บทสรุปของผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีไพศาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีไพศาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ด้านปัจจัยนำ (Input Evaluation : I) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) 2) เพื่อประเมินด้านความพึงพอใจในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีไพศาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ 7 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) ตอนที่ 2 - 7 แบบสอบถามเป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 120 ข้อ ตอนที่ 7 แบบสอบถามแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีไพศาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daneil L. Stufflebeam) ในการประเมิน 4 ด้าน ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.25 σ = 0.27 ) รองลงมา คือ ด้านสภาวะแวดล้อม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.24 σ = 0.25 ) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.00 σ = 0.28 )
2. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีไพศาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.31 σ = 0.29 )โดย ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามเป้าหมายของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.47 σ = 0.52 ) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพให้สมบูรณ์ทั้งอารมณ์ สังคม และสติปัญญามีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.44 σ = 0.52 ) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( μ = 4.14 σ = 0.58 )
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านศรีไพศาล ปีการศึกษา 2564 ในครั้งต่อไปดังนี้
1.1 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่องให้เป็นระบบ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมวางแผน ร่วมคิดร่วมทำในทุกขั้นตอนให้มากยิ่งขึ้น
1.2 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นงานที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยต้องสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญและ ปรับทัศนคติ เพื่อให้เกิดเป้าหมายเดียวกัน
1.3 สถานศึกษาควรมีวิธีการในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี มีการยกย่อง เชิดชูเกียรติแก่ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโอกาสสำคัญของโรงเรียน เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อันจะก่อให้เกิดความรัก ความศรัทธา ความเชื่อมั่น และกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท เต็มใจ จริงจัง และต่อเนื่องตลอดไป
1.4 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต้อง ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ โรงเรียนต่อ ไปเพื่อการดูแล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3 - 5 ปี เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาเปรียบเทียบผลการดำเนินการ ในด้านของการสร้างความยั่งยืน และต่อเนื่องของกิจกรรม
2.2 ควรมีการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยการใช้รูปแบบการวิจัย ในรูปแบบผสม คือ การนำวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มาประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการประเมินโครงการให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.3 ควรทำการศึกษาความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนระหว่างสถานศึกษาและชุมชน
2.4 ควรมีการศึกษาการเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากสถานศึกษาของรัฐและเอกชน