ชื่อผลงาน การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน มยุรี แสนสุข
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านดอนมะขาม
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 25644) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 การประเมินโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการเป็นการประเมินสภาพแวดล้อม (Context) ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ประเมินกระบวนการ (Process) และประเมินผลผลิต (Product) และระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลผลิต (Product) ใช้การประเมินโครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้ให้ข้อมูล คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน โรงเรียนบ้านดอนมะขาม จำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม excel เพื่อหาค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย x̄ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการประเมินโครงการ พบว่า
สภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.43, S.D = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ (x̄ = 4.29, S.D. = 0.64) ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินโครงการ (x̄ = 4.29, S.D. = 0.64)
ปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความพร้อมเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.29, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนน เฉลี่ยสูงสุดคือ โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจน (x̄ = 4.69, S.D. = 0.46) ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ (x̄ = 4.02, S.D. = 0.70)
กระบวนการ (Process) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.50, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อและระดับมาก 6 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในโครงการ (x̄ = 4.67, S.D. = 0.47) ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (x̄ = 4.27, S.D. = 0.63)
ผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.31, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมีจิตสาธารณะ (x̄= 4.42, S.D. = 0.53) ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความสุภาพ (x̄ = 4.20, S.D. = 0.67) เมื่อเรียงลำดับคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามารถเรียงลำดับ ได้ดังนี้ คือ ด้านมีจิตสาธารณะ ด้านความขยัน ด้านความสามัคคี ด้านความประหยัด ด้านความมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสุภาพ
ผลการประเมินภาพรวม ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
บ้านดอนมะขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับ มาก (x̄ = 4.39, S.D. = 0.61) การประเมินผลผลิต (Product) มีผลการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.31, S.D. = 0.62) การประเมินสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.45, S.D. = 0.60) การประเมินกระบวนการ (Process) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.50, S.D. = 0.59) และการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.30, S.D. = 0.62)