ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการสอนออนไลน์ด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับด้าน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เรื่อง เศรษฐศาสตร์หรรษา
ผู้วิจัย สุภาพร หร่ายสกุล
ตำแหน่ง ครู คศ.๑
สถานศึกษา โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง อำเภอคลองหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑
ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์หรรษา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้านกลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5/4 โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 26 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับทาง 2๐ ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง เศรษศาสตร์หรรษา และแบบวัดความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งดำเนินการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้(One-group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0๕ และนักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางในระดับมาก
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปและนำเสนอตามลำดับดังนี้
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้านนักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ ๗ คะแนน คะแนนต่ำสุด ๐ คะแนน คะแนนเฉลี่ย ๔.๐๗ คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๑.๕๙๘ และหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้านนักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ ๑๔ คะแนน คะแนนต่ำสุด ๕ คะแนน คะแนนเฉลี่ย ๙.๑๙ คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๒.๒๙๘ แสดงให้เห็นว่า หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้านนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
๒. คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ ๔.๐๘ และหลังเรียนเท่ากับ ๙.๑๙ เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่า หลังจากที่นักเรียนเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์หรรษา เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ .๐๕
๓. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนออนไลน์ รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน มีความพึงพอใจมากต่อการจัดการเรียนรู้