากันเถอะ
มาทำความรู้จักกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากันเถอะ

เปิดอ่าน 26,456 ครั้ง
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่

เปิดอ่าน 38,963 ครั้ง
การคิดเลขในใจ
การคิดเลขในใจ

เปิดอ่าน 9,193 ครั้ง
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557

เปิดอ่าน 12,013 ครั้ง
ฝึกอ่าน ภาษาอังกฤษ จาก VOA !! ฝึกให้เก่งไปเลย
ฝึกอ่าน ภาษาอังกฤษ จาก VOA !! ฝึกให้เก่งไปเลย

เปิดอ่าน 13,166 ครั้ง
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ

เปิดอ่าน 13,485 ครั้ง
อุทาหรณ์! มัวแต่ถ่ายรูป เจอรถไฟสวน เกือบหัวขาดแล้ว
อุทาหรณ์! มัวแต่ถ่ายรูป เจอรถไฟสวน เกือบหัวขาดแล้ว

เปิดอ่าน 8,216 ครั้ง
ไฮพาเทียแห่งอเล็กซานเดรีย และ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นักคณิตศาสตร์หญิงของโลก
ไฮพาเทียแห่งอเล็กซานเดรีย และ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นักคณิตศาสตร์หญิงของโลก

เปิดอ่าน 10,934 ครั้ง
อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก
อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก
เปิดอ่าน 10,035 ครั้ง
ริ้วรอยบนใบหน้าแก้ได้ หมอแนะควรศึกษาก่อนทำ
ริ้วรอยบนใบหน้าแก้ได้ หมอแนะควรศึกษาก่อนทำ
เปิดอ่าน 14,939 ครั้ง
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม
เปิดอ่าน 14,533 ครั้ง
หากท่านต้องยกกล่องหนักๆ ลองวิธีนี้ดูสิ จะช่วยให้เบากว่าเดิม
หากท่านต้องยกกล่องหนักๆ ลองวิธีนี้ดูสิ จะช่วยให้เบากว่าเดิม
เปิดอ่าน 35,303 ครั้ง
เทคนิค "การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"
เทคนิค "การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ