บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา ชลาภา สายมงคล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี ศ 13101 (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 17 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ค่าดัชนีประสิทธิผลและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี ศ 13101 (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สาเหตุของปัญหาการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน จากการสนทนากลุ่มครูผู้สอน พบว่า มีสาเหตุมาจาก 3 ประการ ประการแรกคือ การจัดทำหลักสูตรส่วนกลางไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิชาดนตรีให้สอดคล้องกับบริบทในการสอนครูเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติ ประการที่สอง ขาดสื่อนวัตกรรมที่สร้างใหม่เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติในท่ารำที่ถูกต้อง การใช้สื่อในการสอนไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ธรรมชาติของวิชาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน และประการสุดท้าย คือด้านการวัดและประเมินผล การแจ้งวิธีการวัดและประเมินผล รวมทั้งเกณฑ์การให้คะแนนแก่นักเรียนไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการสอนวิชาดนตรี โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ รำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.1 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม (C = Condition) ขั้นนที่ 2 เริ่มการเรียนรู้อย่างมีความสุข (H = Happy Learning) ขั้นที่ 3 การปรับตัวเรียนรู้ (A = Adaptabilty) ขั้นที่ 4 การเรียนรู้ (L = Learning) ขั้นที่ 5 การชี้แจงข้อตกลงการฝึกปฏิบัติ (A = Aagreement) ขั้นที่ 6 กระบวนการการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน (P = Process) ขั้นที่ 7 การลงมือปฏิบัติจากการเรียนรู้ (A = Active Learning) โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน ได้นวัตกรรม ได้แก่ ชุดที่ 1 นาฎศิลป์รำวงมาตรฐานน่ารู้ ชุดที่ 2 ท่าจีบ ชุดที่ 3 ตั้งวง ชุดที่ 4 ยกเท้า- ก้าวเท้า ก้าวข้าง ชุดที่ 5 กระทุ้งเท้า- กระดกเท้า ชุดที่ 6 ฝึกร้องรำทำท่านาฏยศัพท์พื้นฐาน และชุดที่ 7 รวมท่ารำฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ด้วยตัวเอง
2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.78/86.67 ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.23/90.00 และผลการทดลองแบบภาคสนามมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 89.24/89.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 89.84/90.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.8200 ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่ได้ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.82 หรือคิดเป็นร้อยละ 82.00
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
4.1 คะแนนเฉลี่ยของผลพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ก่อนเรียน มีคะแนนเท่ากับ 14.06 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 27.18 คะแนนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Dramatic arts Chalapa MODEL ร่วมกับทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เพื่อฝึกทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์รำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : ทฤษฎีเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ / ทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์/ รำวงมาตรฐาน