บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภู มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อและพัฒนาสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ครูโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการ (2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการ (3) แบบประเมินคุณภาพการบริหารงานวิชาการ (4) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนการสอน (5) แบบประเมินการจัดการเรียนการสอน (6) แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (7) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ (8) แบบประเมินความพึงพอใจ และ (9) ประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (x̄ =4.25, sd =0.15) ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ ควรมีการกำกับ ดูแลงานวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของครู นักเรียนและชุมุชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ควรมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานทางวิชาการอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง ควรส่งเสริมให้ครูวิจัยและพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และเป็นต้นแบบในโรงเรียน
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ในการบริหารงานวิชาการ ตามแนวคิด ทฤษฎี หลักการบริหารเป็นฐาน ในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลและองค์กรประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่ายงานวิชาการ กระบวนการดำเนินงาน การวัดประเมินผล เงื่อนไขความสำเร็จและผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านการใช้ประโยชน์ (Utility) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า (1) ผลการประเมินคุณภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.27, sd =0.10) (2) ผลการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า คุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมมีระดับคุณภาพอยู่ใน ระดับมาก ( x̄ =4.36, sd =0.10) และผลการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( x̄=4.38, sd =0.06) (3) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.00 ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษกำหนด และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 85.96 ผ่านเกณฑ์สถานศึกษากำหนด และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.41,sd =0.09) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยผู้บริหารและครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35, =0.07) และจากการสนทนากลุ่มมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารสร้างภาวะผู้นำ สถานศึกษามีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ชุมชนให้ความร่วมมือ และผู้บริหารควรมีการกำกับ ดูแลงานวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของครู นักเรียนและชุมชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ส่วนแนวทางการพัฒนาให้ยั่งยืนควรดำรงรักษาระบบงานให้เข้มแข็ง ด้วยแรงขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร บุคลากรเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอควรมีการประชุมปฏิบัติการแก่ครู บุคลกรทุกภาคเรียน และมีการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองให้เข้มแข็ง