พิมลรัตน์ โสธารัตน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด สภาพการปฏิบัติ และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี 2. เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี ที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 704 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970 : 608) ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)โดยเลือกห้องเรียนที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินการ 3 ระยะ คือ การประเมินก่อนการดำเนินงานการประเมินระหว่างการดำเนินงาน และการประเมินหลังการดำเนินงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเที่ยงของแบบสอบถาม
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. สภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียน โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่มีการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี โดยการจัดเป็นกิจกรรมพิเศษ ซึ่งจะต่างกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรตรงที่กิจกรรมพิเศษจัดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามวาระ ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ มักจะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง โดยจะขอความร่วมมือกับสถาบันที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันทางศาสนา และโรงเรียนมีการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี 12 ประการ ของนักเรียนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรเฉพาะในการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียน ซึ่งแยกต่างหากจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีอยู่ในหลักสูตรปกติ โดยการศึกษาบริบทของสถานศึกษา
2. รูปแบบการบริหารงานการจัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานีเป็นระบวนการเชิงระบบ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บริบทของสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนความเป็นพลเมืองดี และผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ด้านกระบวนการ ได้แก่ การปรับกระบวนทัศน์การสอน การปฏิบัติงาน พัฒนาระบบข้อมูล องค์ความรู้ และประสานความสัมพันธ์เชิงสถาบันกับภาคีอื่นภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การจัดทำแผนตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ตามยุทธศาสตร์ กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการพัฒนาตามกิจกรรมและโครงการ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลกิจกรรมจากผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 6 ฝ่าย ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ นักเรียนเป็นผู้มีความเป็นพลเมืองดี ตามความต้องการของทุกฝ่ายและโรงเรียน มีรูปแบบในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียน และผลกระทบ ได้แก่ นักเรียนเป็นผู้มีความเป็นพลเมืองดี โรงเรียนมีกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาคุณธรรม และมีระบบในการพัฒนาความ เป็นพลเมืองดี ของนักเรียน ตามเป้าประสงค์ของผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบฯ ทรงคุณวุฒิ ในการประเมินรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี โดยใช้
กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ
5. ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือของนักเรียนโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี
5.1 ผลการประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการปฏิบัติ เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานีโดยรวมทั้ง 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับดี ยกเว้นด้านที่ 3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ อยู่ในระดับดีมาก
5.2 ผลการพิจารณาด้านความตรง (Validity) ของรูปแบบฯ โดยการทดสอบความแตกต่างของคะแนนการประเมินเฉลี่ยระหว่างผลการประเมินโดยครู เพื่อนนักเรียน นักเรียนและผู้ปกครอง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานีรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคี 6 ฝ่าย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด 8 ข้อ ระดับมาก 31 ข้อ
ข้อเสนอแนะ
1.1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารงาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ตามแนวพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารแบบกลุ่มร่วมมือ ของโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะความเป็นพลเมืองดี ที่มีในมาตรฐานที่ 1 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเมตตากรุณา การประหยัด เป็นต้น เพราะตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือศักยภาพของพฤติกรรมเกิดจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน
1.2 ควรศึกษาเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดี ของนักเรียนด้านการมีวินัย ในตนเองการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการรักการค้นคว้าหาความรู้ในขอบเขตที่กว้างขึ้น เช่น ระดับชั้น ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด หรืออาจจะเปรียบเทียบต่างสังกัด เช่น โรงเรียนในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เป็นต้น และเปรียบเทียบขนาดของโรงเรียน เช่น ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อจะได้ข้อสรุปที่ครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น