บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การอ่านโน้ตไทยประกอบการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทย
ผู้วิจัย นายธเนศ น้อยดี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
ปีการศึกษา 2564
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในเรื่องการของการอ่านโน้ตไทยประกอบการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทย
2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในเรื่องการอ่านโน้ตเพลงไทย
3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในเรื่องทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย
ความสำคัญของการศึกษาวิจัยการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทย
1. ผู้เรียนมีทักษะในการของการอ่านโน้ตไทยประกอบการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทย
2. ผู้เรียนสามารถนำทักษะในเรียนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและนักเรียนหรือผู้สนใจเห็นความสำคัญของการฝึกปฏิบัติโดยใช้แบบฝึก
สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนจะมีทักษะการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทยโดยใช้วิธีการสอนแบบใช้แบบฝึก
ขอบเขตของการวิจัย การบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทย
กลุ่มประชากรที่ทดลอง นักเรียน ระดับชั้นม.3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จำนวน 30 คน
นิยามศัพท์เฉพาะ วิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติเป็นการปฏิบัติในลักษณะการปฏิบัติจริงและปฏิบัติบ่อย ๆ
เพื่อให้เกิดความ ชำนาญ
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น การบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทย
ตัวแปรตาม การพัฒนาการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทย
ค่าสถิติ t-test (dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. การอ่านโน้ตไทยมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะการบรรเลงดนตรีไทยเพิ่มขึ้น
2. กลุ่มประชากรที่วิจัย มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนที่สูงขึ้นจากก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ
3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ผู้วิจัย
(นายธเนศ น้อยดี)
ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยที่เรียนวิชา ศ 23101 ศิลปะ 5 สาระดนตรีไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการดนตรีไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย คือ ชุดการสอน เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย
ขั้นตอนในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองกลุ่มเดี่ยว ซึ่งดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีขั้นตอน ดังนี้
1. ดำเนินการปฐมนิเทศ นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงบทบาทของผู้เรียน บทบาทผู้สอน และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีประเมินผลการเรียนรู้
2. ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทย
3. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยการใช้ชุดการ
สอน เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการอ่านโน้ตดนตรีไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิธีการอ่านโน้ตดนตรีไทย โดยใช้หลักความเหมือน คือ การเลียนแบบ และการทำช้ำมาเป็น แนวทาง วิธีการ คือ ให้นักเรียนเลียนแบบวิธีการอ่านโน้ตดนตรีไทยจากครู และทำซ้ำโดยการฝึกอ่านโน้ตดนตรีไทยจากแบบฝึกหัดอ่านโน้ตดนตรีไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียงร้อยถ้อยท านอง โดยใช้หลักความแตกต่างมาเป็นแนวทาง วิธีการ คือ ให้นักเรียนช่วยกันแต่งทำนองคนละ 2 ห้องเพลง แล้วนำทำนองมาต่อกันให้ครบ จากนั้นให้ทุกคนช่วยกันอ่านและปรบมือทำนองที่ทุกคนช่วยกันเรียงร้อยขึ้นมา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 นักประพันธ์ โดยใช้หลักความเป็นฉันมาเป็น
แนวทาง วิธีการ คือ ให้นักเรียนประพันธ์หรือคิดทำนองขึ้นมาเอง ทั้งหมด 4 บรรทัด จากนั้นมาสอบอ่านและปรบมือตามโน้ตที่ตัวเองได้ประพันธ์ขึ้น
4. ดำเนินการทดสอบหลังเรียน หลังสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย
5. นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไทย มาวิเคราะห์ผล สรุปผล และอภิปรายผล
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากผลการทดสอบทักษะการบรรเลงทำนองหลักเพลงไทยประกอบการอ่านโน้ตไทยโดยใช้แบบฝึกก่อนและหลังเรียน จำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยจำนวน 30 คนเป็นดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอตาม ลำดับดังนี้
ตารางที่ 4.1 ตารางวิเคราะห์ข้อมูลก่อนเรียน เทียบกับเกณฑ์ผลลัพธ์ทีคาดหวัง รายวิชาศิลปะ 5
คนที่ คะแนนก่อนเรียน
(20 คะแนน) ค่าร้อยละ (100) เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 60
1 12 60 ผ่าน
2 11 55 ไม่ผ่าน
3 13 65 ผ่าน
4 14 70 ผ่าน
5 12 60 ผ่าน
6 13 65 ผ่าน
7 14 70 ผ่าน
8 11 55 ไม่ผ่าน
9 10 50 ไม่ผ่าน
10 12 60 ผ่าน
11 13 65 ผ่าน
12 11 55 ไม่ผ่าน
13 12 60 ผ่าน
14 10 50 ไม่ผ่าน
15 13 65 ผ่าน
16 9 45 ไม่ผ่าน
17 10 50 ไม่ผ่าน
18 11 55 ไม่ผ่าน
19 12 65 ผ่าน
20 14 70 ผ่าน
คนที่ คะแนนก่อนเรียน
(20 คะแนน) ค่าร้อยละ (100) เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 60
21 12 60 ผ่าน
22 10 50 ไม่ผ่าน
23 11 55 ไม่ผ่าน
24 10 50 ไม่ผ่าน
25 13 65 ผ่าน
26 12 60 ผ่าน
27 14 70 ผ่าน
28 13 65 ผ่าน
29 12 60 ผ่าน
30 10 50 ไม่ผ่าน
รวม 354 = ร้อยละ 178 ร้อยละ 53.4 0 ไม่ผ่าน
จากตาราง ที่ 4.1 พบว่า คะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนเรื่องการอ่านโน้ตไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จำนวน 30 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ผลลัพธ์ทีคาดหวัง รายวิชาศิลปะ 5 ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 53.40 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ของกลุ่มสาระศิลปะ ที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละ 60
ตารางที่ 4.2 ตารางเปรียบเทีบบผลการเรียน ก่อนและหลังเรียน รายวิชา ศิลปะ 5
คนที่ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน เกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดกลุ่มสาระศิลปะ ร้อละ 60
1 12 17 85
2 11 18 90
3 13 18 90
4 14 17 85
5 12 19 95
6 13 20 100
7 14 17 85
8 11 18 90
9 10 19 95
10 12 17 85
11 13 18 90
12 11 19 95
13 12 17 85
14 10 19 95
15 13 17 85
16 9 18 90
17 10 18 90
18 11 20 100
19 12 20 100
20 14 17 85
21 12 20 100
22 10 18 90
23 11 17 85
24 10 19 95
25 13 20 100
26 12 18 90
27 14 17 85
28 13 19 95
29 12 17 85
30 10 20 100
รวมเฉลี่ย ร้อยละ 53.40 ร้อยละ 82.21 ร้อยละ 82.56
จากตาราง 4.2 พบว่า คะแนนก่อนเรียน มีค่าร้อยละเท่ากับ 53.40 คะแนนหลังเรียนมีค่าร้อยละเท่ากับ 82.21 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน ร้อยละ 28.81 และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ข้อตกลงของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะที่ ร้อยละ 82.56 ซึ่งแปรผลได่ว่านัดเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดข้อตกลงของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ตารางที่ 4.3 ตารางแสดงความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนเรื่องการอ่านโน้ตเพลงไทย
ข้อที่ รายการแสดงความพึงพอใจ x ̅
ความพึงพอใจ S.D.
ความพึงพอใจ ระดับ
ความพึงพอใจ
1 ความพึงพอใจในเนื้อหารายวิชาที่เรียน 4.63 0.49 มากที่สุด
2 บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ 4.57 0.50 มากที่สุด
3 สื่อในการจัดการเรียนรู้ 4.50 1.10 มากที่สุด
4 แบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตไทย 4.40 0.81 มากที่สุด
5 ความเข้าใจในเรื่องของโน้ตเพลงไทย 4.53 0.73 มากที่สุด
6 ความเข้าใจในเรื่องของจังหวะเพลงไทย 5.00 0.00 มากที่สุด
7 นักเรียนมีทักษะการเขียนโน้ตเพลงไทย 4.47 0.51 มากที่สุด
8 นักเรียนสามารถอ่านโน้ตเพลงไทย 4.50 0.63 มากที่สุด
9 นักเรียนมีความสนุกกับการเรียน 4.53 0.51 มากที่สุด
10 นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ 4.43 0.50 มากที่สุด
รวมเฉลี่ย 4.56 0.58 มากที่สุด
จากตาราง ที่ 4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จำนวน 30 คน ในการเรียนเรื่องการอ่านโน้ตไทยประกอบการบรรเลงดนตรีไทย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ( x ̅ = 4.56) (S.D. = 0.58 ) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนเรื่องการอ่านโน้ตไทยประกอบการบรรเลงดนตรีไทยอยู่ในระดับมากที่สุด