บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 128 คน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 52 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 18 คน ซึ่งมีผลสรุปการประเมินโครงการ ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท (Context Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความสอดคล้องของบริบท โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 โดยรวมในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน
บ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 โดยรวมในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ด้านผลผลิต คุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ผลการประเมินพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด
มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน โดยรวมในระดับมาก
ด้านความพึงพอใจต่อโครงการ ผลการประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ความพึงพอใจต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรมีการสะท้อนผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานในโครงการ
เพื่อสังเคราะห์จุดเด่นของโครงการ และจุดควรพัฒนา รวมถึงแนวทางการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ควรมีการรายงานผลการประเมินโครงการต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในกระบวนการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. ควรศึกษาตัวแปรอื่นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน เป็นต้น
3. ควรศึกษาบทบาทของผู้ปกครองและชุมชนที่มีอิทธิพลต่อผลการจัดโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน