บทสรุปผู้บริหาร
รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดมีความพร้อมในการจัดการศึกษา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ แบบมีส่วนร่วมคณะกรรมการ ก.ต.ป.น.,อ.ก.ต.ป.น.,ผู้ทรงคุณวุฒิ,ประธานเครือข่ายคุณภาพการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามนโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระตุ้นให้ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ จำนวน ๑๘๔ โรง เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ คือ แบบนิเทศ ติดตามการเตรียมความพร้อมวันเปิดเรียน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ มีทั้งหมด ๓ ตอน มีผลการนิเทศ ดังนี้
ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ โรงเรียน จำนวน ๑๘๓ โรง ๑ สาขา รวม ๑๘๔ โรง เครือข่ายคุณภาพการศึกษา จำนวน ๑๘ เครือข่าย ขนาดโรงเรียน ขนาดเล็ก จำนวน ๑๔๑ โรง ขนาดกลาง จำนวน ๔๑ โรง ขนาดใหญ่ จำนวน ๑ โรง และขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๑ โรง
๑.๒ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน ๑๓๖ คน
๑.๓ รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน ๑๓ คน
๑.๔ จำนวนนักเรียน ระดับปฐมวัย จำนวน ๓,๐๖๐ คน ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๓,๐๘๔ คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒,๓๙๓ คน รวมทั้งสิ้น ๑๘,๖๓๔ คน
๑.๕ จำนวนบุคลากร รวมทั้งสิ้น ๑,๙๙๕ คน ดังนี้
๑) ข้าราชการ จำนวน ๑,๑๐๔ คน
๒) พนักงานราชการ จำนวน ๑๑๗ คน
๓) ครูอัตราจ้าง จำนวน ๒๘๘ คน
๔) ธุรการ จำนวน ๑๔๘ คน
๕) บุคลากรสนับสนุน จำนวน ๑๙๒ คน
๑.๖ ครูผู้สอน ครบชั้น จำนวน ๕๘ โรง ไม่ครบชั้น จำนวน ๑๒๖ โรง
๑.๗ โรงเรียนส่วนมากเตรียมความพร้อมระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ จำนวน ๔ วัน
ตอนที่ ๒ รายการนิเทศ ติดตามการความพร้อมวันเปิดเรียน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
ผลการดำเนินการของสถานศึกษาจากการนิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมวันเปิดภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน ๑๘๓ โรง ๑ สาขา รวม ๑๘๔ โรง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม สรุปผลได้ดังนี้
ด้านการบริหาร สถานศึกษามีการจัดประชุมครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียนมีคำสั่งการจัดชั้นเรียน และมอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการสรุป/รายงานผลการจัดกิจกรรม โครงการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการ เมื่อภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗๐ ที่ปฏิบัติ ร้อยละ ๐.๑๑ ที่ไม่ปฏิบัติ และร้อยละ ๑.๒๐ กำลังดำเนินการ
ด้านอาคารสถานที่ ด้านอาคารสถานที่ จัดบริเวณ บริบทโรงเรียน อาคารเรียนที่สะอาดปลอดภัยการดูแลรักษา ตรวจสภาพระบบไฟฟ้า ประปาและสาธารณูปโภคที่ปลอดภัย มีการจัดห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้เรียน ห้องธุรการ ดูแลรักษาความสะอาดที่ดื่มน้ำ อ่างล้างมือและห้องสุขา ดูแลรักษาความสะอาดห้องสมุดโรงเรียน โรงอาหาร ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้ เป็นระเบียบ สะอาด เรียบร้อยปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารสถานที่มีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๓ ที่ปฏิบัติ และร้อยละ ๐.๔๗ กำลังดำเนินการ
ด้านครูผู้สอน มีการแจ้งหรือรายงานผลการเรียนนักเรียน ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ ต่อผู้ปกครองมีการเตรียมสื่อหรือมีการนำนวัตกรรม มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดำเนินงานธุรการประจำชั้นเรียนที่สมบูรณ์/เรียบร้อย เตรียมความพร้อมด้านแผนการสอนอย่างน้อย ๑ สาระการเรียนรู้หลัก/ครู ๑ คน จัดทำตารางสอน ตารางการจัดกิจกรรม ประจำภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๕ ครูสอนประจำชั้นจัดตารางเวรทำความสะอาดประจำวัน ครูมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๓ ที่ปฏิบัติ และร้อยละ ๐.๔๗ กำลังดำเนินการ
ด้านนักเรียน นักเรียนแต่งกายสะอาดเรียบร้อยและมีความสะอาดด้านร่างกาย เล็บ ผม มีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความพร้อมด้านการเรียน มีอุปกรณ์การเรียนพร้อมเหมาะสมกับชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๗๓ ที่ปฏิบัติ และร้อยละ ๐.๒๗ กำลังดำเนินการ
ด้านอุปกรณ์เครื่องเขียน แบบเรียน หนังสือเรียน มีการจัดซื้อ จัดจ้าง ในการจัดซื้อหนังสือเรียนมีอุปกรณ์เครื่องเขียน แบบเรียน หนังสือเรียนครบ มีโต๊ะ เก้าอี้ นักเรียน โต๊ะครูครบพร้อมใช้ มีเครื่องแบบนักเรียน ถุงเท้า รองเท้าที่เหมาะสม มีการจัดห้องเรียน ได้แก่ ห้องเรียนสำหรับ DLTV / DLIT คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๗๘ ที่ปฏิบัติ และร้อยละ ๐.๒๒ ที่ไม่ปฏิบัติ
ตอนที่ ๓ การขับเคลื่อนนโยบายสู่เป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษามีการดำเนินการ มีเอกสารหลักฐาน ร่องรอยการขับเคลื่อนนโยบายสู่เป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่ชัดเจน ดังนี้ การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย มีการสร้างความร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนเพื่อออกแบบกิจกรรม พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๗๘ อยู่ในระดับดีเยี่ยม และร้อยละ ๑๕.๒๒ อยู่ในระดับดีมาก
จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๔๘ อยู่ในระดับดีเยี่ยม และร้อยละ ๖.๕๒ อยู่ในระดับดีมาก
ช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (นักเรียนพิการเรียนร่วม, นักเรียนด้อยโอกาส, นักเรียนที่มีปัญหาเฉพาะทาง) คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๕๒ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ร้อยละ ๑๖.๘๕ อยู่ในระดับดีมาก และร้อยละ ๑.๖๓ อยู่ในระดับดี
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ต้องอ่านออกเขียนได้ภายในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๕ คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๒๖ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ร้อยละ ๑๙.๕๗ อยู่ในระดับดีมาก และร้อยละ ๒.๑๗ อยู่ในระดับดี
เรียนภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๕๐ อยู่ในระดับดีเยี่ยม และร้อยละ ๑๒.๕๐ อยู่ในระดับดีมาก
เน้นการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๑๓ อยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ ๒๓.๓๗ อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ ๑๑.๔๑ อยู่ในระดับดี และร้อยละ ๑.๐๙ อยู่ในระดับพอใช้
เรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๓๕ อยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ ๑๘.๔๘ อยู่ในระดับดีมาก และร้อยละ ๒.๑๗ อยู่ในระดับดี