ชื่อเรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยด้วยเกมการศึกษา ของชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนไชยศรี
ชื่อผู้วิจัย นายจักรพงษ์ บุตระรม
ปีที่ทำวิจัย 2565
ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการ อบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้ เต็มตามศักยภาพ วิทยาการคำนวณเป็นวิชาของการคิดอย่างมีเหตุผล การศึกษาอย่างสม่ำเสมอและใช้กระบวนการคิดที่ถูกต้องของ การเรียนวิทยาการคำนวณจะสร้างให้เด็กเกิดความสามารถพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ ทักษะพื้นฐานทางการบวนการคิด ต้องปลูกฝังตั้งแต่ปฐมวัยเนื่องจากวิทยาการคำนวณเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ของมนุษย์ ถ้าหากมองไปรอบๆตัวจะเห็นว่าชีวิตเกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณอย่างมาก สังเกตในการเล่นและการ พูดคุยของเด็กมักจะมีเรื่องการคิดวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดแก้ปัญหา
2.เพื่อพัฒนาการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล
ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา
การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าของจํานวนและด้านการจดจำตัวเลข 1- 20 ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยชุดฝึกตัวเลขมีเนื้อหาดังนี้
1) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่
2) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทาน
ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี จํานวน 15 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จํานวน 7 คน
ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยเกมการศึกษา
ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษา
ดําเนินการศึกษา 3 ธันวาคม 2565 - 11 มกราคม 2566
สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาการคำนวณ ด้วยเกมการศึกษา ได้แม่นยำมากขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จํานวน 7 คน ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี ปีการศึกษา 2564 มีทักษะทาง วิทยาการคำนวณ ในการคิดวิเคราะห์ และสามารถแก้ไขปัญหา ได้แม่นยํามากขึ้น
2.ผลของการวิจัยสามารถนําไปเป็นข้อมูลและแนวทางแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องต่อไปได้
กรอบแนวคิด
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การใช้ฝึกชุดฝึกเกมการศึกษา ของนักเรียน ชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี จํานวน 7 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
1) นําแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561
2) นําเกมการศึกษาไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นปฐมวัยชั้นปีที่ 3 เพื่อประเมินทักษะทางกระบวนการคิด
3) นำเพลงและคำคล้องจองเกี่ยวกับเลขาคณิต มาสอนให้เด็กทุกคนในชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ร้องเพลงและท่องคำคล้องจอง
4) ฝึกการสังเกตและการคิด โดยใช้ชุดฝึกการเรียงลำดับเหตุการณ์และชุดฝึกอื่นๆสลับกันทุกวัน เพื่อให้เด็กจำ ไปพร้อมกัน
5) ให้เด็กจับคู่กันเล่นชุดฝึกชุดต่างๆโดยหมุนเวียนกันเล่นทุกวันพร้อมกับตรวจสอบความถูกต้อง
6) ทดสอบเด็กโดยการถาม-ตอบ
7) บันทึกผลที่ได้ในแต่ละครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่
2) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทาน
ขั้นตอนการสร้างชุดฝึกตัวเลข
ได้ดําเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและวิธีสร้างแบบชุดการลำดับภาพ เช่นเกมจับคู่ตัวเลขกับตัวเลข และเกมจับคู่ เกมการเรียงลำดับ จากเอกสาร ตํารา และงานวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเนื้อหา และสร้างแบบทดสอบเพื่อ พัฒนาทักษะการคิด
2) ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ทักษะคณิตศาสตร์ระดับชั้นปฐมวัย ศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560 เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาของ บทเรียนและกำหนด พฤติกรรมที่ต้องการรวมถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3) เลือกเนื้อหาที่นำมาใช้ในครั้งนี้ คือพัฒนาการด้านสติปัญญา เพื่อนำมาใช้ทดสอบผลใน การจัดกลุ่มและจัด กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
4) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการเข้ากับหน่วยการเรียน ตามความ เหมาะสม
5) จัดทําชุดฝึกการลำดับเหตุการณ์ ประกอบด้วย ชุดฝึกลำดับภาพเลขาคณิต การลำดับภาพเหตุการณ์
การวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ ของนักเรียน ชั้นปฐมวัย 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี
มีการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1) วิเคราะห์ผลการประเมิน โดยการหาค่าความถี่ เกณฑ์การประเมิน ปฏิบัติได้ 4-5 ครั้ง ดีมาก
ปฏิบัติได้ 3 ครั้ง ดี
ปฏิบัติได้ 2 ครั้ง พอใช้ ปฏิบัติได้ น้อยกว่า 2 ครั้ง ปรับปรุง
สําหรับเกณฑ์การตัดสินที่ผ่านการประเมินการพัฒนาส่งเสริมทักษะทางกระบวนการณ์คิดการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ จะต้องได้ระดับคุณภาพในระดับดีขึ้นไป
2) นําผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปและอธิบายผล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเรื่องการใช้ชุดฝึกตัวเลขเพื่อส่งเสริมทักษะทางกระบวนการณ์คิดการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ ของนักเรียนชั้นปฐมวัย 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี จำนวน 7 คน มีรายละเอียดดังนี้
ตาราง ที่ 1 แสดงรายละเอียดการประเมินทักษะด้านการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่
เลขที่ ครั้งที่ประเมิน รวม การแปลผล
1 2 3 4 5
1 0 0 1 1 1 3 ดี
2 0 0 0 1 1 2 พอใช้
3 0 0 1 1 1 3 ดี
4 0 0 1 1 1 3 ดี
5 0 0 0 1 1 2 พอใช้
6 0 0 0 0 1 1 ปรับปรุง
7 0 1 1 1 1 4 ดีมาก
จากตารางที่ 1พบว่าเด็กปฐมวัยที่ผ่านการประเมินทักษะด้านการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ในระดับ ดีมาก จำนวน 1 คน อยู่ในระดับ ดี 3 คน อยู่ในระดับพอใช้ 2 คน และอยู่ในระดับต้องปรับปรุง 1 คน สรุปได้ว่านักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินในประเมินทักษะด้านการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ ตามที่กําหนดไว้จํานวน 4 คน
ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดการประเมินทักษะชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทาน
เลขที่ ครั้งที่ประเมิน รวม การแปลผล
1 2 3 4 5
1 0 0 1 1 1 3 ดี
2 0 0 1 1 1 3 ดี
3 0 1 1 1 1 4 ดีมาก
4 0 0 1 1 1 3 ดี
5 0 0 0 1 1 2 พอใช้
6 0 0 0 1 1 2 พอใช้
7 0 1 1 1 1 4 ดีมาก
จากตารางที่ 2 พบว่าเด็กปฐมวัยที่ผ่านการประเมินทักษะชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทาน ระดับ ดีมาก จำนวน 2 คน อยู่ในระดับ ดี 3 คน อยู่ในระดับพอใช้ 2 คน
สรุปได้ว่านักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินในการพัฒนาทักษะชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทานตามที่กําหนดไว้จํานวน 5 คน
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การใช้ชุดฝึกเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาการคำนวณ การคิดแก้ปัญหาด้วยชุดเกมการศึกษา ของเด็กชั้น ปฐมวัยชั้นปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของเด็กชั้นปฐมวัย ปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านโนนไชยศรี ที่เรียนด้วยชุดฝึกเกมการศึกษา ได้กำหนด การศึกษาคือประเมินจากการใช้ชุดฝึกเกมการศึกษาดังนี้
1) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่
2) ชุดฝึกการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทาน
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยชุดเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 มี รายละเอียด ดังนี้
1.นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินในการประเมินทักษะด้านวิทยาการคำนวณ โดยใช้ชุด การเรียงลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็กไปใหญ่ใน ตามที่กําหนดไว้จํานวน 4 คน
2.นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินในการประเมินทักษะด้านวิทยาการคำนวณ โดยใช้ชุด เรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากการฟังนิทานตามที่ กําหนดไว้จํานวน 5 คน
ทักษะทางกระบวนการคิด ระดับการประเมิน
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
การเรียงลำดับเลขาคณิคเล็ก-ใหญ่ 1 3 2 1
การเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทาน 2 3 2 0
ตารางที่ 3 สรุปผลการวิจัย
อภิปรายผล
ผลจากการพัฒนาทักษะทางวิทยาการคำนวณในการลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็ก-ใหญ่ และด้านการการเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานของเด็กชั้น ปฐมวัยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนไชยศรี สามารถนํามาอภิปรายผลดังนี้
1.ผลการพัฒนาทางคณิตศาสตร์ในการลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็ก-ใหญ่ พบว่านักเรียนที่ผ่านเกณฑ์
การตัดสินในการพัฒนาทักษะทางวิทยาการคำนวณในการลำดับภาพเลขาคณิตจากเล็ก-ใหญ่ ตามที่กําหนดไว้จํานวน 4 คนและนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินในการเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานตามที่กำหนดไว้ 5 คนทั้งนี้อาจ เนื่องจาก เด็กเกิดการเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนผ่านการปฏิบัติจริงด้วยตนเองซึ่งสอดคล้องกับหลักการ เรียนรู้ของ ดิวอี้ (Dewey, 1994:34-35 อ้างใน ธีรนาฏ เบ้าคํา,2553:115) ที่กล่าวว่า นักเรียนจะเกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อ เมื่อนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทําให้เกิดการเรียนรู้และมี ความเข้าใจมากขึ้นทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเด็ก ได้ เล่นได้เรียนรู้จากของเล่นที่เคยเล่นเคยสัมผัสคุ้นเคยและรู้จัก สอดคล้องกับกุลยาตันติผลาชีวะ (2551:43) กล่าวว่าการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัวเด็กจึงจะ เข้าใจได้
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ควรมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเสมอ
2. ในการนําไปใช้ควรมีชุดตัวเลขไปทดลองก่อนใช้
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ควรเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เด็ก เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
2.ควรศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในการบอกค่าและจดจำตัวเลขที่เหมาะสม เฉพาะรายบุคคล
3.ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อแก้ปัญหาของ เด็กแต่ละ บุคคล