ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริม การอ่านเพื่อความเข้าใจ
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวพิสมัย ลาภสาร
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ เทศบาลเมืองวารินชำราบ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 3.1 เพื่อศึกษาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้เรียนจากชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสาน 3.2 เพื่อเปรียบเทียบการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้เรียนจากชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสาน ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดเทศบาลเมืองวารินชำราบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 35 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ปรากฎ ดังนี้ 1) สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ขาดการนำเทคนิคหรือแนวคิดวิธีการสอนมาประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 2) สภาพปัญหาและความสนใจประเภทสื่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พบว่า ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมสูงสุด คือ คำศัพท์ วลี โครงสร้างประโยคยากซับซ้อน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ด้านวิธีการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่สามารถจับประเด็นสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 และด้านด้านความมสนใจประเภทสื่อการอ่าน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สื่อประเภทนิทาน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ ได้ชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระดับความเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสาน เพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฎ ดังนี้
3.1 ผลการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.76 ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.48
3.2 ผลการเปรียบเทียบการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.09 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.76 ค่าเฉลี่ยผลต่างเท่ากับ 12.23 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมตามแนวทาง SQ4R หน่วยนิทานพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.59 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด