ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นายสมัย ธงศรี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรมิตร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการ จัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน จำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากตั้งแต่ 0.43 0.63 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40 0.87 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สูตร KR-20 (Kuder Richardson) เท่ากับ 0.84 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.03/81.88 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7129 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.29
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus อยู่ในระดับมาก