บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ
กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
ผู้วิจัย นายสุรศักดิ์ ภาผล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
ปีการศึกษา 2563 - 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานระบบ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์3) เพื่อทดลองใช้
รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่
วิทยบัลลังก์4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการ
ลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ทรงคุณวุฒิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้
ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ
โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์จากการดำเนินงานตามลำดับการวิจัยที่ได้นำเสนอ ปรากฏผลการวิจัย
ดังนี้
1. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ
กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์โดยการสังเคราะห์เอกสาร และการจัดสนทนากลุ่ม
รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ
การบริหารการศึกษาที่มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนได้พัฒนา
เต็มตามศักยภาพ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ และมีทักษะในการดำรงชีวิต
องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดประสิทธิผล
2. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเอง และบุคลิก
ลักษณะที่ดี
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถทำงาน
ร่วมกับผู้อื่น
องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการและขั้นตอนงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ขั้นที่ 2 การคัดกรองนักเรียน
ข
ขั้นที่ 3 การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน
ขั้นที่ 4 การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
ขั้นที่ 5 การส่งต่อ
องค์ประกอบที่ 4 แนวทางในการประเมิน
1. ประเด็นการประเมิน
1.1 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
1.2 การประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารและครู
1.3 การประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อพฤติกรรมนักเรียน
1.4 การประเมินเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
2.1แบบสรุป ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ระดับดีขึ้นไป ของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
2.2แบบประเมินความพึงพอใจหลังใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
2.3 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อพฤติกรรมนักเรียนหลังใช้รูปแบบ
การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
2.4 แบบประเมินเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน ของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครูและบุคลากร
3. ได้งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ
กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
2.1 ผลการยกร่างรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ
กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ด้งนี้
1) องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ
2) องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการและขั้นตอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ขั้นที่ 2 การคัดกรองนักเรียน ขั้นที่ 3 การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน
ขั้นที่ 4 การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และขั้นที่ 5 การส่งต่อ
4) องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมิน
5) องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ
ค
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานระบบ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้ของรูปแบบการบริหารงานระบบ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ของผู้ทรงคุณวุฒิ
ในภาพรวม พบว่า มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมของคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการ
ลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ ในภาพรวม พบว่า ครูมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบ
อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ 3 อันดับแรก คือ องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการและ
ขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการ
ลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์มีดังนี้
4.1. ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากการปฏิบัติตามรูปแบบการ
บริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า รวมเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น
4.2. ผลการประเมินความพึงพอใจของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูหลังใช้รูปแบบ
การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์
ในภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า
ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ ซึ่ง 3 อันดับแรก พบว่า องค์ประกอบที่ 3
กระบวนการและขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์
ของรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ ตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อพฤติกรรมนักเรียนหลังใช้รูปแบบการบริหาร งานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการกระบวนการลูกเสือ โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ในภาพรวม พบว่า
อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในพฤติกรรม 3อันดับแรก ได้แก่ หนีเรียน รองลงมา ขาดเรียน
และออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่รับอนุญาต
4.4.ผลการประเมินเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยบูรณาการ
กระบวนการลูกเสือโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ของผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวม มีความเห็นว่า มีมาตรฐาน
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน 3 อันดับแรก ได้แก่ มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์
รองลงมา คือ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ และมาตรฐานด้านความเหมาะสม ตามลำดับ