บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับ แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุดารัตน์ สารณะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล
เขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลเขาชัยสน
จังหวัดพัทลุง
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2564
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไข การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จำนวน 4 ชุด 2)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน เวลาเรียนจำนวน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ และ 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) คำถามปลายเปิดจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t- test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากผู้เข้าร่วมการสนทนา จำนวน 30 คน พบว่า สภาพความจริงของคุณภาพการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3 ในปัจจุบันจากการทดสอบความสามารถพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ทั้งหมดจำนวน 80 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 73.16 เท่านั้น และการจัดการเรียนการสอนยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้น้อยลง และเกิดภาวะถดถอยทางการเรียน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 81.92/80.17
3. ผลการทดลองการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 26 คน มีค่าเท่ากับ 81.83/80.30
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 47.44 มีค่ามากกว่าค่า t ที่ได้จากการเปิดตาราง (.01t 25=2.4851)
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไข พบว่า ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.15 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ 81.50 โดยทำการปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาของแบบฝึกทักษะ ภาษาที่ใช้ ภาพประกอบ ตัวอย่างการแสดงวิธีทำและหาคำตอบ แผนการจัดการเรียนรู้ ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับปรุงรูปเล่มของแบบฝึกทักษะให้มีความแข็งแรง และสะดวกต่อการใช้งานต่อไป