|
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research & Development ) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2545 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบกับแผนงาน/โครงการนิเทศภายใน , แนวคิดหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน ได้แก่ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง , ทฤษฎีแรงจูงใจ, ทฤษฎีภาวะผู้นำ และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ,ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้บริหารสถานศึกษาและประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง , นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดทองพุ่มพวง) จำนวน 40 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน และครูหัวหน้าวิชาการโรงเรียน จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการสอน 2) แผนการนิเทศการสอน และ 3) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรมข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา ( content analysis ) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ( % ) การหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) และค่าที ( t-test dependent )
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า เป้าหมายของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้ความสำคัญกับการอ่านโดยเฉพาะการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยระบุคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สามารถแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และจากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความคิดเห็นว่ากระบวนการนิเทศการสอนสามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทยซึ่งสอดคล้องกับผลการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สรุปว่าการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาไทยยังขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียน จึงควรสนับสนุนให้ครูร่วมกันวางแผนและพัฒนาเทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนที่มีกระบวนการที่เป็นระบบและตอบสนองตามศักยภาพของครูแต่ละคนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและสมรรถนะของครู โดยมีแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของครูภาษาไทยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยเพียงพอคอบคลุมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า รูปแบบการนิเทศการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการนิเทศการสอน 5 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ขั้นการสร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing: R ) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการประเมินเบื้องต้น (Assessing: A ) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศการสอน (Informing: I ) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการปฏิบัติการนิเทศการสอน (Doing: D) ซึ่งประกอบด้วยการนิเทศการสอน 3 วิธี ได้แก่ 1) การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational ) 2) การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative) และ 3) การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Nondirective) โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติการ ดังนี้ 1) ประชุมก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน และ 3) การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ และขั้นตอนที่ 5 ขั้นการสรุปและประเมินผลการนิเทศการสอน (Summarizing and evaluation: S ) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.07 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า จากการนำรูปแบบการนิเทศการสอนไปทดลองใช้กับครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จำนวน 12 คน และครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการของรูปแบบการนิเทศการสอน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ดังนี้ผลของการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 ขั้นการสร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing: R ) ครูผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศการสอนรู้และเข้าใจพร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญและจุดประสงค์ของการนิเทศการสอนและการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนเกิดความมั่นใจและมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ , ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการประเมินเบื้องต้น (Assessing: A ) สามารถจำแนกครูตามสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้วยการประเมินตนเอง เพื่อรับการนิเทศการสอนตามแนวคิดการนิเทศการสอนแบบพัฒนาการของกลิ๊กแมน ได้แก่ 1) การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational ) 2) การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative) และ 3) การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Nondirective) ส่งผลให้ครูผู้รับการนิเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศการสอน (Informing: I ) ครูผู้นิเทศการสอนมีความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนและการสังเกตการสอนและครูผู้รับการนิเทศการสอนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ , ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการปฏิบัติการนิเทศการสอน (Doing: D) ผู้นิเทศการสอนดำเนินการจัดประชุมก่อนการนิเทศทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศการสอน และจากการสังเกตการสอนแบบกัลยาณมิตรทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการอีกทั้งการประชุมหลังการนิเทศเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับทำให้เกิดการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น และขั้นตอนที่ 5 ขั้นการสรุปและประเมินผลการนิเทศการสอน (Summarizing and evaluation: S ) จากการประเมินผลโดยการทดสอบหรือการประเมินตนเองและผู้วิจัยประเมินทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอน โดยเฉพาะการสนทนากลุ่มเพื่อสะท้อนความคิดจากการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการสอน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนมีคะแนนด้านความรู้ความเข้าใจการนิเทศการสอนของผู้นิเทศอยู่ในระดับสูงมาก ( = 17.10 , S.D.= 1.14 , %=85.50, S.D.=5.68 ) สูงกว่าก่อนการใช้ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ( = 10.3 , S.D.= 1.10, %=51.50, S.D.=5.50 ) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4.1 และด้านความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของผู้รับการนิเทศการสอนอยู่ในระดับสูงมาก ( = 17.08 , S.D.= 0.95 , %=85.42, S.D.=4.77 ) สูงกว่าก่อนการใช้ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ( = 9.83 , S.D.= 0.99, %=49.17, S.D.=4.93 ) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4.2 และด้านความสามารถในการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ พบว่า หลังการใช้ผู้นิเทศการสอนมีผลการประเมินด้านความสามารถในการนิเทศการสอนทั้งโดยการประเมินตนเองและผู้วิจัยประเมินอยู่ในระดับสูงมาก ( = 16.90 , S.D.= 0.70, %=84.50 , S.D. 3.50 ) และผู้วิจัยประเมิน ( = 16.70 , S.D.= 0.64, %=83.50 , S.D. 3.20 ) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4.3 และด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของผู้รับการนิเทศการสอน อยู่ในระดับสูงมากทั้งโดยการประเมินตนเอง ( = 16.50 , S.D.= 0.65, %=82.50 , S.D. 3.23 ) และผู้วิจัยประเมิน ( = 17.50 , S.D.= 0.50, %=87.50 , S.D. 2.50 ) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4.4 และจากการสังเกตการสอนขณะดำเนินการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนก็มีพัฒนาการทั้งผู้นิเทศการนิเทศการสอนและผู้รับการรับการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test dependent ) เท่ากับ 4.743 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อการใช้รูปแบบการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.68 และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.50 คะแนนเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 6
|
โพสต์โดย มล : [19 ก.พ. 2566 เวลา 17:19 น.] อ่าน [3085] ไอพี : 49.49.156.29
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 18,504 ครั้ง
| เปิดอ่าน 24,679 ครั้ง
| เปิดอ่าน 29,541 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,688 ครั้ง
| เปิดอ่าน 1,580 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,379 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,075 ครั้ง
| เปิดอ่าน 19,625 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,381 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,503 ครั้ง
| เปิดอ่าน 45,878 ครั้ง
| เปิดอ่าน 28,710 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,338 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,495 ครั้ง
| เปิดอ่าน 126,838 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 17,198 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,338 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,931 ครั้ง
| เปิดอ่าน 645 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,863 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|