ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อผู้วิจัย ชาญชัย ไกรลาส แก้วศิริ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายใน แบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวนทั้งหมดจำนวน 32 คน ปีการศึกษา 2564 โดยแยกเป็น ผู้บริหารและครูผู้นิเทศจำนวน 8 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัญหา (2) รูปแบบการนิเทศภายใน (3) แบบประเมินสภาพ การดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายใน (4) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการนิเทศภายในของครู ผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ (5) แบบประเมินความสามารถในการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศ (6) แบบประเมินสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของของครูผู้รับการนิเทศ (7) แบบประเมินสมรรถนะ การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ (8) แบบประเมินสมรรถนะ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูผู้รับการนิเทศ (9) แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (10) แบบประเมินความพึงพอใจ (11) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ (12) ประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานนิเทศภายในของครูโรงเรียนโนนคร้อวิทยา ที่ผ่านมาพบปัญหาคล้ายคลึงกับที่ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ สภาพปัจจุบันมีการนิเทศภายในอยู่เป็นระยะ โดยส่วนใหญ่เป็นการนิเทศแบบภาพรวมกับการนิเทศในเรื่องอื่น ๆ ทำให้ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขาดความรู้ ความเข้าใจในการนิเทศงาน ส่งผลให้การนิเทศภายในขาดประสิทธิภาพ ขาดกระบวนการที่เป็นระบบ และได้สอบถามสภาพปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศภายใน โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศภายใน การวัดและประเมินผล และปัจจัยสนับสนุน ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสมเชิงจริยธรรม และด้านความถูกต้องแม่นยำ โดยผลการประเมินทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า (1) สภาพการดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในหลังการนิเทศสูงกว่าการนิเทศ (3) ความสามารถในการนิเทศภายในของครู ผู้นิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของของครูผู้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (5) สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายใน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (6) สมรรถนะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูผู้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (7) คุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนโนนคร้อวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของ แต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางาน และองค์ความรู้ ส่วนองค์ประกอบเชิงปัจจัยสนับสนุน เป็นอีกองค์ประกอบที่มีความจำเป็น ซึ่งครูจะต้องทำด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู