ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายธเนศพลสิษฐ์ ไชยสวาสดิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนนาแก้ววิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนและหลังเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.2) เพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ของการเขียนลายไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 35 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนาแก้ววิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentages) ค่าเฉลี่ย x ̅ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นศึกษาทำความเข้า (3) ขั้นสาธิตแลแนะนำ (4) ขั้นลงมือปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
(5) ขั้นการวัดและประเมินผล ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบ
ไปใช้ โดยพบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.15/84.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นฐานการเขียนไทย ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3.2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด 3.3) ผลของความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ
ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก