ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่)
ผู้วิจัย ศุภรา ปางนิติคณากร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่)
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ 2) เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ไปใช้ และ 3) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ โดยนำผลในระยะที่ 1 มาพัฒนา ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ ในกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 6 คน และ ระยะที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนาและอภิปรายกลุ่ม แบบสำรวจคุณลักษณะของครูต้นแบบและบันทึกจากเรื่องเล่า แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบรายงานประเด็นวิพากษ์และถอดองค์ความรู้และประสบการณ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ แบบรายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ และแบบวัดอัจฉริยภาพผู้เรียน จำนวนรวม 15 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลด้านข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่และวิเคราะห์เนื้อหา โดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญ และนำเสนอในลักษณะความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น คือ ดีเอ็มทูไทน์โมเดล (DM2TIE Model) มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 5 ข้อ 2) วัตถุประสงค์ 3 ข้อ 3) ขั้นตอนการบริหารจัดการ (DM2TIE Model) 8 ขั้นตอนหลัก และ 24 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) สร้างความเข้าใจและวางเป้าหมายร่วม (Defining goals) (2) ระดมสรรพกำลังสร้างเครือข่าย (Mobilize Network) (3) พัฒนาครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงแบบนักวิชาชีพ (Transformational Leader Teacher) (4) หลอมรวมกิจกรรมกับวิธีจัดการเรียนรู้ผนวกสื่อเทคโนโลยี (Technological pedagogical content knowledge; TPACK;) (5) สร้างหลักสูตรเฉพาะบุคคล (Individual Course) (6) ฝึกฝนทักษะแบบเข้มข้น (Intensive skill training) (7) สร้างประสบการณ์ใหม่ขยายขีดความสามารถ (Extend the competency) และ (8) ประเมินสมรรถนะเฉพาะด้าน (Evaluate specific competencies) และ 4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูต้นแบบ 8 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) วางแผนการจัดการเรียนรู้ (2) บูรณาการการเรียนรู้เชิงรุก (3) บริหารจัดการชั้นเรียน (4) บูรณาการเนื้อหากับสื่อเทคโนโลยีผนวกวิธีสอน (5) วัดและประเมินผู้เรียน (6) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน (7) เชื่อมโยงความรู้ ขยายความรู้และประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน และ (8) เสริมสร้างผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพระดับบุคคล
2. ผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ไปใช้
2.1 ผลการใช้รูปแบบในกลุ่มทดลองครั้งที่ 1 (Pilot Group) พบว่า โดยภาพรวมมีค่า
ร้อยละเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่ม ( X-bar = 4.11, S.D. = .47)
2.2 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มทดลองครั้งที่ 1 (Pilot Group) พบว่า 1) ความสำเร็จของการนำไปใช้ มีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมการฝึกทักษะแบบเข้มข้น กิจกรรมไอดอลเยาวชนแบบอย่าง 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหา งบประมาณ เวลา และการดูแลเอาใจใส่เพิ่มเติมจากผู้ปกครอง และขาดสื่อเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง 3) สิ่งที่ได้เรียนรู้ สถานศึกษาสามารถจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตามศักยภาพหากสนับสนุนอย่างจริงจัง
2.3 ผลการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารจัดการในกลุ่มทดลองครั้งที่ 1 (Pilot Group) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.77, S.D. = .14)
2.4 ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการในกลุ่มทดลองจริง พบว่า โดยภาพรวมมีค่าร้อยละเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.77, s.d. = .40)
2.5 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการใช้รูปแบบการบริหารในกลุ่มทดลองจริง พบว่า 1) ภาพความสำเร็จในการบรรลุคุณลักษณะที่คาดหวัง (ระดับพื้นฐานและระดับกลาง) ผลที่เกิดกับครูเห็นพัฒนาการทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและการเรียนรู้ในระบบออนไลน์เพื่อวางแผนร่วมกันพัฒนา ประชุมปรึกษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้เรียนทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมบรรลุคุณลักษณะที่คาดหวัง ซึ่งประเมินจากแบบวัดอัจฉริยภาพผู้เรียน 2) แนวทางหรือวิธีการสร้างอัจฉริยภาพหรือความเป็นเลิศในระดับสูง สร้างหลักสูตรระดับบุคคล หากกระบวนการสร้างหลักสูตรไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีเวทีการแข่งขันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพ และขยายขีดความสามารถให้สูงขึ้น 3) ปัญหา อุปสรรคและสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัจจัยภายในและภายนอกคือมีนโยบายที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เกิดแรงต่อต้านจากผู้ปกครองบางส่วนที่บุตรหลานของตนเองไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
3. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างครูต้นแบบยกระดับผู้เรียนสู่อัจฉริยภาพด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่)
3.1 ผลการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจในกลุ่มทดลองจริง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในกลุ่มผู้บริหารและครู (x̄ = 4.19, s.d. = .43)
3.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูต้นแบบ โดยภาพรวมมีค่าร้อยละเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46, s.d. = .61) โดยประเด็นตัวชี้วัด ด้านการบูรณาการเนื้อหากับสื่อเทคโนโลยีผนวกวิธีสอน (TPACK) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.26, s.d. = .59) อยู่ในระดับมาก
3.3 ผลการวัดอัจฉริยภาพผู้เรียนด้านกีฬา ดนตรีและนาฏศิลป์ ในระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าร้อยละเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x.bar = 4.02, S.D. = .60) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ด้านความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่แสดงออกด้านกีฬา (ระดับพื้นฐาน) และด้านนาฏศิลป์ (ระดับพื้นฐาน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.34, S.D. = .59) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอัจฉริยภาพผู้เรียนด้านดนตรี (ระดับสูง) ( x̄ = 3.41, S.D. = .59) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และอยู่ในระดับปานกลาง