ชื่อเรื่อง การพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ผู้วิจัย วีรยุทธ ฆารประเดิม
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 2) อออกแบบและพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 3) ทดลองการใช้การนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ดำเนินการทดลองโดยประยุกต์ใช้แบบการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลองผสมผสานกับการวิจัยแบบดุลยภาพเวลาและกลุ่มตัวอย่างของการทดลองต่อเนื่องกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 8 คน และนักเรียน จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการนิเทศแบบสอนแนะ แผนการนิเทศแบบสอนแนะ ปฏิทินการสอนแนะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสอบถาม และประเด็นการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบว่า มาตรฐานที่ 1 (คุณภาพของผู้เรียน) ผู้เรียนยังขาดทักษะ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์มีวิจารณญาณ มีความคิด สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองคิดแบบองค์รวมทั้งระบบ และมีวิสัยทัศน์
2. ผลการออกแบบและพัฒนาการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มี 4 ประการ คือ 1) ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพโดยให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และที่สำคัญคือการอำนวยความสะดวกเวลา และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครู 2) การพัฒนาวิชาชีพต้องเกิดจากความต้องการของครูที่มีความมุ่งมั่นจริงใจและเต็มใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ร่วมมือกัน เคารพยอมรับซึ่งกันและกัน อุทิศเวลาให้กับการพัฒนางาน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 3) ครูควรได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับ ทั้งด้านความรู้ และทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดตามความต้องการและด้านการปฏิบัติการสอนแนะที่ถูกต้องก่อนเริ่มกระบวนการพัฒนา 4) การพัฒนาครูและเพื่อนครูให้มีสมรรถนะการสอนแนะจำเป็นต้องมีการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ (Mentoring)
3. ผลการทดลองการใช้การนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบว่า 1 การเปรียบเทียบผลคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแนะพบว่า ในภาพรวมของคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านการสอนแนะที่เกี่ยวกับ หลักการ วิธีการการสอนแนะ ซึ่งมีผลคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
2. ความสามารถในการสอนแนะของครูทั้ง 8 คน ตั้งแต่ครั้งที่ 1-4 คือระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2563 พบว่า การประเมินความสามารถครูทุกคนมีความสามารถในการสอนแนะอยู่ในระดับสูงทุกคน 3.การเปรียบเทียบผลคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครู จำนวน 8 คน พบว่า ในภาพรวมของคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์มีผลคะแนนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
4.ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครู พบว่า ภาพรวมของความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับสูงมากและ
5. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ระหว่างการทดลองใช้ในด้านความสามารถในการสอนแนะ และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ หลังจากนำรูปแบบไปใช้เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ครูผู้ทำหน้าที่สอนแนะ แสดงความคิดเห็นต่อความสามารถในการสอนแนะของตนเองโดยครูเห็นว่าตนเองมีความรู้ความสามารถด้านการสอน
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงการนิเทศแบบสอนแนะเพื่อส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูในสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์พบว่า 1) การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูทุกคนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับสูงทุกคน 2) ผลการประเมินผลการเรียนรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมของคะแนนผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ได้รับการสอนโดยครูที่ได้รับการสอนแนะฯ ทุกห้อง มีผลคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลอง 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในภาพรวม พบว่า ภาพรวมทั้งหมดมีระดับความคิดเห็นในระดับมากและ 4) ผลการประชุมหลังการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูทั้ง 8 คน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2563 พบว่า ส่วนใหญ่ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามรายการประเมิน