ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน
อย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม
ผู้วิจัย : นางจันทร์ฉาย นาพลเทพ
หน่วยงาน : โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีมีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และการประเมินผู้เรียน ระยะที่ 2 เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม ระยะที่ 3 เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 7) แบบประเมิน ความพึงพอใจของชุมชน 8) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าความแตกต่างระหว่าง ค่าฐานนิยมกับค่ามัธยฐาน สถิติ Dependent Samples t-test และ Independent Samples t-test
การวิจัยปรากฏผล ดังนี้
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ และกระบวนการจัดการ เรียนรู้ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจ ( Motivation : M ) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา ( Explore : E ) 3) ขั้นประเมินผล ( ASSESSMENT: A ) 4) ขั้นพัฒนา ( DEVELOPMENT : D ) 5) ขั้นบูรณาการสู่ความพอเพียง ( SUFFICIENCY ECONOMY : S )รูปแบบการประเมิน ประกอบด้วย 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) การกำหนดเกณฑ์การให้ คะแนน 3) ภาระงาน 4) เครื่องมือและวิธีการในการประเมิน 5) ผู้ประเมิน 6) กระบวนการ ประเมิน ซึ่งมีกระบวนการประเมิน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ก าหนดผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome : O) ขั้นที่ 2 หลักการในการประเมิน (Principles of Assessments : P) ขั้นที่ 3 การประเมินความก้าวหน้า-การสะท้อนผล (Formative AssessmentsReflection : FAR) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning : A) ขั้นที่ 5 ประเมิน ความพึงพอใจ (Assessment: A) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ ประกอบด้วย 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรมในการ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เจตคติต่อชุมชน 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญาในการคิด แก้ปัญหา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะวิเคราะห์
2. ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม ดังนี้ 2.1 กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และการประเมินผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และการประเมินผู้เรียน แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มทดลอง โดยการ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาภายหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) คุณธรรมจริยธรรมในการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อยู่ในระดับพอใช้ การมีเจตคติต่อชุมชน อยู่ในระดับมาก 2) ความรู้ อยู่ในระดับดี 3) การคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับ พอใช้ 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับดี 5) ทักษะวิเคราะห์ อยู่ในระดับดี 2.4 ความพึงพอใจของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม ภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านคุณลักษณะ ที่มีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม ผู้ประเมินคือผู้ทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า มาตรฐานความเป็นไปได้และมาตรฐานความถูกต้อง มีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก มาตรฐานการใช้ประโยชน์และมาตรฐานความเหมาะสมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว (MEADS Model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม สามารถนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และประเมินผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้