ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practice) โดยการใช้การจัดการเรียนรู้การพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning : ABL) เรื่อง ปริมาตรและความจุทรงสี่เห

ความเป็นมา

การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อวางรากฐานชีวิตให้เจริญงอกงามอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและแสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง ครูผู้สอนจึงควรมีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล สำหรับใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และนาไปพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมกับการทางานของสมอง การเชื่อมโยงวงจรสมองการจัดการเรียนรู้ที่ขัดต่อการทางานของสมองจะทาให้เกิดการเรียนรู้ไม่ได้เต็มตามศักยภาพ อีกทั้งต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของผู้เรียนที่เป็นกัลยาณมิตรให้เรียนอย่างมีความสุข โดยใช้ประสบการณ์ตรงด้านร่างกายที่เป็นรูปธรรม ข้อเท็จจริง และทักษะด้านต่าง ๆ ที่ปรากฏในชีวิตจริงตามธรรมชาติ ตลอดจนสื่อการเรียนรู้ที่ดึงดูดความสนใจ เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองในแต่ละช่วงวัย จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจ ความตั้งใจ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

การจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ บูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ได้รับรู้ เกิดการยอมรับ เห็นคุณค่าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นลักษณะนิสัยที่ดี

ทำความรู้จัก A.B.L. หรือ Activity Based Learning หรือ “การเรียนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน” ในฐานะ “ตัวจักรสำคัญ” ของการเรียนการสอนยุคใหม่..Learn …How to Learn…..ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรูด้วยตนเอง “Child Centered” ตามหลักการของ Constructionism การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปการศึกษาของไทย...การเรียนรู้ชนิดนี้เองที่มีผู้ตั้งฉายาว่า “สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less..Learn More” ..เล่นเอา “พณ.ฯ.ท่าน และท่านๆ” ในวงการศึกษาเสียมวยไปแล้วเพราะเข้าใจผิดก็มี..การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing”ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์....แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย...ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer”มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที เมื่ออ่านเนื้อหาจบลง...สิ่งที่คุณครูต้อง “สร้าง Constructed”ให้เกิดมีขึ้นในตัวคุณครูในเวลานี้ก็คือ “ความคิดวิเคราะห์ critical Thinking” เพื่อจะได้รู้ความต้องการและความคิดแท้จริงของนักเรียน..เพื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่ม ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ตกยุค..คุณครูต้องมี “ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking” เพื่อจะได้มีความสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ... บทความนี้ ดูผิวเผินก็น่าจะเป็นที่ลำบากใจของคุณครู แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในรายวิชาต่างๆ ก็ “ล้วนมีวิธีการเรียนการสอน” อันเหมาะสมกับรายวิชานั้นๆ อยู่แล้ว ขอแต่เพียงคุณครู “จัดกิจกรรมของรายวิชา” อย่างจริงจัง “ที่ไม่ใช่การบอกความรู้” แต่ “เป็นการเรียนรู้” ของนักเรียนจริงๆเท่านั้น...คุณครูก็เติมสีสันลงไปอีกตามความเหมาะสม ก็จะทำให้การเรียนการสอนของเราน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว.... การเรียนโดยใช้ “กิจกรรมหรือ Activity Based Learning” ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะแต่เดิมก็ทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว

บทบาทครูผู้สอน การสำรวจประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนควรคำนึงว่าผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ (Learning Styles) แตกต่างกัน ดังนั้น ครูผู้สอนควรจะต้องให้เวลาในการเรียนรู้และให้โอกาสกับผู้เรียนได้ค้นพบวิธีการเรียนรู้ของตนเอง จึงจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและทาให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายต่อผู้เรียน

การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนา มาจากแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เผยแพร่ในปลายศตวรรษที่ 20 ที่เรียกว่าการเรียนรู้ที่เน้นบทบาท และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ “การเรียนรู้เชิงรุก” (Active Learning) ซึ่งหมายถึงรูปแบบการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน "ใช้กิจกรรมเป็นฐาน" หมายถึงเอากิจกรรมเป็นที่ตั้งเพื่อที่จะฝึกหรือพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด

ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด

2. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากตัวผู้เรียนเองมากกว่าการฟังผู้สอนในห้องเรียนและการท่องจำ

3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียนอีกด้วย

4. ได้ผลลัพธ์ในการถ่ายทอดความรู้ใกล้เคียงกับการเรียนรู้รูปแบบอื่น แต่ได้ผลดีกว่าในการพัฒนาทักษะ ด้านการคิดและการเขียนของผู้เรียน

5. ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้แบบนี้มากกว่ารูปแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบตั้งรับ (Passive Learning)

6. มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย และเข้าร่วมในการแก้ปัญหา และยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูมทั้งในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย

ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงพัฒนากระบวนการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning : ABL) เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษา วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน โดยคำนึงถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่มีภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด รูปแบบการเรียนรู้ ความสนใจ และความต้องการที่แตกต่างกัน และจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียนและสนองความต้องการของผู้เรียน

ผลสำเร็จที่ได้

1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ ๓.๑๔ คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ๗.๘๙ คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ ๔.๗๕ คะแนน และนักเรียนทุกคนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าเดิมโดยมีคะแนนความก้าวหน้าเมื่อเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๑ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลง

2 ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 นั้น โดยใช้วิธีการสอนแบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning : ABL) นั้น นักเรียนทดสอบก่อนเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 จากนั้นทดสอบหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 โดยนักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ๔.๗๕ คะแนน ซึ่งเป็นพัฒนาการของคะแนนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากเดิม

3 แบบฝึกชุดนี้ใช้ได้ จากการหาประสิทธิภาพ ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

โพสต์โดย จามจุรี : [24 เม.ย. 2566 เวลา 13:01 น.]
อ่าน [2654] ไอพี : 223.207.225.233
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,269 ครั้ง
ทาครีมบำรุงอย่างไร ให้ถูกวิธี
ทาครีมบำรุงอย่างไร ให้ถูกวิธี

เปิดอ่าน 27,948 ครั้ง
จะซื้อกล้องดิจิตอล ต้องดูอะไรบ้าง
จะซื้อกล้องดิจิตอล ต้องดูอะไรบ้าง

เปิดอ่าน 52,450 ครั้ง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง

เปิดอ่าน 175,457 ครั้ง
วิธีทำ ส้มตำข้าวโพด เมนูสุขภาพ
วิธีทำ ส้มตำข้าวโพด เมนูสุขภาพ

เปิดอ่าน 33,327 ครั้ง
กินยาแรงเกินไปทำให้เบลอได้
กินยาแรงเกินไปทำให้เบลอได้

เปิดอ่าน 42,225 ครั้ง
Adjectives - Determiners
Adjectives - Determiners

เปิดอ่าน 19,716 ครั้ง
อยากประสบความสำเร็จต้องอ่าน ความจริง 3 ข้อที่คนทำงานไม่อาจมองข้าม
อยากประสบความสำเร็จต้องอ่าน ความจริง 3 ข้อที่คนทำงานไม่อาจมองข้าม

เปิดอ่าน 7,439 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)
ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

เปิดอ่าน 26,004 ครั้ง
ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ
ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ

เปิดอ่าน 26,507 ครั้ง
ไม่ฟัง ไม่ได้แล้ว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ " ทำไมประเทศไทย เปลี่ยนไม่ทันโลก ?
ไม่ฟัง ไม่ได้แล้ว "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ " ทำไมประเทศไทย เปลี่ยนไม่ทันโลก ?

เปิดอ่าน 13,901 ครั้ง
"ปริญญาตรีหมื่นห้า"ฝ่าวิกฤติ!เด็กจบใหม่...ไม่ผ่านโปร!?
"ปริญญาตรีหมื่นห้า"ฝ่าวิกฤติ!เด็กจบใหม่...ไม่ผ่านโปร!?

เปิดอ่าน 16,569 ครั้ง
Multimidia คืออะไร?
Multimidia คืออะไร?

เปิดอ่าน 2,543 ครั้ง
อยากจมูกโด่งมีดั้ง จะเลือกผ่าตัดเสริมจมูก ร้อยไหม หรือฉีดฟิลเลอร์ดี?
อยากจมูกโด่งมีดั้ง จะเลือกผ่าตัดเสริมจมูก ร้อยไหม หรือฉีดฟิลเลอร์ดี?

เปิดอ่าน 13,808 ครั้ง
การทำบุญสะเดาะเคราะห์
การทำบุญสะเดาะเคราะห์

เปิดอ่าน 26,929 ครั้ง
การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์

เปิดอ่าน 16,508 ครั้ง
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
เปิดอ่าน 36,856 ครั้ง
การวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย
การวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย
เปิดอ่าน 9,827 ครั้ง
คลิปการทดลองน่าทึ่ง เมื่อคนแปลกหน้าขอแบ่งของกินจากขอทาน
คลิปการทดลองน่าทึ่ง เมื่อคนแปลกหน้าขอแบ่งของกินจากขอทาน
เปิดอ่าน 41,158 ครั้ง
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
เปิดอ่าน 10,576 ครั้ง
หน่วยจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ