บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.)โดยใช้ ๕ Pโมเดลที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยการติดตาม ตรวจสอบการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนจำนวน ๑๘๔ โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน ๑๒๕ คน ครูผู้สอนจำนวน ๒๙๖ คน บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ จำนวน ๒๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ๒) คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น(อ่านออก เขียนได้,คิดเป็น,เห็นผลงาน,ฐานคุณธรรม)๓) แบบติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น และ ๔) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา (อ.ก.ต.ป.น.) ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Arithmetic Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ ๑ ผลการวิเคราะห์แบบติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวม ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานตามภารกิจ ๔ งานของสถานศึกษา(การบริหารงานวิชาการ,การบริหารงานงบประมาณ,การบริหารงานบุคคล,และการบริหารงานทั่งไป),ด้านการนำนโยบาย/จุดเน้นสู่การปฏิบัติวิธีและด้านปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) มีผลการปฏิบัติในระดับดีมาก จำนวน ๑๖๘ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๓๐ ระดับดี จำนวน ๑๔ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๗.๖๑ ระดับปานกลาง จำนวน ๒ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๙ และไม่มีโรงเรียนใดมีผลการปฏิบัติในระดับพอใช้ และปรับปรุงเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีผลการปฏิบัติระดับดีมากเป็นจำนวนมากที่สุด คือ ด้านการนำนโยบาย/จุดเน้นสู่การปฏิบัติ ร้อยละ ๙๒.๙๓ รองลงมาคือด้านการบริหารงานตามภารกิจ ๔ งาน ร้อยละ ๙๑.๘๕ และ มีผลการปฏิบัติงานระดับดีมากจำนวนน้อยที่สุด คือด้านวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ร้อยละ ๘๘.๕๙
การบริหารงานตามภารกิจ ๔ งาน มีผลการปฏิบัติในระดับดีมาก จำนวน ๑๖๙ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๘๕ ระดับดี จำนวน ๑๕ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๘.๑๕ และไม่มีโรงเรียนใดมีผลการปฏิบัติในระดับปานกลาง พอใช้ และปรับปรุง เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่า รายการที่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติได้ระดับดีมากเป็นจำนวนมากที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการ ร้อยละ ๙๒.๙๓ รองลงมาคือการบริหารงานงบประมาณร้อยละ ๙๑.๘๕ การบริหารงานทั่วไป ร้อยละ ๙๑.๓๐ และมีผลปฏิบัติระดับดีมากน้อยที่สุด คือ การบริหารงานบุคคล ร้อยละ ๙๐.๗๖
การนำนโยบาย/จุดเน้นสู่การปฏิบัติ มีผลการปฏิบัติในระดับดีมาก จำนวน ๑๗๑โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๙๓ ระดับดี จำนวน ๑๓ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๗ และไม่มีโรงเรียนใดมีผลการปฏิบัติในระดับปานกลาง พอใช้ และปรับปรุง เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่า รายการที่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติได้ ระดับมากที่สุดคือ การสร้างการรับรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ร้อยละ ๙๕.๖๕ รองลงมา คือ การส่งเสริมเด็กปฐมวัยอายุ ๓-๖ ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงโอกาสการศึกษา ร้อยละ ๙๕.๑๑ และมีผลการปฏิบัติระดับดีมากน้อยที่สุดคือ การดำเนินงานตามแนวทางศาสตร์พระราชา พระบรมราโชบาย และพระราชดำริ ร้อยละ ๘๙.๑๓
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practices)มีผลการปฏิบัติในระดับดีมาก จำนวน ๑๖๓โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๕๙ ระดับดี จำนวน ๑๖โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๘.๖๙ ระดับปานกลาง จำนวน ๕โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๒.๗๒ และไม่มีโรงเรียนใดมีผลการปฏิบัติในระดับพอใช้ และปรับปรุง เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่า รายการที่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติได้ระดับมากที่สุดคือ ผลการดำเนินงานปัจจัยความสำเร็จชัดเจน ร้อยละ ๙๐.๒๒ รองลงมา คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practices)เรื่องที่นำมาพิจารณาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา ชัดเจน และ จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานชัดเจน ร้อยละ ๘๙.๖๗ และมีผลการปฏิบัติระดับดีมากน้อยที่สุดคือ บทเรียนที่ได้รับ การเผยแพร่ ชัดเจน ร้อยละ ๘๖.๔๑
ผลการสังเกตการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยในภาพรวมตามข้อสังเกต จำนวน ๑๐ รายการ มีผลการปฏิบัติระดับดี จำนวน ๑๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๗๔ ระดับพอใช้ จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๗๒ ระดับปรับปรุง จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๕๔
ผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาในภาพรวมตามข้อสังเกต จำนวน ๑๐ รายการ มีผลการปฏิบัติระดับดี จำนวน ๑๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๑๔ ระดับพอใช้ จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๘๗ และไม่มีผลการปฏิบัติในระดับปรับปรุง
ผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภาพรวมตามข้อสังเกต จำนวน ๑๐ รายการ มีผลการปฏิบัติระดับดี จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๑๘ ระดับพอใช้ จำนวน ๓ คนคิดเป็นร้อยละ ๖.๘๒ ระดับปานกลาง จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๕๔ และไม่มีผลการปฏิบัติในระดับปรับปรุง
ตอนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์แบบติดตามการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น
(เล่ม ๑ จุดเน้น:อ่านออก เขียนได้)ในภาพรวม ตามรายการประเมิน ๙ ข้อค่าเฉลี่ย (X̅)เท่ากับ๔.๔๕และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ๐.๕๖อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น (เล่ม ๒ จุดเน้น : คิดเป็น) ในภาพรวมตามรายการประเมิน ๙ ข้อ มีค่าเฉลี่ย (X̅) เท่ากับ ๔.๔๒ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ ๐.๕๗ อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น (เล่ม ๓ จุดเน้น : เห็นผลงาน)ในภาพรวมตามรายการประเมิน ๙ ข้อ มีค่าเฉลี่ย (X̅) เท่ากับ ๔.๔๔ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๕๖ อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น/ความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือแนวทางการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ ๕ จุดเน้น (เล่ม ๔ จุดเน้น : ฐานคุณธรรม)ในภาพรวมตามรายการประเมิน ๙ ข้อมีค่าเฉลี่ย (X̅) เท่ากับ ๔.๔๖ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๕๖ อยู่ในระดับมาก
ตอนที่ ๓ ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(อ.ก.ต.ป.น.)
ผลการวิเคราะห์การรับรู้การมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(อ.ก.ต.ป.น.)ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (X̅) เท่ากับ ๔.๓๒ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๖๘ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
๑. มีส่วนร่วมในการวางแผน(Planning Participation)มีค่าเฉลี่ย(X̅) เท่ากับ ๔.๓๖ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๖๔ อยู่ในระดับมาก
๒. มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ(Implementing Participation)มีค่าเฉลี่ย(X̅) เท่ากับ ๔.๓๒ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๖๔ อยู่ในระดับมาก
๓. มีส่วนร่วมในการติดตาม กำกับ นิเทศ(Supervising Participation)มีค่าเฉลี่ย(X̅) เท่ากับ ๔.๒๗ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๗๔
อยู่ในระดับมาก
๔. มีส่วนร่วมในการประเมินผล(Evaluating Participation) มีค่าเฉลี่ย (X̅) เท่ากับ ๔.๓๓ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๖๘ อยู่ในระดับมาก
๕. มีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนา(Improving and Developing Participation)ภาพรวมราย
ด้านมีค่าเฉลี่ย(X̅)เท่ากับ ๔.๓๒ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)เท่ากับ ๐.๖๘ อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(อ.ก.ต.ป.น.)
โดยใช้ ๕ Pโมเดลที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ในด้านต่างๆโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษาทุกด้านทุกระดับและส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยภาพรวมเป็นที่น่าพอใจ