ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ
ของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางเยาวดี ศิลปอนันต์
สถานศึกษา โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนโนนคร้อวิทยา อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากห้องเรียนที่ผู้ศึกษารับผิดชอบสอนในรายวิชา ง32102 การงานอาชีพ ดำเนินการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้ระยะเวลาในการศึกษาจำนวน 7 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน รวม 7 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 89.93/87.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.61, S.D. = 0.54)