บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ 2) รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ชุด ฟ้อนสักการะพระธาตุเมืองพล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัตินาฏศิลป์ 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติค่าที (t test Dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ครูผู้สอนมีความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนาทักษะการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการปฏิบัติของผู้เรียน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนนาฏศิลป์เสนอให้ครูใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการมีส่วนร่วม และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนนำความรู้และทักษะไปใช้ได้อย่างสวยงามและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม
2. รูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน การวัดและประเมินผล และปัจจัยและเงื่อนไขการใช้ มีขั้นตอนการสอนชื่อว่า SILAEM Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Stimulate) ขั้นที่ 2 การเลียนแบบ (Imitate) ขั้นที่ 3 เรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติตรง (Learning By Doing) ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ (Exchange learning) ขั้นที่ 5 นำความรู้และทักษะไปใช้ (Apply knowledge) ขั้นที่ 6 วัดและประเมินผล (Measure and Evaluation) เกณฑ์คุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow)
เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ พบว่า
3.1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการ
สอนนาฏศิลป์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนนาฏศิลป์
โดยใช้การสอนแบบทักษะการปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ ในระดับดี
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ โดยใช้การสอนแบบทักษะ
การปฏิบัติ (Harrow) เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด