การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวัดบัวสุวรรณประดิษฐ์
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้
จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนในเอกสารประกอบการเรียนแต่ละเล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบค่าทีกรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ( t-test for Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.91 / 83.94
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง
การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก