ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต
ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์)
ผู้วิจัย พิลาสินี ถาริยะวงศ์วนิช
ปีที่เขียน 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน จุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหาร จัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน จุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียน ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน นักเรียน จำนวน 118 คน ผู้ปกครอง จำนวน 118 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารจัดการศึกษาแบบสอบถามความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของการนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA ไปใช้แบบสอบถามพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) เป็นโรงเรียนที่ได้รับความร่วมมือ ในด้านต่างๆ ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อจำกัดของสถานศึกษากับความร่วมมือของชุมชน คือ การระดมความคิดและการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียน ทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก แต่โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) แต่สภาพ การจัดการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่ยังอยู่แต่ในห้องเรียน ทำให้นักเรียนขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่สามารถเผชิญและแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองได้ ผลจากการวิเคราะห์เป้าหมาย การสร้างทักษะชีวิต พบว่า โรงเรียนตั้งเป้าหมายในการพัฒนาเด็ก โดยการสริมสร้างและพัฒนาปรับเปลี่ยนการสอน เพื่อให้นักเรียนซึ่งจะเป็นพลเมืองของประเทศได้พัฒนาทักษะชีวิตให้เป็นผู้ที่มีชีวิตที่ดี ส่งผลให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคตและคงอยู่ตลอดไป การวิเคราะห์รูปแบบ การบริหารและการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติของครูและผู้เรียน พบว่า มุ่งจัดการศึกษา ให้มีคุณภาพและทั่วถึง ตั้งอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย ดำรงไว้ในความเป็นไทย รู้จักใช้เทคโนโลยีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยมีเป้าหมาย คือ ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามหลักสูตรในระบบการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาคีเครือข่ายเข้ามา มีส่วนร่วม
2. ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ ของการนำรูปแบบ การบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) ไปใช้ ในภาพรวม พบว่า ความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความมีประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า ในภาพรวม ของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ปกครองมีความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหาร จัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน จุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า ในภาพรวมของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ปกครองมีความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด