บทคัดย่อ
การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัด กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืช สร้างคุณค่าสู่ทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครูผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองที่มีต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษี วัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 14 คน และกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาความพึงพอใจ ที่ได้รับการ ตอบสนองความต้องการตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่เกิดผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือ ผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การ งานอาชีพ โดยใช้โครงการงานอาชีพประดิษฐ์ ผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบรรลุเป้าหมายตาม แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และชุมชนที่มีผู้ปกครองเป็นตัวแทน พอใจด้านการศึกษาการงานอาชีพ ทำให้ผู้ปกครองภูมิใจที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 14 คนครูผู้สอนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที1-6 จำนวน 6 คน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 14 คน ที่ผู้ศึกษาได้รับ มอบหมายจากผู้บริหารสถานศึกษาให้รับผิดชอบสอน โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่า สู่ทักษะชีวิตและทักษะ
อาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้บริหารสถานศึกษา
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1.การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
พบว่า คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนโดยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะ อาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 6 แผน มีค่าเท่ากับ 535.35 จาก คะแนนเต็ม 566 คะแนน นำมาหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (Ε1) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.76ส่วนค่าเฉลี่ยหลังเรียนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการงานอาชีพ โดยใช้โครงงาน สิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะ อาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 27.14 จากคะแนนเต็ม 30คะแนน โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.47 ซึ่งมีค่าเท่ากับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Ε2)
ดังนั้น ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผล ต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 92.76/90.47 เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด Ε1/Ε2คือ 80/80 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐาน ข้อ 1
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะ ชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 23.79 และคะแนนเฉลี่ย หลังเรียน เท่ากับ 27.14 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 3.36 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 11.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม เมื่อพิจารณาเป็น รายบุคคล พบว่า นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน มีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 6.66 ถึง 16.66 ซึ่ง นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่น แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้าง คุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ใน ระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (Χ-bar) เท่ากับ 4.74 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ . แสดงว่า นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้บริหาร มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและ ทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่นักเรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไป ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสนใจเรียนการงานอาชีพ มากยิ่งขึ้น และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 ที่กำหนดไว้เมื่อศึกษาความ พึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมาย สามารถอธิบายผลได้ ดังนี้
1. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมาก ถึง มากที่สุด ซึ่งในภาพรวมความพึง พอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (Χ-bar) เท่ากับ 4.79 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.25
2. ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะ อาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมาก ถึง มากที่สุด ซึ่งในภาพรวมความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (Χ) เท่ากับ 4.77 และมีค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.40
3. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ที่มีผล ต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมาก ถึง มากที่สุด ซึ่งในภาพรวมความพึง
พอใจของครูอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (Χ-bar) เท่ากับ 4.70 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.91
4. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ธูปฤาษีวัชพืชสร้างคุณค่าสู่ทักษะชีวิตและทักษะ อาชีพ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมาก ถึง มากที่สุดซึ่ง ในภาพรวมความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (Χ-bar) เท่ากับ 4.80 และ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.00
บทนำ
การส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ครูต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถทาง วิชาการ โดยเน้นความสำคัญทั้งกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้ คุณธรรม และบูรณาการใน เรื่องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับระดับการศึกษา ดังนี้ 1) ครูต้องถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด และส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 2) จัดกระบวนการเรียนรู้โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แสดงความเมตตาเอื้ออาทรต่อผู้เรียน มี การฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญและแก้ปัญหาด้วยการจัดกิจกรรม และสถานการณ์ ให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ให้คิดเป็น คิดชอบ ทำได้ทำเป็นใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม มุ่งให้เรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตและส่งเสริมส่วนดี ปรับปรุงส่วนด้อยของผู้เรียน ผสมผสานสาระความรู้ต่าง ๆ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์จัดบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ครู และนักเรียนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน เพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 3) ด้านความรู้ และทักษะ ครูจะต้องเตรียม กิจกรรม เนื้อหาสาระ สื่อและเน้นให้ผู้เรียนได้เรียน ได้ฝึกปฏิบัติจริงให้มากที่สุด และ4) มีการ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมของผู้เรียน การทดสอบ การตรวจผลงานมีการประเมินพฤติกรรม และพัฒนาการผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และเทคนิคสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไป ใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่ เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่าง ๆ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญที่กล่าวมานั้น ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิด โอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่าง ๆ แล้ว ผู้สอนอาจใช้ วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้เช่นกัน การสอนโดย โครงงาน มีความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่ยึด คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และยึด เป้าหมายอนาคต ประเทศไทยปี 2579 ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมาย ที่จะบรรลุใน 5 ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยที่เป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs)
ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนโตนดพิทยาคม สำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาให้ รับผิดชอบสอนในในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 15 คน มีระดับผลการเรียนต่ำกว่า 3 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 อันอาจจะเนื่องมาจากความไม่ สนใจในการเรียนรู้ การทำกิจกรรมที่ครูสอนมีรูปแบบเดิม ๆ สร้างความเบื่อหน่ายให้กับนักเรียน ไม่มีแรง กระตุ้น สิ่งเร้าให้เกิดความสนใจที่อยากรู้ อยากเรียนเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อระบบความคิด และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนได้มองเห็นปัญหา และหาวิธีการในการ แก้ปัญหา จากธรรมชาติของวิชาการงานอาชีพ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ นักเรียน มีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ จึงได้วางแผนเพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ นักเรียนเกิดความสนใจ เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยทักษะกระบวนการการ ทำงาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงหาความรู้ และทักษะการ จัดการ ที่จะสามารถทำให้นักเรียนมีแนวคิดแนวทางในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต
จากปัญหาที่กล่าวมา การศึกษาคือหัวใจในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะทักษะชีวิตทักษะ อาชีพ ต่อการตัดสินใจที่เชื่อมโยงมิติความสัมพันธ์ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมการงานอาชีพ จึงมี บทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการงานอาชีพและเทคโนโลยีช่วยให้ มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผนสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ
สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ ฆนัท ธาตุทอง (2554 : 52) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง กระบวนการทางปัญญาที่สามารถขยายขอบเขต ความคิดที่มีอยู่เดิมสู่ความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดเดิมและเป็นความคิดที่ใช้ประโยชน์ ไดเหมาะสม สอดคล้องกับประพันธ์ศิริ สุเสารัจ (2556 : 207) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถรวบรวมความรู้ความคิดเดิมของตนเอง สามารถคิดนอกกรอบได้ มีผลงานการคิด มีลักษณะที่คิดในแง่บวก คิดในทางที่ดี (Positive Thinking) คิดที่เป็นประโยชน์ ไม่ทำลายล้าง (Constructive Thinking) คิดสร้างสรรค์(Creative Thinking) ผลงานการคิดสร้างสรรค์ จึงต้องเป็นสิ่ง ใหม่ ๆ เป็นต้นแบบ แหวกวงล้อมเดิม ๆ ไม่เหมือนใคร ใช้การได้ มีความเหมาะสม มีเหตุผลเป็นที่ ยอมรับ ได้เป็นประโยชน์และมีความคุ้มค่า สามารถใช้แก้ปัญหาได้ มิใช่จินตนาการ เพ้อฝัน และ สอดคล้องกับ อารี พันธ์มณี (2557 : 7) ได้อธิบายความหมายของความคิดสร้างสรรค์ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1)ลักษณะทางกระบวนการ หมายถึง ความรู้สึกไวต่อปัญหาและสามารถ แก้ไขปัญหาได้อย่างมี ขั้นตอนและเป็นระบบ และนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสิ่งใหม่ต่อไป 2) ลักษณะของบุคคล หมายถึง
บุคคลที่มีความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มี จินตนาการ และมีความยืดหยุ่น ทั้งความคิดและการกระทำมีความสุขกับการทำงานหรือสิ่งที่ตนพอใจ และไม่หวังผลจากการประเมินภายนอก และ 3) ลักษณะทางผลิตผล หมายถึง คุณภาพของผลงานที่ เกิดขึ้นมีตั้งแต่ขั้นต่ำที่แสดงผลที่เกิดจากความพอใจของตนที่จะแสดงออกซึ่งความคิดและการกระทำ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นการฝึกทักษะ และค่อยคิดได้เองจนถึงระดับการคิดค้นพบทฤษฎี หลักการ
และการประดิษฐ์คิดค้นต่าง ๆ ความคิดละเอียดลออจากสถานการณ์ทางคณิตศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สามารถ แก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ ได้อย่างแท้จริง มีสาระสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีความมุ่งหมายที่จะสอนเนื้อหาสาระที่สำคัญเป้าหมายของ การเรียนรู้ของผู้เรียน คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดหลักที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระการ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ พัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการคิดวิพากษ์การแก้ปัญหา ความร่วมมือ ร่วมใจ และการสื่อสารในรูปแบบที่หลากหลายในการตอบคำถามนำและสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพสูง ผู้เรียน ต้องลงมือทำมากกว่าการท่องจำข้อมูล ผู้เรียนต้องใช้ทักษะการคิดขั้นสูงและเรียนรู้การทำงาน ร่วมกัน เป็นทีมทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปด้วยกันในขณะที่ทำโครงงาน และในขณะที่ทำการสื่อสาร ผู้เรียนต้อง รับฟังผู้อื่นและถ่ายทอดความคิดของผู้เรียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน อีกทั้งผู้เรียนยังต้องสามารถอ่าน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมทั้งสามารถเขียนหรืออธิบายข้อมูลผ่านวิธีการที่หลากหลายได้ อย่างชัดเจนและทำการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการ ในการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ผู้เรียนถามคำถาม ค้นหาคำตอบและลงข้อสรุป ทำให้เกิดการ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ในเชิงความคิด หรือการได้ชิ้นงาน ความรู้หรือสิ่งที่ค้นพบเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน และสามารถนำไปในชีวิตประจำวันได้ เป็นการเรียนรู้ที่ดำเนินการภายใต้คำถามปลายเปิด และเป็น ตัวกำหนดขอบเขตประเด็นข้อโต้แย้ง ความท้าทายหรือปัญหาที่สำคัญ การตั้งคำถามเป็นการกระตุ้นให้ ผู้เรียนทำโครงงานทำให้งานและการเรียนรู้ของผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและลุ่มลึก ทั้งนี้คำถามควรจะ เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีความหมายต่อผู้เรียน สร้างความตระหนักถึงความ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เนื้อหาและทักษะที่จำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนแบบโครงงานมีการ จัดลำดับของกระบวนการเรียนรู้ที่ต่างจากการเรียนรู้แบบ ดั้งเดิม นั้นคือในหน่วยการเรียนรู้ทั่วไปที่มี การทำโครงงานเพิ่มเข้ามาท้ายหน่วยจะเริ่มจากการนำเสนอความรู้และแนวคิดให้แก่ผู้เรียนก่อน จากนั้นจึงให้โอกาสผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แต่ในทางกลับกันการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใน แบบโครงงานนั้นจะเริ่มต้นด้วยการเห็นผลิตผลหรือการนำเสนอผลงานปลายทาง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน ตระหนักถึงความจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการทำ โครงงานให้ได้ผลผลิตหรือผลงานตามเป้าหมายที่ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเองและแสดงความรับผิดชอบเมื่อตนเองเลือกศึกษาสิ่งที่สนใจ การ ที่ผู้เรียนมีโอกาสเลือกสิ่งที่ต้องการศึกษา และแสดงออกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มการมี ส่วนร่วมในการเรียนรู้และการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน มีกระบวนการทบทวนและสะท้อน กลับ ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะให้และรับ ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากครูหรือเพื่อนร่วมห้อง เพื่อ นำไปพัฒนาคุณภาพของผลงานที่ได้สร้างสรรค์ มีคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความคิดถึงสิ่ง ที่ได้เรียนรู้ว่ามีอะไรบ้างและมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ผู้ชมสาธารณะเข้ามามีส่วนร่วม ผู้เรียนนำเสนองานที่ ได้ศึกษาให้แก่ผู้อื่นนอกเหนือไปจากเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน ด้วยวิธีต่าง ๆ อาจเสนอรายงานเป็นรูปเล่ม การอภิปราย การจัดนิทรรศการ การจัดทำเป็นโปสเตอร์ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ ผู้เรียนพยายาม ทำงานออกมาอย่างมีคุณภาพและทำโครงงานให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น โรงเรียน และห้องเรียนถือเป็นชุมชนสิ่งแวดล้อมหนึ่งของผู้เรียนและเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยตรง เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในและนอกห้องเรียน การเรียนรู้มิได้ถูกจำกัดเพียง ในห้องเหลี่ยม ๆ แคบ ๆ ที่มีครูเป็นผู้บ่งการกำกับการเรียนรู้ ทุกขั้นตอนการเรียนรู้จะก้าวออกไปสู่ โลกสังคมภายนอกห้องเรียน นับเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตรงที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคมเพิ่มมากขึ้น การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบโครงงาน ยังเป็น วิธีการที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของครูผู้สอน ทั้งในฐานะเป็นผู้ร่วมงาน ผู้แนะนำ ผู้ให้ความ ช่วยเหลือและการเป็นเพื่อนที่เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องผลงานวิจัยของฟารีดา มาฮามัด (อ้างถึงใน รสนภา ราสุ, 2559 : 64) ที่ทำวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงาน เป็นฐานตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ และเจตคติต่อการ เรียนรู้ กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียน สายบุรีแจ้งประชาคาร จังหวัดปัตตานี จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมี
จุดมุ่งหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนประกอบด้วย การบันทึกภาคสนาม การเขียนบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน การสัมภาษณ์ของนักเรียน และการ สังเกต ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการทำงานกลุ่ม ความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าแสดงออก และการนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐาน ตาม แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ดังนั้นโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และ ลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและ ครอบครัว เห็นแนวทางในงานอาชีพใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
จากที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปีการศึกษา 2563 ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาคิดค้น ปรับเปลี่ยนออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทวิถีชุมชนของผู้เรียนที่มีความสอดคล้องและเป็นไป ตามมาตรฐานหลักสูตร จึงสรุปแนวคิดในการแก้ปัญหาได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงานมี ความเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอนซึ่งในสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ได้ บูรณาการหลักการของโครงงานอาชีพ และโครงงานสิ่งประดิษฐ์ เข้าด้วยกัน เพื่อให้การจัดกิจกรรมมี การขับเคลื่อนการปฏิบัติการเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนเหมาะสมกับกิจกรรม