1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป โดยความแตกต่างระหว่างบุคคล
เกิดขึ้น ได้ 2 ลักษณะ คือ เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด และเกิดขึ้นทีหลังซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม ซึ่งทำให้นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และด้านร่างกาย ดังนั้น ครูควรที่จะ ใช้วิธีการสอนภาษาที่มีความหลากหลาย ด้วยการคิดค้นเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจ และ เห็นถึงความสำคัญของการอ่านออกเขียนได้ที่สอดคล้องกับแบบการเรียนหรือศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน โดย ครูจะต้องไม่ทอดทิ้งนักเรียนที่อ่อนด้อย สอบตก หรือทำคะแนนไม่ผ่านไว้เบื้องหลัง ครูในระดับประถมศึกษา ตอนต้น (ป.1-ป.3) ที่จัดการเรียนรู้ภาษาไทย จะต้องเน้นการสอนอ่านให้เกิดทักษะการอ่านพื้นฐาน แล้วลดการ สอนตามหนังสือแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดูเป็นวิชาการขาดความน่าสนใจ ไม่สอดคล้องกับความ สนใจของเด็กในวัยนั้น แล้วหันมาจัดหาหนังสืออื่น ๆ ที่น่าอ่าน และสามารถนำมาให้นักเรียนฝึกอ่านเสริมมากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ ครูส่วนใหญ่ ยังคงไม่เข้าใจหลักการสอนอ่านและเขียน รวมถึงหลักการเรื่อง
การสอนประสมเสียง และการเรียนการสอนการอ่านตามศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งต้องหาโอกาสที่จะเพิ่มพูน ศักยภาพในการสอนการอ่านและการเขียนให้มากขึ้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ถูกต้อง และอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองหิน จึงได้พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหา การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ 3 จ ส ท เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1จุดประสงค์
2.1.1 เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
2.1.2 เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้มีนิสัยในการอ่านและการเขียนที่ยั่งยืน
2.1.3 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.2.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านคลองหิน ร้อยละ 100 อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง อ่านคล่อง เขียนคล่อง ตามมาตรฐานการเรียนรู้
2.2.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านคลองหิน ร้อยละ 100 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้น
2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
2.2.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านคลองหินมีนิสัยในการอ่านและการเขียนที่ยั่งยืน