หัวข้อการศึกษา การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ
ผู้ศึกษา นางสาวปิยะวัลย์ จันทรภูมี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน มีผู้เรียน 20 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระค่าดัชนีประสิทธิผล และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สาเหตุของปัญหา จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีสาเหตุมาจาก 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือ การจัดการเรียนการสอนขาดการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีโอกาสในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งไม่มีการสอนกับแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ภายในห้องเรียนยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ประการที่สอง ด้านอุปกรณ์การสอน พบว่า สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีคือห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีอุปกรณ์ไม่ครบทำให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูไม่สามารถเชื่อมโยงกับสื่อได้ส่งผลทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประการสุดท้าย พบว่า นักเรียนขาดความเข้าใจในการนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ไปพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และพบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ โดยเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. ผลการสร้างและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.1 ได้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการเตรียมตัว (P = Prepare) 2) ขั้นเริ่มการเรียนการสอน (I = Instruction) 3) ขั้นปฏิบัติงานโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ (Y = YOURSELF) 4) ขั้นปฏิบัติประยุกต์ (A= Applied practice) 5) ขั้นตั้งใจลงมือทำงานด้วยตัวเอง (W = Willingness) 6) ขั้นสรุปการคิดวิเคราะห์ (A = Abstract) และ 7) ขั้นสร้างเครือข่ายและนำเสนอ (N = Network and present) และรูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบได้นวัตกรรม 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 ธาตุและสมบัติบางประการของธาตุที่ฉันรู้จัก เล่มที่ 2 อะตอมและโมเลกุลของสาร เล่มที่ 3 สารประกอบคืออะไร และเล่มที่ 4 ธาตุและสารประกอบอะไรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 90.71/90.67 ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.93/86.22 และผลการทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.96/87.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.66 / 89.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.8400 ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.84 หรือคิดเป็นร้อยละ 84.00
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4.1 คะแนนเฉลี่ยของผลพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียน มีคะแนนเท่ากับ 16.95 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 44.75 คะแนนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน PIYAWAN MODEL โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องธาตุและสารประกอบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก