ความสำคัญของผลงาน
การศึกษามีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสอน หลักสูตรเทคโนโลยี ตลอดจนบุคลากร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา ภารกิจสำคัญของการดำเนินงานในโรงเรียน คือ การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามจุดหมายของหลักสูตร การจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จตามจุดหมายของหลักสูตรดังกล่าวอย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้น จะต้องอาศัยกระบวนการ 3 อย่าง คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการนิเทศและกระบวนการเรียนการสอน ทั้ง 3 อย่างนี้เกี่ยวข้องกันและกัน การพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม ในการดำรงชีวิต มีความสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขได้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง รวมทั้งยังเป็นการร่วมมือร่วมใจระหว่างโรงเรียน ชุมชน และสังคม เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทนและยั่งยืน และยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงเรียน 2 ประการ คือ ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนและให้ความช่วยเหลือแก่ครู ในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โรงเรียนเมืองแพร่ จึงได้ตระหนักถึงความสําคัญของกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้จึงไดดําเนินการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรในพื้นที่ ได้แก่ วัด ชุมชน เพื่อให้ครูสามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นโดยใช้ IM PHRAE+ Model เป็นกระบวนการขับเคลื่อนในครั้งนี้
จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงาน
๑) จุดประสงค์
๑.๑) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นโดยใช้ IM PHRAE+ Model
๑.๒) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓) เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเป้าหมายของหลักสูตร มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๒) เป้าหมาย
๒.๑) เชิงปริมาณ
๒.๑.๑ ครูผู้สอน ร้อยละ 100 ได้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
๒.๑.๒ นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะ ตามเป้าหมายของหลักสูตร
๒.๒) เชิงคุณภาพ
๒.๒.๑ โรงเรียนมีรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ ที่พัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโนบายและจุดเน้นของโรงเรียน
๒.๒.๒ ครูผู้สอนได้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบบครูมืออาชีพ
๒.๒.๓ นักเรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ตามเป้าหมายของหลักสูตร และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นที่ ๑ วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการแหล่งเรียนรู้ ( PLAN )
ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือเพื่อวิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการเรียนรู้ การเสริมสร้างคุณลักษณะ และพัฒนาทักษะที่จำเป็นของนักเรียน ตลอดถึงร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักเรียน คณะครู โรงเรียน ชุมชนและสังคม มีการบริหารจัดการ โดยการสร้างเสริมคุณธรรมนำความรู้ ด้วยหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา (M = Management , Morality)
ขั้นที่ ๒ การวางแผนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ( PLAN )
ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันวางแผน โดยให้มีกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับนโยบาย จุดเน้นของโรงเรียน (P= Policy) ซึ่งประกอบด้วย ๔ นโยบาย ๑๐ จุดเน้น
นโยบายที่ ๑ ด้านความปลอดภัย
จุดเน้นที่ ๑ เร่งแก้ปัญหาทุกกลุ่มผู้เรียน เน้นการลดความเครียดและสุขภาพจิตของนักเรียน
จุดเน้นที่ ๒ เสริมสร้างระบบกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ ( MOE Safety Platform)
นโยบายที่ ๒ ด้านโอกาส
จุดเน้นที่ ๓ ส่งเสริมให้ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
จุดเน้นที่ ๔เร่งรัดแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันและเด็กพิการกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
นโยบายที่ ๓ ด้านคุณภาพ
จุดเน้นที่ ๕ ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะตามบริบทโดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษา ทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำ และจัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรม และจริยธรรมได้อย่างเหมาะสม
จุดเน้นที่ ๖ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาให้เป็นครูยุคใหม่ และมีความรู้ด้านการวางแผน การสร้างวินัยด้านการเงินและการออม
จุดเน้นที่ ๗ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning ) มีการวัดและประเมินผลเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
จุดเน้นที่ ๘ ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้
นโยบายที่ ๔ ด้านประสิทธิภาพ
จุดเน้นที่ ๙ เพื่อประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการทั้ง ๔ ด้าน
จุดเน้นที่ ๑๐ ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาหลากหลายรูปแบบ
ขั้นที่ ๓ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ (DO)
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการเพื่อร่วมกันจัดทำและออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
๑.กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๓.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
๔.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๕.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
๖.กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
๗.กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ
๘. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ซึ่งกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินที่บ่งชี้ถึงกระบวนการ
ทำงานที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบที่มีต่อตนเอง องค์กร และชุมชน (R = Responsibility)
ขั้นที่ ๔ การปฏิบัติการจัดการเรียนการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งการเรียนรู้ ( ACTION )
คณะครูและนักเรียนได้ได้ปฏิบัติกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกาเรรียนการสอนโดยได้ลงไปปฏิบัติกิจกรรมที่แหล่งเรียนรู้จริง อาศัยการมีส่วนร่วม และการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่เข้มแข็ง (A = Associate)
ขั้นที่ ๕ ประเมินผลและรายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งการเรียนรู้ ( CHECK)
คณะครูนำข้อมูลจากการจัดการเรียนการสอน มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุป ประเมินผลและรายงานผลการต่อผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะครูมีการนำผลการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุง พัฒนา การจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสุขในการทำงาน (H = Happy) รวมถึงมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อม ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้มีบรรยากาศของการเรียนรู้ (E = Environment)
ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๑ ) โรงเรียนเมืองแพร่มีนวัตกรรม IM PHRAE+ Model ในการบริหารจัดการกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
๒) ครูมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
๓) นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเป้าหมายของหลักสูตร มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา