สมศักดิ์ ศรีวรรณะ. (2566). รายงานการประเมินโครงการงานดี สุขภาพดี อยู่ดีกินดี ตามวิถีชุมชน ด้วย CIOPP Model โรงเรียนบ้านน้ำเลาเหนือ(เหรียญราษฎร์อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการงานดี สุขภาพดี อยู่ดีกินดี ตามวิถีชุมชน โรงเรียนบ้านน้ำเลาเหนือ(เหรียญราษฎร์อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้รูปแบบการประเมินตามรูปแบบการประเมิน CIPP Model โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการใน 4 ด้าน คือ 1)ประเมินบริบท (Context) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 นโยบายโรงเรียน และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ 2)ประเมินปัจจัยนำเข้า(Input) เกี่ยวกับสภาพความพร้อมของบุคลากร อาคารสถานที่ ความพอเพียงของงบประมาณ และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ 3)ประเมินกระบวนการ(Process) เกี่ยวกับการดำเนินการจัดกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร การนิเทศติดตามประเมินผล 4)ประเมินผลผลิต(Product) เกี่ยวกับผลสำเร็จของโครงการในการจัดกิจกรรมของโครงการทั้ง 7 กิจกรรมและความพึงพอใจของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 29 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำน 29 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 21 คน รวมทั้งหมด 87เคน และกลุ่มเป้าหมายที่สัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9เคน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลบริบท ตัวชี้วัด ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการประเมินโครงการปรากฏผล ดังนี้
ผลการประเมินบริบท(Context) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโครงการ ส่วนผลการประเมินบริบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ
จากสัมภาษณ์ผลการประเมินด้านบริบทโครงการงานดี สุขภาพดี อยู่ดีกินดี ตามวิถีชุมชน โรงเรียนบ้านน้ำเลาเหนือ(เหรียญราษฎร์อนุสรณ์) ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นว่าโครงนี้มีความจำเป็น สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนตามเป้าหมายของโรงเรียน และยังสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนของแผนการศึกษาชาติที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ตลอดชีวิต ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้โรงเรียนดำเนินการโครงการ โดยมีความต้องการให้โรงเรียนจัดอบรม การประชุมชี้แจง การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือปราชญ์ชุมชนเข้ามาจัดกิจกรรมให้นักเรียน รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนนำเอาความรู้ ทักษะไปใช้ในการแข่งขัน โดยกิจกรรมที่อยากให้จัดได้แก่ การปลูกผักสวนครัว การสอนทำอาหาร การปรุงอาหารลดหวาน มัน เค็ม อาหารปลอดภัย และกิจกรรมกีฬา
ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า(Input) พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร ความพร้อมของสถานที่ งบประมาณและเพียงพอในการจัดกิจกรรม และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ ส่วนผลการประเมินปัจจัยนำเข้า(Input) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร อาคารความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ และความพร้อมของสถานที่ งบประมาณ และเพียงพอในการจัดกิจกรรม
ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process) พบว่า ผลการประเมินกระบวนการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การดำเนินการจัดกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร และการนิเทศติดตามประเมินผล และผลการประเมินกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การดำเนินการจัดกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร และการนิเทศติดตามประเมินผล
ผลการประเมินผลผลิต(Product) ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ พบว่า ความสำเร็จของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความสำเร็จของกิจกรรมอาหารปลอดภัยได้สารอาหารครบ 5 หมู่ นักเรียนมีโอกาสได้แสดงความสามารถ มีผลงาน สร้างชิ้นงาน สร้างอาชีพตามที่สนใจ นักเรียนได้วางแผนการทำงาน ลงมือปฏิบัติ ครูมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการเรียนรู้ เช่น เครือข่ายผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ครูมีทักษะการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ความสำเร็จของกิจกรรมวิทยากรให้ความรู้ปลูกผักสวนครัว เครือข่ายผักปลอดภัยในชุมชน และความสำเร็จของกิจกรรมแปรงฟันให้ถูกวิธี ดูดีดีในช่องปาก ผลการประเมินผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือครูเปิดโอกาสนักเรียนได้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง และกิจกรรมกลุ่ม นักเรียนได้ถ่ายทอดความรู้ของตนเองสู่เพื่อนและครอบครัว ครูมีทักษะการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นแหล่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ความสำเร็จของกิจกรรมหนูน้อยเลือกอาหารปลอดภัย โดยใช้ Food Choice และความสำเร็จของกิจกรรมนักเรียนแกนนำกลุ่ม V - I C E นักเรียนมีโอกาสได้แสดงความสามารถ มีผลงาน สร้างชิ้นงาน สร้างอาชีพตามที่สนใจ ส่วนผลการประเมินผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ นักเรียนมีโอกาสได้แสดงความสามารถ มีผลงานสร้างชิ้นงาน สร้างอาชีพตามที่สนใจ ครูได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น เครือข่ายผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต
ผลการประเมินผลผลิต(Product) ของโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดในรายการ การส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และ แหล่งเรียนรู้ต่างๆในการแสวงหาความรู้ การใช้แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สภาพแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน / ชุมชนมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อโครงการงานดี สุขภาพดี อยู่ดีกินดี ตามวิถีชุมชน พึงพอใจน้อยที่สุดในรายการการมีส่วนร่วมในการนิเทศ ติดตามประเมินผลโครงการ ผลการประเมินผลผลิต(Product) ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดในรายการ การส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และ แหล่งเรียนรู้ต่างๆในการแสวงหาความรู้ สภาพแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชนมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อโครงการงานดี สุขภาพดี อยู่ดีกินดี ตามวิถีชุมชน และพึงพอใจน้อยที่สุดในรายการ การใช้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินผลผลิต(Product) ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดในรายการ การมอบ เกียรติบัตร โล่ และรางวัลอื่นๆ ให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานดีเด่น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในรายการ นักเรียนได้มีส่วนร่วมวางแผนดำเนินงานโครงการ หรือเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการประเมินผลผลิต(Product) ตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดในรายการ การส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆในการแสวงหาความรู้ การมอบ เกียรติบัตร โล่ และรางวัลอื่นๆ ให้แก่นักเรียน ที่ปฏิบัติงานดีเด่น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในรายการ กเรียนได้มี ส่วนร่วมวางแผนดำเนินงานโครงการ หรือเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้