วิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์
สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4) เพื่อประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์
สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 4.1) เพื่อ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ก่อนเรียนและหลังเรียน 4.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนเงินพิทยาคาร อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t–test (Dependent Samples) และ การทดสอบ Wilcoxon Singned-rank test
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าสภาพปัจจุบัน มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน ด้านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อ และประกอบกับครูมีความต้องการในการพัฒนาเทคนิคหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม หรือฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ น้อยมาก นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายเป็นส่วนมาก คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง นักเรียนต้องการให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ได้ฝึกคิด ฝึกการทำงานกลุ่ม และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้
กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้สังเคราะห์มาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจาก
แนวคิดวิธีทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับทฤษฎีของการจัดการเรียนรู้ และหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student–Centered Instruction) มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE Model และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self–Directed Learning) และ มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (GAHSP Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 (Goal setting step) ขั้นการกำหนดเป้าหมายหรือประเด็นคำถามที่ต้องการศึกษา แสวงหาคำตอบ ขั้นที่ 2 (Acquissition of fact ) ขั้นนี้เป็นการค้นหาแหล่งที่มาของความจริงและความรู้ต่างๆ ขั้นที่ 3 Historical Criticism ขั้นนี้เป็นการนำหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่หามาได้มาค้นหาว่าอันไหนถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอันไหนตรงกับสิ่งที่เราต้องการการประเมินข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 4 (Synthesis) คือ การสังเคราะห์เพื่อนำเอาหลักฐานต่างๆ ที่ค้นหาได้มาวิจารณ์ และขั้นที่ 5 (Presentation) คือการนำเสนอเพื่อให้ได้หลักฐานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องจากการสังเคราะห์แล้วจึงนำมาเสนอในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์สากล และ มีการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ผลการพัฒนาและประเมินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล
โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล
โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย
4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 83.36/84.11ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .5481 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล โดยใช้กลยุทธ์ GAHSP Model สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือข้อ 13 กิจกรรมการเรียนรู้นี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ( = 4.47) ข้อ14 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน( = 4.45) และข้อ16 การจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ( = 4.44) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 5 การเรียนรู้นี้สามารถทำให้นักเรียนได้นำความรู้ สู่การปฏิบัติจริง ( = 3.92)