บทสรุปของผู้บริหาร
ชื่อโครงการ: การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
โรงเรียนบ้านคลองเงิน
ผู้ประเมิน: นายศักดิ์รินทร์ โชติพฤกษ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนบ้านคลองเงิน อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาระนองสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา: 2565
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน 3) ประเมินกระบวนการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน 4) ประเมินผลผลิตโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน ที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน โดยศึกษากับประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านคลองเงิน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ที่ไม่ใช่ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู หรือผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 55 คน รวมทั้งสิ้น 85 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ (f) สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำแนกตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด
1.1 การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง โดยรวมและรายด้าน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกระบวนการ ตามลำดับ
1.1.1 ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า เป้าหมายของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคนได้ปฏิบัติ ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ด้านกาาคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกัน และแก้ปัญหานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือวัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ส่งเสริมให้บุคลากรและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ส่งเสริมให้นักเรียนมีชีวิตที่สัมพันธ์ด้วยดีกับบุคคล ครอบครัว ตามลำดับ
1.1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า ครูทุกท่าน ผู้บริหาร และนักเรียนทุกคน เข้าค่ายปฏิบัติธรรมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนมีป้ายนิเทศ ป้ายคติธรรม คำขวัญ คุณธรรม จริยธรรม โดยทั่วไป และผู้บริหารมีความซื่อสัตย์ จริงใจในการทำงาน ตามลำดับ
1.1.3 ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า โรงเรียนมีการเชิญวิทยากร นักจิตวิททยา และผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนมีการจัดให้นักเรียนไปเรียนรู้ผ่านทางระบบดูแลช่วยเหลือ หรือสอนให้นักเรียนสามารถจัดการกับอารมณ์ และปัญหาของตนเอวง
1.1.4 ด้านผลผลิต โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามลำดับแรก พบว่า โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ บ้าน ชุมชน สถานประกอบการ สถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนได้รับความร่วมมือ ได้แก่ บ้าน ชุมชน สถานประกอบการ สถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี และโรงเรียนได้รับความยกย่อง ได้แก่ สถานประกอบการ สถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี ตามลำดับ
1.2 ข้อคิดเห็นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มีดังนี้
1.2.1 ขั้นตอนที่ 1 ดารรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อข้อมูลจะได้เป็นปัจจุบัน ครูที่ปรึกษาควรมีเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียนทุกคน ครูที่ปรึกษาควรเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนลงในระบบคอมพิวเตอร์ และครูที่ปรึกษาควรเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1.2.2 ขั้นตอนที่ 2 การคัดกรองนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ โรงเรียนควรจัดการอบรมขั้นตอนของการคัดกรองนักเรียนให้กับครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษาควรประสานงานโดยตรงกับผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา
1.2.3 ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามละดับ ดังนี้ โรงเรียนควรทำแบบสอบถามความสนใจในกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน โรงเรียนควรจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดให้นักเรียน และโรงเรียนควรจัดกิจกรรมการส่งเสริมนักเรียนให้ครบทุกด้านตามความสนใจและความถนัดของนักเรียน
1.2.4 ขั้นตอนที่ 4 การป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรให้ความใกล้ชิดกับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ครูที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และโรงเรียนควรจัดอบรมและให้ความรู้กับครูที่ปรึกษาเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
1.2.5 ขั้นตอนที่ 5 การส่งต่อนักเรียน พบว่า มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอะแนะตามลำดับ ดังนี้ ครูที่ปรึกษาควรเก็บข้อมูลของนักเรียนไว้เป็นความลับไม่เปิดเผยกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง โรงเรียนควรจัดอบรมและให้ความรู้กับครูที่ปรึกษาเรื่องวิธีการช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษาควรมีเครือข่ายกับบุคคลภายนอกที่มีความชำนาญในด้านการช่วยเหลือนักเรียนโดยตรง
1.3 ความพึงพอใจของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โรงเรียนบ้านคลองเงิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากด้านที่มีความพึงพอใจ มากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ตามลำดับ