บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์
ชื่อผู้จัดทำ นางสาวกุลวณิช มีกุล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 3) เพื่อประเมินคู่มือการใช้ฯและผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน ประกอบด้วย ตำแหน่ง (ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้แทนศิษย์เก่า/ผู้แทนผู้ปกครอง) หัวหน้างานวิชาการ 1 คน ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 คน และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น (เศรษฐกิจพอเพียง) จำนวน 1 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน (สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นและสถานศึกษาพอเพียง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน (ตำแหน่งตัวแทนองค์กรชุมชน/ตัวแทนครู) ผู้ซึ่งมีความรู้ด้านปราชญ์ชาวบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 คน ศึกษานิเทศ 1 คน และผู้วิจัยได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อตรวจสอบ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ และครูผู้สอน 17 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรูปแบบฯ และแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 3 ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .98 ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ในการนำไปใช้การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผลการใช้รูปแบบฯกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูภมิปัญญา (ปราชญ์ชาวบ้าน) จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 คน และครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
(1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ พบว่ามี 6 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย ไม่มีการตัดสินใจร่วมกันในการทำกิจกรรมพัฒนาผูเรียนให้ชัดเจน 2) ด้านหลักสูตร ไม่มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ด้านบุคลากร ครูขาดวิธีการถ่ายทอดความรู้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ด้านผู้เรียนนักเรียนขาดความตระหนักในการวางแผนอย่างรอบคอบในการดำเนินชีวิต ขาดวินัยใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง 5) ด้านงบประมาณ ขาดการส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 6) ด้านการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ขาดการส่งเสริมให้มีการศึกษานอกสถานที่อย่างหลากหลาย และองค์ประกอบรูปแบบฯ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน มีการกำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ 2) ด้านการปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ วางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมิน ปรับปรุงและรายงาน ร่วมกันปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอน 3) ด้านการตรวจสอบ การตรวจสอบยึดเกณฑ์มาตรฐาน ตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 4) ด้านการปรับปรุงสะท้อนผล มีการนำผลประเมินการจัดกิจกรรมของผู้เรียน ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น 5) ด้านการพัฒนา มีการส่งเสริมจัดทำหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2) รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการพัฒนา 3) ด้านการปรับปรุงและสะท้อนผล 4) ด้านการปฏิบัติตามแผน และ 5) ด้านการตรวจสอบ
(3) ผลการประเมินคู่มือฯและผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์
3.1 ผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก และความมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯด้านหลักการและเหตุผล โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81) มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.48) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.82) ด้านวัตถุประสงค์ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.39) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.68) ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.58) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.42) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.61) ด้านการวางแผน โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.66) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.44) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.61) ด้านการปฏิบัติตามแผน โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.73) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.57) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.72) ด้านการตรวจสอบโดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.56) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.64) ด้านการปรับปรุงสะท้อนผล โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.76) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.58) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.77) ด้านการพัฒนา โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.51) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.68) ด้านแนวทางประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.49) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81) ) ด้านเงื่อนไขความสำเร็จในการนำคู่มือการใช้รูปแบบไปใช้ โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.49) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81)
3.2 ผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ พบว่า ผลการใช้รูปแบบฯ โดยรวม คิดเป็นร้อยละ 96.30 ซึ่งมีด้านที่สำคัญเรียงจากมากไปน้อย 5 ลำดับ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการพัฒนา 3) ด้านการตรวจสอบ 4) ด้านการปฏิบัติตามแผน และ 5) ด้านการปรับปรุงและสะท้อนผล ในแต่ละด้านปรากฏผลดังนี้
1. ด้านการวางแผน ผลปรากฏว่า มีกิจกรรมสำคัญทุกข้อ เช่น มีการกำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับสถานศึกษานำสู่การปฏิบัติ มีการเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และร่วมกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
2. ด้านการปฏิบัติตามแผน ผลปรากฏว่า มีการร่วมกันปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอน และ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการนิเทศ กำกับ ดูแล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
3. ด้านการตรวจสอบ ผลปรากฏว่า มีการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบตามความเหมาะสม
4. ด้านการปรับปรุงและสะท้องผล ผลปรากฏว่า นำผลประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนปรับปรุงปแก้ไขให้ดีขึ้น และประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
5. ด้านการพัฒนา ผลปรากฏว่า มีกิจกรรมที่สำคัญทุกข้อ คือมีการจัดทำหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีเป้าหมายเดียวกันทุกระดับ มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง มีการเชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้กับครู นักเรียน มีการจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เช่น แปลงผักสวนครัว โรงเพาะเห็ด มีการให้ผู้เรียนไปฝึกศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา และมีการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(4) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ=4.64, S.D.=0.48)
จากตาราง พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ด้านผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนรู้วิธีการปลูกผักสวนครัว เพื่อนำไปสร้างเป็นคลังอาหาร และใช้ในครัวเรือนได้ (กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.30) ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดจากวิทยากร และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง (กิจกรรมการเพาะเห็ด) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.20) ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ (กิจกรรมการแปรรูปอาหาร กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์อบใบเตย) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.40) ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ (กิจกรรมตลาดนัดโรงเรียน) อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.50) ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการอดออม (กิจกรรมออมไม่อด) และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมในโครงการฯ ผู้เรียนมีเงินออมมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.60) ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ และรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.80) นักเรียนสามาถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลครอบครัวของตนเองได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.10) และสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.00) โดยรวมผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานและปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.40)