บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) การประเมินด้านบริบท (context Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม 3) การประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม และ 5) การประเมินด้านผลกระทบ (Impact evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 196 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน
ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 90 คน และนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 149 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 7 คน (จากประชากร) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน (ยกเว้นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครู และผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เลือก จำนวน 90 คน (จากประชากร) และ นักเรียนโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการตอบแบบสอบถาม สามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินและการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และค่าความเที่ยงตรงเนื้อหา (Content Validity)
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม
ผลการวิเคราะห์ประเมินด้านบริบท (context Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านความรู้คุณธรรม จริยธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินด้านผลกระทบ (Impact evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลั่นทม เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ดังรายละเอียดดังนี้ ครูผู้สอนมีความพึงพอใจ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจ พบว่า
โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก