ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรำวงมาตรฐานเพลง หญิงไทยใจงามของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาศิลปะ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Lea

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สังคมในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการสื่อสาร ซึ่งเป็นยุคที่ไร้พรมแดน สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งประเทศไทยสามารถสื่อสารสัมพันธ์กับประชาคมโลกได้อย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอนาคตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอีกมากมาย ทำให้ต้องมีการปรับแบบแผน ความคิดเห็น ค่านิยม ตลอดจนการเรียนรู้ด้วยตนเองดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วนพัฒนาเพื่อคุณภาพการเรียนการสอนเน้นการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้คนไทยพึ่งพาตนเองได้ การศึกษา เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประชากรของชาติใดมีพื้นฐานการศึกษาสูงย่อมสามารถพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านได้อย่างรวดเร็ว เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการสร้างและพัฒนาพฤติกรรมความเป็นมนุษย์ในทุกด้าน และยังให้มนุษย์มีความรู้ความคิดอย่างเป็นระบบระเบียบมีแบบแผน ทั้งยังประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข

การศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นมากมายด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาส่งผลให้ผู้เรียนต้องมีการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา เพราะการเรียนรู้จากภายในห้องเรียนอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถจะพัฒนาผู้เรียนให้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน จากอดีตที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอด และผู้สอนมาเป็นผู้ชี้นำวิธีการค้นคว้าหาความรู้ให้ผู้เรียนอันจะเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ด้วยความเข้าใจ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์,2545; ทิศนาแขมมณี, 2548; บัณฑิตทิพากร, 2550) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาในมาตรา 22 ว่า

“การจัดการศึกษาต้องยึด หลักว่าผู้เรียนทุกคนที่ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”

กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียวโดยมีกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา โดยมีกระบวนการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียนการโต้ตอบและการวิเคราะห์ปัญหาอีกทั้งผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และการประเมิน (Bonwell & Eison, 1991) การประยุกต์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนจึงถือเป็นการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

ในสังคมปัจจุบันนับได้ว่าโลกเรามีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคกลางในการจัดการเรียนการสอนนั้นได้รู้ถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นว่าผู้เรียนขาดความรู้ ความเข้าใจในการเรียนนาฏศิลป์ ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยนี้ขึ้น เพื่อจะได้หาทางแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาในศาสตร์สาขานี้ให้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของนาฏศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ มรดก อันล้ำค่าที่ชนชาติอื่นหาเสมอเหมือนได้ยาก การสอนนาฏศิลป์เป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเป้าหมายของการศึกษา เพราะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน ชื่นชม และเห็นความสำคัญของการเรียนนาฏศิลป์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออก ทั้งในด้านการร้องเพลง การเคาะจังหวะ การเคลื่อนไหวร่างกายในลีลาจังหวะต่างๆ การสอนนาฏศิลป์ ถึงแม้จะส่งเสริมด้านการพัฒนาแต่ความรู้และทักษะ ก็ยังมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอน เพราะนาฏศิลป์ต้องอาศัยทักษะพื้นฐาน เพื่อนำแสดงออกในทางที่ถูกต้องจึงควรใช้การปฏิบัติให้มากที่สุด (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2544: 117) ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรำวงมาตรฐานเพลง หญิงไทยใจงามของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาศิลปะ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลการเรียนรำวงมาตรฐานเพลง หญิงไทยใจงามของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาศิลปะ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning)

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรำวงมาตรฐานเพลง หญิงไทยใจงามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาศิลปะ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning)

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม จำนวน 39 คน

ตัวแปรที่จะศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning)

2. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น

2. นักเรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการคิดวิเคราะห์ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

3. นักเรียนมีความสุขกับการเรียน

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรำวงมาตรฐานเพลง หญิงไทยใจงามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาศิลปะ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้

หลักสูตรศิลปะ

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่น (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๒) จากการวิจัย และติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรในช่วงระยะ ๖ ปีที่ผ่านมา (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๖ ก., ๒๕๔๖ ข., ๒๕๔๘ ก., ๒๕๔๙ ข.; สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๔๗; สำนักผู้ตรวจราชการและติดตามประเมินผล, ๒๕๔๘; สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย, ๒๕๔๗; Nutravong, ๒๐๐๒; Kittisunthorn, ๒๐๐๓) พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๕ มีจุดดีหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และมีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ( พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้ มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๔๙) ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑)

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า และช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจน การนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้

หลักการ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้

จุดหมาย

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

๑. รักชาติศาสน์ กษัตริย์

๒. ซื่อสัตย์สุจริต

๓. มีวินัย

๔. ใฝ่เรียนรู้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

๖. มุ่งมั่นในการทำงาน

๗. รักความเป็นไทย

๘. มีจิตสาธารณะ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า ดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑ ๑. อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น • รูปร่าง ลักษณะ และขนาดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

๒. บอกความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว • ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น รู้สึกประทับใจกับความงาม ของบริเวณรอบอาคารเรียน หรือรู้สึกถึง ความไม่เป็นระเบียบ ของสภาพภายในห้องเรียน

๓. มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ • การใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสีสร้างงานทัศนศิลป์

๔. สร้างงานทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สี ด้วยเทคนิคง่าย ๆ • การทดลองสีด้วยการใช้สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีเทียนและสีจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น

๕. วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติ ตามความรู้สึกของตนเอง • การวาดภาพระบายสีตามความรู้สึก ของตนเอง

ป.๒ ๑. บรรยายรูปร่าง รูปทรงที่พบในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น รูปกลม รี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และกระบอก

๒. ระบุทัศนธาตุที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่องเส้น สี รูปร่าง และรูปทรง • เส้น สี รูปร่าง รูปทรงในสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ เช่น งานวาด งานปั้น และงานพิมพ์ภาพ

๓. สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้น รูปร่าง • เส้น รูปร่างในงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ เช่น งานวาด งานปั้น และงานพิมพ์ภาพ

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๒ ๔. มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์ ๓ มิติ • การใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์ ๓ มิติ

๕. สร้างภาพปะติดโดยการตัดหรือ ฉีกกระดาษ • ภาพปะติดจากกระดาษ

๖. วาดภาพเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของตนเองและเพื่อนบ้าน • การวาดภาพถ่ายทอดเรื่องราว

๗. เลือกงานทัศนศิลป์ และบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็น รวมถึงเนื้อหาเรื่องราว • เนื้อหาเรื่องราวในงานทัศนศิลป์

๘. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เป็นรูปแบบงานโครงสร้างเคลื่อนไหว • งานโครงสร้างเคลื่อนไหว

ป.๓

๑. บรรยาย รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ • รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

๒. ระบุ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สร้างผลงาน

เมื่อชมงานทัศนศิลป์ • วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานทัศนศิลป์ประเภทงานวาด งานปั้น งานพิมพ์ภาพ

๓. จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่อง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว • เส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

๔. วาดภาพ ระบายสีสิ่งของรอบตัว • การวาดภาพระบายสี สิ่งของรอบตัว ด้วยสีเทียน ดินสอสี และสีโปสเตอร์

๕. มีทักษะพื้นฐาน ในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานปั้น • การใช้วัสดุอุปกรณ์ในงานปั้น

๖. วาดภาพถ่ายทอดความคิดความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว • การใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว

วาดภาพถ่ายทอดความคิดความรู้สึก

๗. บรรยายเหตุผลและวิธีการในการสร้างงานทัศนศิลป์ โดยเน้นถึงเทคนิคและวัสดุ อุปกรณ์ • วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการในการสร้างงานทัศนศิลป์

๘. ระบุสิ่งที่ชื่นชมและสิ่งที่ควรปรับปรุงในงานทัศนศิลป์ของตนเอง • การแสดงความคิดเห็นในงานทัศนศิลป์ของตนเอง

๙. ระบุ และจัดกลุ่มของภาพตามทัศนธาตุที่เน้นในงานทัศนศิลป์นั้น ๆ • การจัดกลุ่มของภาพตามทัศนธาตุ

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๓ ๑๐. บรรยายลักษณะรูปร่าง รูปทรง ในงานการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ที่มีในบ้านและโรงเรียน • รูปร่าง รูปทรง ในงานออกแบบ

ป.๔

๑. เปรียบเทียบรูปลักษณะของรูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ • รูปร่าง รูปทรง ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

๒. อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของสีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์ • อิทธิพลของสี วรรณะอุ่น และวรรณะเย็น

๓. จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์โดยเน้นเรื่องเส้น สี รูปร่าง รูปทรงพื้นผิว และพื้นที่ว่าง • เส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว และพื้นที่ว่าง

ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

๔. มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างสรรค์งานพิมพ์ภาพ • การใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างงานพิมพ์ภาพ

๕. มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างสรรค์งานวาดภาพระบายสี • การใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการวาดภาพระบายสี

๖. บรรยายลักษณะของภาพโดยเน้น เรื่องการจัดระยะ ความลึก น้ำหนักและแสงเงาในภาพ • การจัดระยะความลึก น้ำหนักและแสงเงา

ในการวาดภาพ

๗. วาดภาพระบายสี โดยใช้สีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็น ถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ • การใช้สีวรรณะอุ่นและใช้สีวรรณะเย็น วาดภาพถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ

๘. เปรียบเทียบความคิดความรู้สึก ที่ถ่ายทอดผ่านงานทัศนศิลป์ของตนเองและบุคคลอื่น • ความเหมือนและความแตกต่างในงานทัศนศิลป์ความคิดความรู้สึกที่ถ่ายทอดในงานทัศนศิลป์

๙. เลือกใช้วรรณะสีเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกในการสร้างงานทัศนศิลป์ • การเลือกใช้วรรณะสีเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก

ป.๕

๑. บรรยายเกี่ยวกับจังหวะตำแหน่ง ของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ • จังหวะ ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๕

๒. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ ที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ต่างกัน • ความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์

๓. วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี • แสงเงา น้ำหนัก และวรรณะสี

๔. สร้างสรรค์งานปั้นจาก ดินน้ำมัน หรือดินเหนียว โดยเน้นการถ่ายทอดจินตนาการ • การสร้างงานปั้นเพื่อถ่ายทอดจินตนาการด้วยการใช้ดินน้ำมันหรือดินเหนียว

๕. สร้างสรรค์งานพิมพ์ภาพ โดยเน้น การจัดวางตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ในภาพ • การจัดภาพในงานพิมพ์ภาพ

๖. ระบุปัญหาในการจัดองค์ประกอบศิลป์และการสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตนเอง และบอกวิธีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น • การจัดองค์ประกอบศิลป์และการสื่อความหมาย ในงานทัศนศิลป์

๗. บรรยายประโยชน์และคุณค่า ของงานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิตของคน ในสังคม • ประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์

ป.๖ ๑. ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สีคู่ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดและอารมณ์ • วงสีธรรมชาติ และสีคู่ตรงข้าม

๒. อธิบายหลักการจัดขนาดสัดส่วนความสมดุลในการสร้างงานทัศนศิลป์ • หลักการจัดขนาด สัดส่วนความสมดุล ในงานทัศนศิลป์

๓. สร้างงานทัศนศิลป์จากรูปแบบ ๒ มิติ เป็น ๓ มิติ โดยใช้หลักการของแสงเงาและน้ำหนัก • งานทัศนศิลป์รูปแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ

๔. สร้างสรรค์งานปั้นโดยใช้หลักการเพิ่ม, ลด • การใช้หลักการเพิ่มและลดในการสร้างสรรค์งานปั้น

๕. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการ ของรูปและพื้นที่ว่าง • รูปและพื้นที่ว่างในงานทัศนศิลป์

๖. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์โดยใช้สีคู่ตรงข้ามหลักการจัดขนาดสัดส่วน และความสมดุล • การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์โดยใช้ สีคู่ตรงข้าม หลักการจัดขนาด สัดส่วนและความสมดุล

๗. สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ • การสร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบ

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑ ๑. ระบุงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน • งานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

ป.๒ ๑. บอกความสำคัญของงานทัศนศิลป์

ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน • ความสำคัญของงานทัศนศิลป์ในชีวิต ประจำวัน

๒. อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ ในท้องถิ่นโดยเน้นถึงวิธีการสร้างงานและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ • งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

ป.๓ ๑. เล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น • ที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

๒. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น • วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

ป.๔ ๑. ระบุ และอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรมในท้องถิ่น • งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมท้องถิ่น

๒. บรรยายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ ที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ • งานทัศนศิลป์จากวัฒนธรรมต่าง ๆ

ป.๕ ๑. ระบุ และบรรยายเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบของงานทัศนศิลป์ในแหล่งเรียนรู้หรือนิทรรศการศิลปะ • ลักษณะรูปแบบของงานทัศนศิลป์

๒. อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ ที่สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ในท้องถิ่น • งานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ป.๖ ๑. บรรยายบทบาทของงานทัศนศิลป์ ที่สะท้อนชีวิตและสังคม • บทบาทของงานทัศนศิลป์ในชีวิต และสังคม

๒. อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของความเชื่อความศรัทธาในศาสนาที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น • อิทธิพลของศาสนาที่มีต่องานทัศนศิลป์ ในท้องถิ่น

๓. ระบุ และบรรยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ของบุคคล • อิทธิพลทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่มีผล ต่อการสร้างงานทัศนศิลป์

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี

ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑ ๑. รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ สามารถก่อกำเนิดเสียง

ที่แตกต่างกัน • การกำเนิดของเสียง เสียงจากธรรมชาติ

แหล่งกำเนิดของเสียง สีสันของเสียง

๒. บอกลักษณะของเสียงดัง-เบา และความช้า- เร็วของจังหวะ • ระดับเสียงดัง-เบา (Dynamic)

• อัตราความเร็วของจังหวะTempo

๓. ท่องบทกลอน ร้องเพลงง่าย ๆ

• การอ่านบทกลอนประกอบจังหวะ

• การร้องเพลงประกอบจังหวะ

๔. มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน

• กิจกรรมดนตรี การร้องเพลง การเคาะจังหวะ การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง

ตามความดัง- เบาของบทเพลง ตามความช้าเร็วของจังหวะ

๕. บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ ในชีวิตประจำวัน

• เพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เพลงกล่อมเด็ก

บทเพลงประกอบการละเล่น

เพลงสำคัญ (เพลงชาติไทย

เพลงสรรเสริญพระบารมี)

ป.๒ ๑. จำแนกแหล่งกำเนิด ของเสียงที่ได้ยิน

• สีสันของเสียงเครื่องดนตรี

• สีสันของเสียงมนุษย์

๒. จำแนกคุณสมบัติของเสียง สูง- ต่ำ , ดัง-เบา ยาว-สั้น ของดนตรี • การฝึกโสตประสาท การจำแนกเสียง สูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น

๓. เคาะจังหวะหรือเคลื่อนไหวร่างกาย ให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง • การเคลื่อนไหวประกอบเนื้อหาในบทเพลง

• การเล่นเครื่องดนตรีประกอบเพลง

๔. ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับวัย • การขับร้อง

๕. บอกความหมายและความสำคัญของเพลงที่ได้ยิน • ความหมายและความสำคัญของเพลง ที่ได้ยิน เพลงปลุกใจ เพลงสอนใจ

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๓

๑. ระบุรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี ที่เห็นและได้ยินในชีวิตประจำวัน • รูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี

• เสียงของเครื่องดนตรี

๒. ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนเสียง และจังหวะเคาะ

• สัญลักษณ์แทนคุณสมบัติของเสียง (สูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น)

• สัญลักษณ์แทนรูปแบบจังหวะ

๓. บอกบทบาทหน้าที่ของเพลงที่ได้ยิน

• บทบาทหน้าที่ของบทเพลงสำคัญ

เพลงชาติ

เพลงสรรเสริญพระบารมี

เพลงประจำโรงเรียน

๔. ขับร้องและบรรเลงดนตรีง่าย ๆ

• การขับร้องเดี่ยวและหมู่

• การบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบเพลง

๕. เคลื่อนไหวท่าทางสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ฟัง • การเคลื่อนไหวตามอารมณ์ของบทเพลง

๖. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงขับร้องของตนเองและผู้อื่น

• การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงร้องและเสียงดนตรี

คุณภาพเสียงร้อง

คุณภาพเสียงดนตรี

๗. นำดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

• การใช้ดนตรีในโอกาสพิเศษ

ดนตรีในงานรื่นเริง

ดนตรีในการฉลองวันสำคัญของชาติ

ป.๔

๑. บอกประโยคเพลงอย่างง่าย

• โครงสร้างของบทเพลง

ความหมายของประโยคเพลง

การแบ่งประโยคเพลง

๒. จำแนกประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในเพลงที่ฟัง • ประเภทของเครื่องดนตรี

• เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท

๓. ระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น – ลงง่าย ๆ ของทำนอง รูปแบบจังหวะและความเร็ว ของจังหวะในเพลงที่ฟัง

• การเคลื่อนที่ขึ้น - ลงของทำนอง

• รูปแบบจังหวะของทำนองจังหวะ

• รูปแบบจังหวะ

• ความช้า - เร็วของจังหวะ

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๔

๔. อ่าน เขียนโน้ตดนตรีไทยและสากล • เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

กุญแจประจำหลัก

บรรทัดห้าเส้น

โน้ตและเครื่องหมายหยุด

เส้นกั้นห้อง

• โครงสร้างโน้ตเพลงไทย

การแบ่งห้อง

การแบ่งจังหวะ

๕. ร้องเพลงโดยใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง • การขับร้องเพลงในบันไดเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง

๖. ใช้และเก็บเครื่องดนตรีอย่างถูกต้องและปลอดภัย • การใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรี ของตน

๗. ระบุว่าดนตรีสามารถใช้ในการสื่อเรื่องราว • ความหมายของเนื้อหาในบทเพลง

ป.๕

๑. ระบุองค์ประกอบดนตรีในเพลงที่ใช้ในการสื่ออารมณ์

• การสื่ออารมณ์ของบทเพลงด้วยองค์ประกอบ

ดนตรี

จังหวะกับอารมณ์ของบทเพลง

ทำนองกับอารมณ์ของบทเพลง

๒. จำแนกลักษณะของเสียงขับร้องและเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีประเภทต่าง ๆ • ลักษณะของเสียงนักร้องกลุ่มต่าง ๆ

• ลักษณะเสียงของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ

๓. อ่าน เขียนโน้ตดนตรีไทยและสากล ๕ ระดับเสียง

• เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

บันไดเสียง ๕ เสียง Pentatonic scale

โน้ตเพลงในบันไดเสียง ๕ เสียง Pentatonic scale

๔. ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงจังหวะ และทำนอง • การบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ

• การบรรเลงทำนองด้วยเครื่องดนตรี

๕. ร้องเพลงไทยหรือเพลงสากลหรือเพลง ไทยสากลที่เหมาะสมกับวัย

• การร้องเพลงไทยในอัตราจังหวะสองชั้น

• การร้องเพลงสากล หรือไทยสากล

• การร้องเพลงประสานเสียงแบบ Canon Round

ป.๕

๖. ด้นสดง่าย ๆ โดยใช้ประโยคเพลง

แบบถามตอบ • การสร้างสรรค์ประโยคเพลงถาม-ตอบ

๗. ใช้ดนตรีร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ • การบรรเลงดนตรีประกอบกิจกรรมนาฏศิลป์

• การสร้างสรรค์เสียงประกอบการเล่าเรื่อง

ป.๖

ป.๖ ๑. บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต • องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต

๒. จำแนกประเภทและบทบาทหน้าที่ เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีที่ มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ • เครื่องดนตรีไทยแต่ละภาค

• บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรี

• ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

๓. อ่าน เขียนโน้ตไทย และโน้ตสากลทำนองง่าย ๆ

• เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

• โน้ตบทเพลงไทย อัตราจังหวะสองชั้น

• โน้ตบทเพลงสากลในบันไดเสียง C Major

๔. ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ การร้องเพลง ด้นสด ที่มีจังหวะและทำนองง่าย ๆ • การร้องเพลงประกอบดนตรี

• การสร้างสรรค์รูปแบบจังหวะและทำนองด้วยเครื่องดนตรี

๕. บรรยายความรู้สึกที่มีต่อดนตรี • การบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นที่มีต่อบทเพลง

เนื้อหาในบทเพลง

องค์ประกอบในบทเพลง

คุณภาพเสียงในบทเพลง

๖. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง จังหวะการประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลงที่ฟัง

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า

ของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑

๑. เล่าถึงเพลงในท้องถิ่น • ที่มาของบทเพลงในท้องถิ่น

๒. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบในดนตรีท้องถิ่น • ความน่าสนใจของบทเพลงในท้องถิ่น

ป.๒ ๑. บอกความสัมพันธ์ของเสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรีในเพลงท้องถิ่น โดยใช้คำง่าย ๆ

• บทเพลงในท้องถิ่น ลักษณะของเสียงร้องในบทเพลง ลักษณะของเสียงเครื่องดนตรีที่ใช้ในบทเพลง

๒. แสดงและเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรี

ในท้องถิ่น • กิจกรรมดนตรีในโอกาสพิเศษ

ดนตรีกับโอกาสสำคัญในโรงเรียน

ดนตรีกับวันสำคัญของชาติ

ป.๓ ๑. ระบุลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ ของดนตรีในท้องถิ่น • เอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น

ลักษณะเสียงร้องของดนตรีในท้องถิ่น

ภาษาและเนื้อหาในบทร้องของดนตรีในท้องถิ่น

เครื่องดนตรีและวงดนตรีในท้องถิ่น

๒. ระบุความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น

• ดนตรีกับการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น

ดนตรีในชีวิตประจำวัน

ดนตรีในวาระสำคัญ

ป.๔ ๑. บอกแหล่งที่มาและความสัมพันธ์ ของวิถีชีวิตไทย ที่สะท้อนในดนตรี และเพลงท้องถิ่น • ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตกับผลงานดนตรี

เนื้อหาเรื่องราวในบทเพลงกับวิถีชีวิต

โอกาสในการบรรเลงดนตรี

๒. ระบุความสำคัญในการอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมทางดนตรี

• การอนุรักษ์วัฒนธรรมทางดนตรี

ความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์

แนวทางในการอนุรักษ์

ป.๕

๑. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีในวัฒนธรรมต่าง ๆ

• ดนตรีกับงานประเพณี

บทเพลงในงานประเพณีในท้องถิ่น

บทบาทของดนตรีในแต่ละประเพณี

๒. อธิบายคุณค่าของดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน • คุณค่าของดนตรีจากแหล่งวัฒนธรรม

คุณค่าทางสังคม

คุณค่าทางประวัติศาสตร์

ป.๖ ๑. อธิบายเรื่องราวของดนตรีไทย ในประวัติศาสตร์ • ดนตรีไทยในประวัติศาสตร์

ดนตรีในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์

ดนตรีในยุคสมัยต่าง ๆ

อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีต่อดนตรี

๒. จำแนกดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน

๓. อภิปรายอิทธิพลของวัฒนธรรม ต่อดนตรีในท้องถิ่น

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์

คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑ ๑. เลียนแบบการเคลื่อนไหว

• การเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ

การเลียนแบบธรรมชาติ

การเลียนแบบคน สัตว์ สิ่งของ

๒. แสดงท่าทางง่าย ๆ เพื่อสื่อความหมาย แทนคำพูด • การใช้ภาษาท่า และการประดิษฐ์ ท่าประกอบเพลง

• การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติสัตว์

๓. บอกสิ่งที่ตนเองชอบ จากการดูหรือ

ร่วมการแสดง • การเป็นผู้ชมที่ดี

ป.๒

๑. เคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่

• การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ

การนั่ง

การยืน

การเดิน

๒. แสดงการเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ของตนเองอย่างอิสระ • การประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหว อย่างมีรูปแบบ

• เพลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

๓. แสดงท่าทาง เพื่อสื่อความหมาย แทนคำพูด

• หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์

การฝึกภาษาท่าสื่อความหมายแทนอากัปกิริยา

การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนลำตัว

๔. แสดงท่าทางประกอบจังหวะ อย่างสร้างสรรค์ • การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบจังหวะ

๕. ระบุมารยาทในการชมการแสดง

• มารยาทในการชมการแสดง การเข้าชมหรือมีส่วนร่วม

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๓ ๑. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์สั้น ๆ

• การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ

รำวงมาตรฐาน

เพลงพระราชนิพนธ์

สถานการณ์สั้น ๆ

สถานการณ์ที่กำหนดให้

ป.๓ ๒. แสดงท่าทางประกอบเพลงตามรูปแบบนาฏศิลป์

• หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์

การฝึกภาษาท่าสื่ออารมณ์ของมนุษย์

การฝึกนาฎยศัพท์ในส่วนขา

๓. เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชม • หลักในการชมการแสดง

ผู้แสดง

ผู้ชม

การมีส่วนร่วม

๔. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย

๕. บอกประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์

ในชีวิตประจำวัน • การบูรณาการนาฏศิลป์กับสาระ การเรียนรู้อื่น ๆ

ป.๔

๑. ระบุทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์และ

การละครที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์

• หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์

การฝึกภาษาท่า

การฝึกนาฏยศัพท์

๒. ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครง่าย ๆ ในการถ่ายทอดเรื่องราว

• การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์

• การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอดเรื่องราว

๓. แสดง การเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆ ตามความคิดของตน • การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่ารำประกอบจังหวะพื้นเมือง

๔. แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และหมู่ • การแสดงนาฏศิลป์ ประเภทคู่และหมู่

รำวงมาตรฐาน

ระบำ

๕. เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดงโดยเน้นจุดสำคัญของเรื่องและลักษณะเด่น ของตัวละคร • การเล่าเรื่อง จุดสำคัญ

ลักษณะเด่นของตัวละคร

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๕ ๑. บรรยายองค์ประกอบนาฏศิลป์

• องค์ประกอบของนาฏศิลป์ จังหวะ ทำนอง คำร้อง ภาษาท่า นาฏยศัพท์ อุปกรณ์

๒. แสดงท่าทางประกอบเพลงหรือเรื่องราวตามความคิดของตน • การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลง หรือท่าทางประกอบเรื่องราว

๓. แสดงนาฏศิลป์ โดยเน้นการใช้ภาษาท่า

และนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมายและ

การแสดงออก • การแสดงนาฏศิลป์

ระบำ

ฟ้อน

รำวงมาตรฐาน

๔. มีส่วนร่วมในกลุ่มกับการเขียน เค้าโครงเรื่องหรือบทละครสั้น ๆ

• องค์ประกอบของละคร

การเลือกและเขียนเค้าโครงเรื่อง

บทละครสั้น ๆ

๕. เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่าง ๆ • ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่าง ๆ

๖. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการชม การแสดง

• หลักการชมการแสดง

• การถ่ายทอดความรู้สึกและคุณค่า ของการแสดง

ป.๖

๑. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดง

โดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์ • การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลงปลุกใจหรือเพลงพื้นเมืองหรือท้องถิ่นเน้นลีลา หรืออารมณ์

๒. ออกแบบเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างง่าย ๆ • การออกแบบสร้างสรรค์

เครื่องแต่งกาย

อุปกรณ์ ฉากประกอบการแสดง

๓. แสดงนาฏศิลป์และละครง่าย ๆ

• การแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละคร

รำวงมาตรฐาน ระบำ ฟ้อน ละครสร้างสรรค์

ป.๖ ๔. บรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์และการละครอย่างสร้างสรรค์ • บทบาทและหน้าที่ในงานนาฏศิลป์และการละคร

๕. แสดงความคิดเห็นในการชมการแสดง • หลักการชมการแสดง การวิเคราะห์

ความรู้สึกชื่นชม

๖. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบ ในชีวิตประจำวัน • องค์ประกอบทางนาฏศิลป์และการละคร

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.๑

๑. ระบุ และเล่นการละเล่นของเด็กไทย

• การละเล่นของเด็กไทย

วิธีการเล่น กติกา

๒. บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดงนาฏศิลป์ • การแสดงนาฏศิลป์

ป.๒ ๑. ระบุและเล่นการละเล่นพื้นบ้าน

• การละเล่นพื้นบ้าน

วิธีการเล่น กติกา

๒. เชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิตของคนไทย • ที่มาของการละเล่นพื้นบ้าน

๓. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจ ในการละเล่นพื้นบ้าน • การละเล่นพื้นบ้าน

ป.๓ ๑. เล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็น ในท้องถิ่น • การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านหรือท้องถิ่นของตน

๒. ระบุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ • การแสดงนาฏศิลป์ ลักษณะ เอกลักษณ์

๓. อธิบายความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์ • ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์สิ่งที่เคารพ

ป.๔ ๑. อธิบายประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์

• ที่มาของชุดการแสดง

๒. เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์

กับการแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น • การชมการแสดง นาฏศิลป์

การแสดงของท้องถิ่น

ป.๔ ๓. อธิบายความสำคัญของการแสดงความเคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์

การทำความเคารพก่อนเรียนและก่อนแสดง

๔. ระบุเหตุผลที่ควรรักษา และสืบทอด

การแสดงนาฏศิลป์ • ความเป็นมาของนาฏศิลป์คุณค่า

ป.๕ ๑. เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่าง ๆ ของไทย ในแต่ละท้องถิ่น • การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่าง ๆ

การแสดงพื้นบ้าน

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

๒. ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี • การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่าง ๆ

การแสดงพื้นบ้าน

ป.๖ ๑. อธิบายสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์และละคร • ความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญ ของนาฏศิลป์และละคร บุคคลสำคัญ คุณค่า

๒. ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร • การแสดงนาฏศิลป์และละคร ในวันสำคัญของโรงเรียน

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Active Learning)

เยาวเรศ ภักดีจิตร กล่าวว่า การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะความคิดระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดีในที่สุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถชี้นำตลอดชีวิตในฐานะผู้ฝักใฝ่การเรียนรู้ธรรมชาติของการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วยลักษณะสำคัญต่อไปนี้

1. เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนให้น้อยลงและพัฒนาทักษะให้เกิดกับผู้เรียน

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยลงมือกระทำมากกว่านั่งฟังเพียงอย่างเดียว

3. ผู้เรียนมีส่วนในกิจกรรมเช่นอ่านอภิปรายและเขียน

4. เน้นการสำรวจเจตคติและคุณค่าที่มีอยู่ในผู้เรียน

5. ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดระดับสูงในการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินผลการนำไปใช้และ

6. ทั้งผู้เรียนและผู้สอนรับข้อมูลป้อนกลับจากการสะท้อนความคิดได้อย่างรวดเร็ว

การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ต้องการกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองผ่านการจัดการตนเองให้ความรู้และช่วยพัฒนาเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะที่หลากหลายเป็นกระบวนการที่ประณีตรัดกุมและผู้เรียนได้รับประโยชน์มากกว่าการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้อาจนำมาขยายความให้เห็นเป็นลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้ดังนี้

1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมองได้แก่การคิดการแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกันร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกันการมีวินัยในการทำงานการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่านพูดฟังคิดอย่างลุ่มลึกผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศและหลักการความคิดรวบยอด

9. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

10.ความรู้เกิดจากประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ การมีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ (Appealing Materials) ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติ (Opportunities for Manipulation) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมและกลวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Choices for Children) ผู้เรียนได้สื่อสารเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำกับผู้อื่นการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นการประเมินการจัดห้องเรียนกำหนดการประจำวันปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา การจัดการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนรู้แบบใฝ่รู้จะมีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับวิธีการใช้กิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งทำได้มากกว่าการสอนแบบบรรยายนั่นเอง

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลก นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งวิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อ การจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก อันได้แก่ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)และความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาการสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมาก มาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อและความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงาน ในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 7C ประกอบด้วย Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ “ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยวคนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม

กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 3 ลักษณะ คือ

1. กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ

2. กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

3. การเรียนรู้แบบขั้นบันได(IS)

1.กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียนมีลักษณะดังนี้

1.1 การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

1.2 การเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-based Learning) การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้(teacher)เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL จึงมิใช่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ(collaboration)ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย

ขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

STEP 1 การเตรียมความพร้อม ครูเตรียมมอบหมายโครงงานโดยระบุในแผนการสอน ในชั้นเรียนครูอาจกำหนดขอบเขตของโครงงานอย่างกว้างๆ ให้สอดคล้องกับรายวิชา หรือความถนัดของนักเรียน และเตรียมแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถใช้เว็บไซต์ หรือโปรแกรม moodleในการ update ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ และการกำหนดนัดหมายต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินโครงการได้

STEP 2 การคิดและเลือกหัวข้อ ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง เพื่อเปิดโอกาสให้รู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรม ครูอาจให้ผู้เรียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหัวข้อ การทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้เกิด brain storm จะทำให้เกิดทักษะ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการสร้างความร่วมมือ

STEP 3 การเขียนเค้าโครง การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เป็นการสร้าง mind map แสดงแนวคิด แผน และขั้นตอนการทำโครงงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมองเห็นภาระงาน บทบาท และระยะเวลาในการดำเนินงาน ทำให้สามารถปฏิบัติโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

STEP 4 การปฏิบัติโครงงาน นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในเค้าโครงของโครงงาน ถ้ามีการวางเค้าโครงเอาไว้แล้ว นักเรียนจะรู้ได้เองว่าจะต้องทำอะไรในขั้นตอนต่อไป โดยไม่ต้องรอถามครู ในระหว่างการดำเนินการครูผู้สอนอาจมีการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดหรือร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมๆกับนักเรียน

STEP 5 การนำเสนอโครงงาน นักเรียนสรุปรายงานผล โดยการเขียนรายงาน หรือการนำเสนอในรูปแบบอื่นๆเช่น แผ่นพับ โปสเตอร์จัดนิทรรศการ รายงานหน้าชั้นส่งงานทางเว็บไซต์หรืออีเมล ถ้ามีการประกวดหรือแข่งขันด้วยจะทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น

STEP 6 การประเมินผลโครงงาน การประเมินโครงงานควรมีการประเมินผลการเรียนรู้โดยหลากหลาย เช่น นักเรียนประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน ประเมินจากบุคคลภายนอก การประเมินจะไม่วัดเฉพาะความรู้หรือผลงานสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่จะวัดกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลงานด้วย การประเมินโดยครูหลายคนจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูด้วยกันอีกด้วย

1.3 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรูด้วยตนเอง “Child Centered” การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปการศึกษาของไทย การเรียนรู้ชนิดนี้เอง ที่มีผู้ตั้งฉายาว่า “สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less..Learn More” การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer” มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที

1.4 การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา (Problem-based Learning) เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ขนาดประมาณ 8 -10 คน โดยมีครูหรือผู้สอนประจำกลุ่ม 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการการเรียนรู้ (facilitator) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. เมื่อผู้เรียนได้รับโจทย์ปัญหา ผู้เรียนจะทำความเข้าใจหรือทำความกระจ่างในคาศัพท์ที่อยู่ในโจทย์ปัญหานั้น เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

2. การจับประเด็นข้อมูลที่สำคัญหรือระบุปัญหาในโจทย์

3. ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายหาคำอธิบาย แต่ละประเด็นปัญหาว่าเป็นอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ความเป็นมาอย่างไร โดยอาศัยพื้นความรู้เดิมเท่าที่ผู้เรียนมีอยู่

4. ตั้งสมมติฐานเพื่อหาตอบปัญหาประเด็นต่างๆ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐานที่เป็นไปได้อย่างมีเหตุผล

5. จากสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ผู้เรียนจะประเมินว่าเขามีความรู้เรื่องอะไรบ้าง มีเรื่องอะไรที่ยังไม่รู้หรือขาดความรู้ และความรู้อะไรจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ซึ่งเชื่อมโยงกับโจทย์ปัญหาที่ได้ ขั้นตอนนี้กลุ่มจะกำหนดประเด็นการเรียนรู้ (learning issue) หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (learning objective) เพื่อจะไปค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป

6. ค้นคว้าหาข้อมูลและศึกษาเพิ่มเติมจากทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือตำรา วารสาร สื่อการเรียนสอนต่างๆ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อินเทอร์เน็ต หรือปรึกษาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาขาเฉพาะ พร้อมทั้งประเมินความถูกต้อง

7. นำข้อมูลหรือความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ อธิบาย พิสูจน์สมมติฐานและประยุกต์ให้เหมาะสมกับโจทย์ปัญหา พร้อมสรุปเป็นแนวคิดหรือหลักการทั่วไป

ขั้นตอนที่ 1-5 เป็นขั้นตอนภายในกระบวนการกลุ่มในห้องเรียน ขั้นตอนที่ 6 เป็นกิจกรรมของผู้เรียนรายบุคคลนอกห้องเรียน และขั้นตอนที่ เป็นกิจกรรมที่กลับมาในกระบวนกลุ่มอีกครั้ง

1.5 การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่ง สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2540) ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย คือการให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทำวิจัยในระดับต่างๆ เช่น การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การศึกษารายกรณี (Case Study) การทำโครงงาน การทำวิจัยเอกสาร การทำวิจัยฉบับจิ๋ว (Baby Research) การทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น 2. การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัย (Under Study Concept) ในกรณีนี้ผู้สอนต้องเตรียมโครงการวิจัยไว้รองรับเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทำวิจัย เช่น ร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อเสียที่ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบถ้วนทุกขั้นตอน

3. การสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัย เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ วิธีการตั้งโจทย์ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ผลการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้และศึกษาต่อไป ทำให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น

4. การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้ว่า ทฤษฎีข้อความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์ของตนในปัจจุบันเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างศรัทธาต่อผู้สอนรวมทั้งทำให้ผู้สอนไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องสอนเนื้อหาเดิมๆ ทุกปี

2.กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพราะการสื่อสารเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารข้อมูลความรู้เหตุการณ์ต่างๆจากผู้สอนยังไปผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายดังนี้

2.1 การฝึกทักษะในการฟังอย่างลึกซึ้ง(Deep Listening) โดยใช้เทคนิค สุนทรียสนทนา(Dialogue) เป็นการฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งทำให้รู้จักตนเองมากขึ้น ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจ ฟังให้มาก พูดให้น้อยลง ไม่พูดแทรกขณะอีกฝ่ายกำลังพูด ทำให้ฟังและได้ยินมากขึ้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานหรือการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี

2.2 การฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค Communities of Practice หรือ COPซึ่งเป็นการดึงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนและทำให้เกิดการเรียนรู้

2.3 การฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบกลุ่ม ปฏิบัติงานกลุ่มเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทางานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถความถนัดหรือความสนใจเป็นการฝึกให้นักเรียนทางานร่วมกันตามวิธีแห่งประชาธิปไตย

2.4 การฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิจัย จัดระบบ ประเมิน และสื่อสารสารสนเทศ ใช้เครื่องมือสื่อสาร เชื่อมโยงเครือข่าย (คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นมีเดีย ฯลฯ) และ social network อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อเข้าถึง (access) จัดการ (manage) ผสมผสาน (integrate) ประเมิน (evaluate) และสร้าง(create) สารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ในเศรษฐกิจฐานความรู้ปฏิบัติตามคุณธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3. การเรียนรู้แบบขั้นบันได(IS)กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามที่คาดหวังนั้น มีมากมายหลายวิธี กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและธรรมชาติของวิชา โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีขั้นตอนดังนี้

ขั้น L1 การตั้งประเด็นคำถาม/สมมติฐาน (Learning to Question) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์

ขั้น L2 การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Learning to Search) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ตหรือจากการปฏิบัติทดลอง เป็นต้น

ขั้นL3 การสรุปองค์ความรู้ (Learning to Construct) เป็นการฝึกนำความรู้และสารสนเทศหรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้

ขั้น L4 การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Learning to Communicate) เป็นการฝึกให้ความรู้ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ

ขั้น L5 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to Serve) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม โดยจะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

จะเห็นได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องยึดความสมดุลจึงจะส่งผลให้การจัดการเรียนรู้สาหรับนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป้าหมายการเรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การปูพื้นฐาน ความรู้และทักษะสาหรับการมีชีวิตที่ดีในภายหน้า ลักษณะของการเรียนรู้จึงเป็นสมดุลระหว่างคุณลักษณะในตารางฝั่งซ้ายและขวา 15 ประการ ดังนี้

ขึ้นกับครู/ครูเป็นตัวตั้ง(Teacher-directed) เด็กเป็นหลัก(Leaner-centered)

สอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ความรู้ ทักษะ

เนื้อหา กระบวนการ

ทักษะพื้นฐาน ทักษะประยุกต์

ข้อความจริงและหลักการ คำถามและปัญหา

ทฤษฎี ปฏิบัติ

หลักสูตร โครงการ

ช่วงเวลา ความต้องการ

เหมือนกันทั้งห้อง (One-size-fits-all) เหมาะสมรายบุคคล (Personalized)

แข่งขัน ร่วมมือ

ห้องเรียน ชุมชนทั่วโลก

ขึ้นกับครู/ครูเป็นตัวตั้ง(Teacher-directed)

เด็กเป็นหลัก (Leaner-centered)

ตามตำรา ใช้เว็บ

สอบความรู้ ทดสอบการเรียนรู้

เรียนเพื่อโรงเรียน เรียนเพื่อชีวิต

จากตารางข้างต้นครูต้องใช้ทั้งแนวทางฝั่งขวาและฝั่งซ้ายอย่างสมดุล คือ ต้องยึดถือแนวทาง both-and (ไม่ใช่ either - or) ซึ่งเป็นแนวทางของระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว ยิ่งนับวันสมดุลนี้ จะให้น้าหนักซีกขวามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปสมองเด็กก็เปลี่ยนด้วย สาหรับพลังการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ งานที่เน้นความรู้ เครื่องมือดิจิตัล วิถีชีวิต ผลการวิจัยด้านการเรียนรู้ และความต้องการทักษะในการดำรงชีวิตสมัยใหม่ ได้แก่ การแก้ปัญหา ความสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม การสื่อสาร การร่วมมือความยืดหยุ่น และอื่น ๆ พลังเหล่านี้เรียกร้องให้การเรียนรู้ในโรงเรียนต้องให้น้าหนักซีกขวามากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นครูต้องเรียนรู้ทดลองวิธีปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา โดยครูกับครูจะต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมกันเป็นชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เพื่อที่ครูจะได้ไม่เดียวดาย มีเพื่อนร่วมทาง ร่วมอุดมการณ์ ร่วมเรียนรู้และบากบั่น

จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้แบบใฝ่รู้กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดและลักษณะของการจัดการเรียนรู้คล้ายกัน นั่นคือ ต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับ ที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนได้ เช่น การกำหนดปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ การทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง และการสอนที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ นั้น ครูต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอน (Instructor) ครูต้องมีลักษณะของผู้ที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) ซึ่งบทบาทของครูจากยุคสมัยก่อนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อก้าวสู่ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 เนื่องจากครูในโลกยุคใหม่ต้องมีความรอบรู้มากกว่าการเป็นผู้ดูแลรายวิชาที่สอนเท่านั้น แต่ครูมีบทบาทของการเพิ่มพูนความรู้แก่นักเรียน เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ รวมทั้งไอซีทีได้เข้ามามีบทบาททางการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ไอซีทีในปัจจุบันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งข้อมูลข่าวสารเท่านั้น ครูจึงต้องคิดว่าจะบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับไอซีทีได้อย่างไร ซึ่งคุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 หรือเรียกว่า e-Teacher จะประกอบด้วย 9 คุณลักษณะที่ครูพึงปฏิบัติ มีดังนี้

1. Experience คือ มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Internet ,e-Mail การใช้ CD

2. Extended คือ มีทักษะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพราะ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ไหนก็ได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี

3. Expanded คือ การขยายผลของความรู้นั้นสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไป และชุมชน สามารถถ่ายทอดความรู้ลง CD , VDO โทรทัศน์หรือบน Web เพื่อให้เกิดหารเพิ่มความรู้ที่เป็นประโยชน์ของบุคลากรโดยรวม

4. Exploration คือ สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัย เอกสารอ้างอิง ค้นคว้าทั้งสาระและบันเทิง เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอน

5. Evaluation คือ เป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล

6. End-User คือ เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ที่มีคุณค่าบนอินเทอร์เน็ตและเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย

7. Enabler คือ สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน สามารถใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาสร้างบทเรียน อย่างน้อยที่สุดก็สามารถสร้างการนำเสนอเนื้อหาด้วย Power Point เป็นการจูงใจให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้น หรือการใช้ Authoring tool ต่างๆ มาสร้างบทเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

8. Engagement คือ ครูที่ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนความเห็น หาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การคุยกันบน Web ทำให้มีความคิดใหม่ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบน Web

9. Efficient and Effective คือ ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้

การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่และมีคุณภาพ จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครูที่รักศิษย์ เอาใจใส่ศิษย์ แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก“ครูสอน”(Teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (Coach) หรือ “ผู้อานวยความสะดวกในการเรียนรู้” (Learning Facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการทำหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)

Active Learning คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาส

ลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน,

การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่

การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ

1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์

2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้าความรู้

(co-creators) (Fedler and Brent, 1996)

แอคทีฟเลินนิ่ง ( Active Learning) ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less, Learn More คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น ข้อตกลงเบื้องต้นของการออกแบบการสอนที่มีพื้นฐานจากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) (Bednar etal, 1991) มีข้อตกลงอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ ผู้วิจัยได้ศึกษาและสนใจการออกแบบการสอนในหัวข้อการเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ

(Active Learning)

ไชยยศเรืองสุวรรณ (มปป.) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดังนี้

1) เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาและการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

2) เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสใหผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

3) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

5) ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกันการมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

6) เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

7) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

8) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด

9) ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

10) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) หรือที่แปลเป็นไทยว่า ครูสอนน้อยลงให้เด็กเรียนรู้เองมากขึ้น เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปรที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และเกิดทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 (1-3) สรุปได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด และฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กล่าวว่า “การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน และหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค” จากที่กล่าวมาจักเห็นว่าการจัดการศึกษาระดับชาติได้มีแนวทางเด่นชัดที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนคิดได้ด้วยตนเอง เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้นำและใช้คำถามให้เกิดการอภิปรายระหว่างผู้เรียนเท่านั้น

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1. ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ไพรัตน์ คำปา (2541 : 34) ได้กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า หมายถึงความสามารถของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรู้ ทั้งด้านความรู้และทักษะ ที่เกิดขึ้นหลังจากการได้รับการฝึกอบรม หรือจากการเรียนรู้

สมพร ศิลาทอง (2541 : 20) ได้กล่าวถึง ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (academic achievement) หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และประสบการณ์เรียนรู้ ที่เกิดจากการอบรม หรือจากการสอบ การวัดผลสัมฤทธิ์จึงเป็นการตรวจสอบความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ (level of accomplishment) ของบุคคลว่าเรียนรู้เท่าไร ซึ่งสามารถวัดได้ 2 ด้านคือ วัดทางด้านปฏิบัติ และวัดทางด้านเนื้อหา

กาญจนา วัฒายุ (2545 : 177) กล่าวถึงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement test) หมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพทางสมองด้านต่างๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า

เยาวดี วิบูลย์ศรี (2549 : 16) ได้กล่าวว่า “แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์” คือแบบสอบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ด้านเนื้อหาวิชาและทักษะต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชา

สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง กระบวนการที่มีระบบในการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะความสามารถ ความสำเร็จ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน ฝึกอบรม ฝึกทักษะสมรรถภาพด้านต่างๆ และเป็นเครื่องมือที่ให้ครูสามารถวัดความรู้ ความสามารถจากการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ว่าได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สูงหรือต่ำเพียงใด เพื่อให้ครูสามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับนักเรียน โดยที่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้นจะมี 2 ประเภทคือ แบบทดสอบมาตรฐานและแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น

2. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจะอยู่ในเกณฑ์ดีได้ จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ความพร้อมของนักเรียน ครูผู้สอน สัมพันธภาพระหว่างครูและนักเรียน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น

อัมเรศเนตาสิทธิ์ (2545 : 19 – 20) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ได้ขึ้นกับองค์ประกอบทางสติปัญญาอย่างเดียว ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

1. ความวิตกกังวล เกิดความขัดแย้งระหว่างความต้องการทางสัญชาติญาณกับความต้องการทางสังคม ความวิตกกังวลมีหลายระดับ ถ้ามีเพียงเล็กน้อยก็จะช่วยให้มีแรงจูงใจ ถ้ามากเกินไปจะสกัดความสามารถทางด้านการเรียนรู้ เพราะความวิตกกังวลทำให้เหนื่อยล้า และขัดขวางต่อปฏิกิริยาทางร่างกาย

2. อัตมโนทัศน์ พัฒนามาจากการที่บุคคลปะทะสัมพันธ์กับกลุ่มคน ในสังคมที่ใกล้ชิดแล้วค่อยๆ พัฒนาเข้าเป็นความคิดเห็นของตนเองแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามประสบการณ์

3. สภาพของระบบโรงเรียน การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในโรงเรียน ความต้องการรวมกลุ่มการยอมรับ

4. นิสัยและทัศนคติทางการเรียน มีอิทธิพลโดยตรงกับสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา ยอมรับวัตถุประสงค์และคุณค่าทางการศึกษา ย่อมก่อให้เกิดแรงจูงใจอันที่จะมานะในการเรียน

5. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นองค์ประกอบที่ผลักดันให้บุคคลต้องการความสำเร็จสูงขึ้น เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ความสนใจ เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกชอบพอเป็นแรงผลักดันให้บุคคลกระทำกิจกรรมเพื่อความสำเร็จ

6. กระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้สอนโปรแกรมเรียนการสอน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน โดยเฉพาะตัวนักเรียนเองเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อผลการเรียน

7. องค์ประกอบเกี่ยวกับทางบ้าน มีความสัมพันธ์หรืออิทธิพลต่อชีวิตของเด็กตั้งแต่เล็กจนโต ความสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมมีอิทธิพลมาจากทางบ้านทั้งสิ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งสิ้น

จากองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของน

โพสต์โดย ครูเก๋ : [29 มี.ค. 2566 เวลา 08:31 น.]
อ่าน [1805] ไอพี : 49.49.192.12
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 48,632 ครั้ง
หลักสูตรการสอบภาค ก ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
หลักสูตรการสอบภาค ก ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558

เปิดอ่าน 11,511 ครั้ง
สารพัดคุณค่าจาก กล้วย
สารพัดคุณค่าจาก กล้วย

เปิดอ่าน 9,548 ครั้ง
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่

เปิดอ่าน 12,108 ครั้ง
บัญญัติ 10 ประการอำพรางหุ่น
บัญญัติ 10 ประการอำพรางหุ่น

เปิดอ่าน 12,188 ครั้ง
ถอดรหัส “วิทยาการคำนวณ” วิชาแห่งโลกอนาคตที่ครูวันนี้ก็ไม่เคยได้เรียน!
ถอดรหัส “วิทยาการคำนวณ” วิชาแห่งโลกอนาคตที่ครูวันนี้ก็ไม่เคยได้เรียน!

เปิดอ่าน 942 ครั้ง
ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต
ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต

เปิดอ่าน 35,820 ครั้ง
แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สพฐ.
แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สพฐ.

เปิดอ่าน 12,312 ครั้ง
กินแบบไทย ไล่มะเร็ง
กินแบบไทย ไล่มะเร็ง

เปิดอ่าน 11,984 ครั้ง
ออกกำลังกายเป็นประจำทำให้เงินเดือนสูงขึ้น
ออกกำลังกายเป็นประจำทำให้เงินเดือนสูงขึ้น

เปิดอ่าน 18,548 ครั้ง
เตรียมตัวให้พร้อม...ผลไม้ไทย ทานอย่างไรให้ดีต่อตัวเอง
เตรียมตัวให้พร้อม...ผลไม้ไทย ทานอย่างไรให้ดีต่อตัวเอง

เปิดอ่าน 935 ครั้ง
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน

เปิดอ่าน 14,068 ครั้ง
การซักแห้งดีกว่าการซักน้ำอย่างไร
การซักแห้งดีกว่าการซักน้ำอย่างไร

เปิดอ่าน 35,994 ครั้ง
คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?
คิดจะซื้อ "ทีวีจอแบน" ต้องรู้อะไรบ้าง ?

เปิดอ่าน 34,138 ครั้ง
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน

เปิดอ่าน 35,487 ครั้ง
1 กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
1 กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

เปิดอ่าน 68,767 ครั้ง
รายชื่อและที่อยู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต
รายชื่อและที่อยู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต
เปิดอ่าน 25,911 ครั้ง
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล
เปิดอ่าน 106,635 ครั้ง
รวมระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
รวมระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 14,806 ครั้ง
คืนผิวหน้าสวยด้วยฟักทอง
คืนผิวหน้าสวยด้วยฟักทอง
เปิดอ่าน 10,070 ครั้ง
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ