ความเป็นมาและสภาพปัญหา
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคน ให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือ ระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก (หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ : 3)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นให้เด็กปฐมวัยลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านการไตร่ตรองจากกระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่เชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมเด็กได้เผชิญกับสถานการณ์และหาแนวทางในการแก้ ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆเพื่อให้เด็กได้นำความรู้ที่ได้รับมาสร้างเป็นความรู้ใหม่โดยครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อ และอำนวยความสะดวกให้เด็กได้เรียนรู้
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา การเรียนแบบ ไฮสโคป (High Scope) ถือเป็นแนวการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพราะเน้นในการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริง และการที่เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ย่อมสร้างความภาคภูมิใจเมื่อทำสำเร็จ และฝึกให้พวกเขาเป็นคนกล้าคิดกล้า
มีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ ขั้นตอน และเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
ครูได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้เด็กได้ลงมือทำและคิดด้วยตนเอง รวมทั้งรู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
การเล่าเรื่อง หมายถึง เรื่องราวที่เล่าต่อๆกันมาเป็นเวลานาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน และให้ประโยชน์ต่อพัฒนาการ และการเรียนรู้ที่เหมาะกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก นิทานและภาพต่างๆจะช่วยพัฒนาการฟังและการพูด ให้ความรู้ ความสนุกสนาน และจินตนาการแก่เด็ก ทั้งยังฝึกสมาธิให้เด็กรูจักสำรวมใจให้จดจ่ออยู่กับเรื่อง
แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา
จากเหตุผลที่กล่าวมา ครูจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากตามแนวคิดแบบไฮสโคป (High Scope) มาพัฒนาจากนวัตกรรมที่เคยผลิตจากเกมการศึกษามามาพัฒนาและต่อยอดจากเกมการศึกษาสังเกตรายละเอียดของภาพ มาเป็นการใช้กิจกรรมเรียงร้อยเรื่องราวบอกเล่าผ่านสื่อ ครูจึงออกแบบกิจกรรมที่ครูมีความถนัดและเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และเด็กๆยังมีความกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดแบบไฮสโคป (High Scope)ระดับปฐมวัยปีที่ 3 มาใช้โดยการใช้กิจกรรมสื่อรูปภาพในการเล่าเรื่องราวในภาพ
2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมเรียงร้อยเรื่องราวบอกเล่าผ่านสื่อ
3. เพื่อให้เด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่าง
- เด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยปีที่ 3 โรงเรียนหนองพอกวิทยายน จำนวน 13 คน
เป้าหมาย
1. เชิงปริมาณ
- เด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยปีที่ 3 จำนวน 13 คน ร้อยละ 90 มี ความสามารถในการคิดรวบยอด
- เด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยปีที่ 3 ร้อยละ 90 มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมกับวัย
- เด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยปีที่ 3 ร้อยละ 90 เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมอย่างมีความสุข
2. เชิงคุณภาพ
- เด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยปีที่ 3 มีทักษะการคิดในระดับที่สูงขึ้น
- เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเต็มศักยภาพ
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุขขณะทำกิจกรรม