ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย นางสาวจิตติมา เพชรชิต
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ดังนี้ 4.1 เปรียบเทียบสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้รับการพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก 4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัย ในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้ และปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมือง ท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานีและระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นข้าราชการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ จำนวน 12 คน และนักเรียนระดับชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 271 คน โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า รูปแบบมี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายงานวิชาการที่ต้องพัฒนา มี 5 ด้านประกอบด้วย (1) การบริหารหลักสูตร (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ (5) การนิเทศการศึกษา องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการบริหารงานวิชาการ มี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) การวางแผน (2) การดําเนินงาน และ (3) การประเมินผล
2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 องค์ประกอบหลัก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลักจาก มากไปหาน้อยได้ดังนี้ กระบวนการบริหารงานวิชาการ ( = 4.84, S.D.=0.37) และขอบข่าย งานวิชาการที่ต้องพัฒนา ( = 4.82, S.D. = 0.39) ตามลำดับ และผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า คู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมในการนําไปใช้ในการบริหารงานวิชาการโดยมีเนื้อหาประกอบด้วย คําชี้แจง ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนนำไปใช้จริง ดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัด การเรียนรู้เชิงรุกของครูกลุ่มทดลองทั้ง 12 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกคนโดยภาพรวมก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ระดับน้อย และหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้ผลจากการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการชี้แนะสรุปผลได้ ดังนี้ 1) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 12 คน มีทักษะการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ทักษะการวางแผนทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะการสะท้อนผล และทักษะการเรียนรู้เป็นทีม: PLC สูงขึ้นทุกคน 2) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 12 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการสังเกตการสอนครูผู้รับการชี้แนะมีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงขึ้น และผลการตรวจสอบรายการปฏิบัติทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้ง 4 ทักษะครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากทุกคน 4) ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) พบว่า สิ่งที่ครูผู้รับการชี้แนะได้รับจากรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ การสะท้อนผลก่อนการจัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และจากการเรียนรู้เป็นทีม: PLC นำมาปรับปรุงการเขียนแผนทุกครั้งทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 5) ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้เป็นทีม: PLC พบว่า การใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสามารถส่งเสริมให้ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะใน การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และทักษะในการทำงานเป็นทีม: PLC โดยมีผลการใช้รูปแบบ การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับ
การชี้แนะทั้ง 12 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกคน
4.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครูผู้รับการ
ชี้แนะทั้ง 12 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01