ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ
ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book)
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางวิชญะวรากร ไชยสวาสดิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนและหลังเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 35 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนขุนหาญ
วิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์
ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentages) ค่าเฉลี่ย x ̅ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.
สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐาน
ในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นสาธิตทักษะ (3) ขั้นเข้าและปฏิบัติตาม (4) ขั้นฝึกฝนเกิดความชำนาญ (5) ขั้นคิดริเริ่มและประยุกต์การแสดง 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ โดยพบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน
(Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.92/83.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3.2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด 3.3) ผลของความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก