ื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive)
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย นางสาวสมพร แก่นจักร
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา(Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งการวิจัยเป็น 4ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน สังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการ
จัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Randomsampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) คู่มือครูแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบSICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายปัญหา พบว่า ปัญหาการพูดและการเขียนอยู่ในระดับมาก เช่น การเขียนเรียงความนักเรียนส่วนใหญ่จะเขียนโดยเลียนแบบตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งเป็นการคัดลอกข้อความจากเอกสารมากกว่าการเรียบเรียงจากความคิดของตนเอง เขียนลำดับความสับสน วกวน เนื้อหาไม่ต่อเนื่อง ใช้คำไม่ถูกต้องเขียนโดยใช้ภาษาพูด ใช้คำศัพท์ไม่สละสลวย หรือการเขียนย่อความด้วยวิธีตัดต่อข้อความจากสิ่งที่อ่านเป็นต้น รองลงมาเป็นปัญหาด้านการอ่าน ส่วนปัญหาด้านการฟังและการดู ประสบปัญหาน้อยที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive)เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมี4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้และ 4) การวัดประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ SICCEประกอบด้วยขั้นที่ 1 สร้างแรงจูงใจ (Stimulus) ขั้นที่ 2 ใฝ่หาความรู้ (Investigation) ขั้นที่ 3 คิดวิเคราะห์(Cogitate) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction) และขั้นที่ 5 ประเมินความก้าวหน้า(Evaluate Progress)
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SICCEตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมีผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 85.31 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SICCE ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด(X= 4.56, S.D = 0.51)