ชื่องานวิจัย การพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ผู้วิจัย นางสาวกุลธิดา พรมทอง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในโดยใช้ NAKA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผล การดำเนินงานการนิเทศภายในและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานและความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา และฉบับที่ 2 แบบสอบถามผลการดำเนินงานและความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ว่า
1.1 ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ และด้านการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ และด้านการรายงานผลการนิเทศ และด้านการประเมินผลสะท้อนผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยตามลำดับ
1.2 ความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียน และด้านคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ
1.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีดังนี้
1.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียน มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
1.3.2 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 7 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 70.42 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ย 61.14 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ย 79.71
1.3.3 ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 35.00 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านภาษา มีคะแนนเฉลี่ย 35.00 และด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 35.00
2. ผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา สรุปได้ว่า กระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model ของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย กฎและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บริบทของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษา ภาคีเครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) กระบวนการนิเทศภายใน โดยใช้ NAKA Model คือ N : Nurse การมุ่งเน้นการดูแลนักเรียนอย่างรอบด้าน A : Aims การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ K : Knowledge การพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน และ A : Attitude การสร้างเจตคติที่ดีให้แก่นักเรียน ซึ่งในกระบวนการนิเทศภายใน จะดำเนินการ 7 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อม (2) การสร้างความรู้ความเข้าใจ (3) การวางแผนการนิเทศ (4) การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ (5) การปฏิบัติการนิเทศ (6) การประเมินและสะท้อนผล และ (7) การรายงานผลการนิเทศ โดยมีการดำเนินงานภายใต้วงจร PDCA และองค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Output) เป็นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (RT) และผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ
3. ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model สรุปได้ว่า
3.1 ผลการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา โดยใช้ NAKA Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประเมินและสะท้อนผล ด้านการรายงานผลการนิเทศ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเตรียมการนิเทศภายใน ด้านการปฏิบัติการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ และด้านการวางแผนการนิเทศภายใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในยระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีดังนี้
3.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะนาคา ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
3.3.2 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 90.20 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการอ่านออกเสียง มีคะแนนเฉลี่ย 83.60 และด้านการอ่านรู้เรื่อง มีคะแนนเฉลี่ย 96.80
3.3.3 ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบ จำนวน 2 คน โดยในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน 46.75 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านภาษา มีคะแนนเฉลี่ย 48.00 และด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 45.50
4. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานการนิเทศภายในและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านเกาะนาคา สรุปได้ว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าผลการดำเนินงานการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
4.2 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าความคาดหวังที่มีต่อการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2563
4.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า คะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 มีผลคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2563 เท่ากับ 13.23
4.4 การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย 2 ด้าน 70.42 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 90.20 โดยมีผลต่างเพิ่มขึ้น 19.78
4.5 ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะนาคา พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย 2 ด้าน 35.00 และปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 46.75 โดยมีผลต่างเพิ่มขึ้น 11.75
คำสำคัญ : การนิเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ