บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ (กรป.กลางอุปถัมภ์) อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยวัตถุประสงค์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .816-.951 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา และแบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ดังนี้
1.ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและ เกณฑ์การประเมินพบว่า โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินพบว่า โดยภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้ด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินคุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มนักเรียน และครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.27 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Education Testing) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านควนดินสอ(กรป.กลางอุปถัมภ์) จังหวัดพัทลุง พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.32 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.78 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2563 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่ม ที่ประเมินและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามลำดับ
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
3. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง (เพื่อนำไปสู่ความคงทน ต่อเนื่อง และยั่งยืน)
ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยใช้รูปแบบอื่นๆ ในกรณีที่เป็นโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน และควรประเมินโครงการระดับองค์กร โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบซิปป์ หรือซิปป์โมเดล (CIPP Model)
2. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความยั่งยืนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนดินสอ (กรป.กลางอุปถัมภ์) อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2564 ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความความอนุเคราะห์ช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากบุคคลหลายฝ่าย ผู้รายงานขอขอบพระคุณ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านควนดินสอ (กรป.กลางอุปถัมภ์) ทุกคนในความร่วมมือในการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอขอบพระคุณ นางอวยพร สุธีบุตร ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านขัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 นางสมจิต ทองเกตุ ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 นางวณี ฤทธิสุนทร ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดบ้านนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 นางสาวณัฎนันท์ สิขวัฒน์ ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านปากสระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 นางอุไร ทีปรักษพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ดมิตรภาพที่ 114 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 ที่ให้ความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบแบบสอบถาม รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเครื่องมือ และกรุณาให้คำแนะนำ ตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่อง กระทั่งทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณเพื่อนผู้บริหารสถานศึกษา ครอบครัว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ให้ความช่วยเหลือ เป็นกำลังใจ จนทำให้การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จด้วยดี
นางสาวนาถวดี เจ้ยจู
ผู้อำนวยการโรงเรียน