บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล และ 3) เพื่อนำเสนอจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล จำนวน 12 โรงเรียน โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ 1) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยภาพรวมอยู่ในกลุ่มคุณภาพกลุ่มดีขึ้นไป 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 - 2564 ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล มีการพัฒนาสูงขึ้น 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินในระดับดีขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 80 4) โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล มีรางวัลหรือผลงานผู้เรียน ครู โรงเรียน หรือชุมชน ที่ตอบสนองต่อจุดเน้น นโยบาย หรือมีผลงานที่โดดเด่น และ 5) จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้กระบวนการ 6ร ประกอบด้วย ร1 คือ ร่วมคิด ตัดสินใจ ร2 คือ ร่วมดำเนินการ ร3 คือ ร่วมนิเทศ กำกับ ติดตาม ร4 คือ ร่วมรับผลประโยชน์ ร5 คือ ร่วมประเมินผล และ ร6 คือ ร่วมส่งเสริม พัฒนา เป็นกระบวนการที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ประยุกต์ในการทำงาน ร่วมกับกระบวนการบริหารอย่างมีคุณภาพตามวงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นไปตามตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยหลัก “เข้าใจ เขาถึง พัฒนา”
ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล พบว่า
1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ประกอบด้วย ร1 คือ ร่วมคิด ตัดสินใจ ร2 คือ ร่วมดำเนินการ ร3 คือ ร่วมนิเทศ กำกับ ติดตาม ร4 คือ ร่วมรับผลประโยชน์ ร5 คือ ร่วมประเมินผล และ ร6 คือ ร่วมส่งเสริม พัฒนา
2) ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล มีผลต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สหวิทยาเขตอันดามัน) กับคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีผลต่าง + 0.43 คิดเป็นร้อยละ 1.27 ปีการศึกษา 2564 มีผลต่าง + 0.2 คิดเป็นร้อยละ 0.63 อยู่ในกลุ่มคุณภาพ “ปานกลาง” ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับประเทศ ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 มีผลต่าง + 0.54 คิดเป็นร้อยละ 1.50 ปีการศึกษา 2564 มีผลต่าง - 0.3 คิดเป็นร้อยละ - 0.87 อยู่ในกลุ่มคุณภาพ “ปานกลาง” ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับประเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 - 2564 ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล (จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้) พบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2563 (3.02) และปีการศึกษา 2564 (3.18) เฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าพัฒนาอยู่ที่ 0.16 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีค่าพัฒนาสูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนา 0.35 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าพัฒนา 0.27 และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนปีการศึกษา 2563 - 2564 ของผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยภาพรวม ผู้เรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไปในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 98.35 ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 98.46 เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 - 2564 พบว่า มีค่าพัฒนาอยู่ที่ 0.11 และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูลมีรางวัลหรือผลงานผู้เรียน ครู โรงเรียน หรือชุมชนที่ตอบสนองต่อจุดเน้น นโยบาย และมีผลงานที่โดดเด่น จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ 6ร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล (สหวิทยาเขตอันดามัน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน รวมทั้งชุมชนมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูลเป็นอย่างมาก
3) จุดเด่นมีการจัดทำแผนและใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารและจัดการศึกษาอย่าง เป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย มีความสอดคล้องกับภารกิจบริบทขององค์กร และนโยบาย ทุกระดับ โดยมีกระบวนการขั้นตอนแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน ได้แก่ 1) มีการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ วินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานในการพัฒนา การจัดการศึกษาของสหวิทยาเขตชัดเจน สนับสนุน กำกับ เร่งรัด ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ และรายงานผลการดำเนินงานเผยแพร่สู่สาธารณชน 2) จัดครูและบุคลากรทางการศึกษาเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัด บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักธรรมาภิบาล 3) สนับสนุนงบประมาณวัสดุอุปกรณ์การบริหารสหวิทยาเขตอย่างเพียงพอ 4) การกำหนดโครงการการบริหารงานชัดเจน กำหนดภาระงานมอบหมายงานตามความถนัดบริหารงานด้วยระบบคุณภาพ และวงจรคุณภาพ PDCA มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโดยรับงบประมาณสนับสนุนจากต้นสังกัด 5) คณะกรรมการบริหารสหวิทยาเขตร่วมกันวางแผนกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหวิทยาเขตโดยการมีส่วนร่วมของทุกโรงเรียน จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสหวิทยาเขตร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และปฏิทินปฏิบัติงานประจำปีของสหวิทยาเขตทุกโรงเรียนใน สหวิทยาเขตดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีคณะกรรมการบริหารสหวิทยาเขต นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานของโรงเรียนในสหวิทยาเขต ทุกโรงเรียนรายงานผลการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ ร่วมกันสรุปประเด็นปัญหาและความสำเร็จเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในปีต่อไป นอกจากนี้เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่สหวิทยาเขตเพื่อใช้เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ของแต่ละโรงเรียนส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 6) ผู้บริหารมีกลยุทธ์ในการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนในการยกคุณภาพการศึกษาสู่โรงเรียนชั้นนำระดับประเทศ ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพทางด้านการเรียนการสอนและมีอัตราเพียงพอ พร้อมทั้งสอนตรงตามวิชาเอก และมีความตระหนักในเรื่องนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อันเป็นเป้าหมายหลักในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขต และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศในการสนับสนุนและร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 7) โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนจากเครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมผู้ปกครองและครู ฯ สมาคมศิษย์เก่า ฯ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมตามแผนงาน / โครงการ ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ มีระบบการเบิกจ่ายงบประมาณที่คล่องตัว เนื่องจากมีระบบการบริหารในรูปแบบนิติบุคคล โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ ตลอดจนโรงเรียนขนาดใหญ่ให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้การจัดกิจกรรมตามโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพที่อาศัยการมี ส่วนร่วมจากภาคีทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบ และใช้ระบบการบริหารจัดการในรูปแบบของโรงเรียนคู่พัฒนา มีการบริหารจัดการในรูปแบบกลุ่มโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วม มีการนิเทศ ติดตามแบบกัลยาณมิตรโดยทีมบริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล และโรงเรียนในสหวิทยาเขต และ 8) โรงเรียนมีความพร้อมด้านสถานที่ ห้องปฏิบัติการ ห้องเรียนคุณภาพ มุมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ห้องเรียนมีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยในการสนับสนุน การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้มีข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาควรให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานตามบริบทของตนเอง ทั้งนี้เพื่อสร้างความรับผิดชอบและสำนึกการเป็นเจ้าของ ความเต็มใจในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงาน ในขณะที่หน่วยงานต้นสังกัดและสหวิทยาเขตมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดอย่างเป็นกัลยาณมิตร ตลอดจนความเป็นเจ้าของร่วม ส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจอย่างต่อเนื่อง
2. การวางแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต้นสังกัดระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำเป็นต้องวางแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณสำหรับการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. กระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ ควรต้องคำนึกถึงสภาพธรรมชาติเชิงพื้นที่ ทั้งบริบท และอัตลักษณ์ของชุมชน ท้องถิ่น เพื่อนำมาประยุกต์ในกระบวนหรือวิธีการทำงานที่สอดคล้องกับหลักการศาสตร์และศิลป์สำหรับการปฏิบัติงานและแนวพระราชทานของการพัฒนา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”