ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้
ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการสอนแบบ 5 STEP เพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้พัฒนา นางรวินันท์ บุญเฮ้า ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการสอนแบบ 5 STEP เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาและหาคุณภาพชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการสอนแบบ 5 STEP เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการในการพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แหล่งเรียนในชุมชน มีการวัดผลและประเมินผลให้ครอบคลุม พฤติกรรมและหลายรูปแบบ ซึ่งมีความต้องการในการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.44, S.D.=0.30)
2. ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) แรงในชีวิตประจำวัน 2) ตำแหน่งของวัตถุ ระยะทางและการกระจัด 3) ผลของแรงลัพธ์ 4) ความเร็วและความเร่ง 5) แรงเสียดทาน 6) แรงพยุง และ 7) โมเมนต์ของแรง ใช้การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการสอนแบบ 5 STEP ได้แก่ 1) ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล 2) ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ 3) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้ หลังการปฏิบัติ 4) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ 5) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 85.71/87.70
3. ผลการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ ด้วยการจัดการเรียนรู้ 5 STEP มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 7 กิจกรรม จำนวน 7 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 21 ชั่วโมง
4. ผลการประเมินชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ พบว่า 4.1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ สูงกว่าก่อนเรียน 4.2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดีมาก (x ̅=4.51, S.D.=0.53) 4.3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (x ̅=4.42, S.D.=0.66)