บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแม่ทะลุในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปโมเดล(CIPP Model) และเพิ่มความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการนี้ ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลได้แก่ ครูจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน 29 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คนรวมทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบศึกษาเอกสารและแบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลโดยตารางประกอบคำอธิบายและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงบรรยาย
ผลการรายงานผลสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ จากการศึกษาเอกสารพบว่าทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 และนโยบายของโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ได้กล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดคือ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน รองลงมาคือ ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการโครงการ และโครงการมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนในการดำเนินการตามโครงการ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำและให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการโครงการเกษตรสู่ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นให้โครงการประสบความสำเร็จ รองลงไปได้แก่ ผู้บริหารมีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมและผู้บริหารมีความรู้ด้านการบริหารจัดการโครงการเกษตรสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินการโครงการเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีรายการที่ผลการประเมินอยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการวางแผนเตรียมการก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม รองลงไป ได้แก่ มีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป และผู้บริหารมอบหมายงานมีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินการแต่ละกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการด้วยความใส่ใจและมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาพแวดล้อมโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่หลากหลาย นักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้ และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีการพัฒนาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการเมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน เป็นรายกิจกรรมได้ดังนี้
5.1 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผลการดำเนินการของกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นโครงการ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ คือ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม และการดำเนินกิจกรรมนี้ควรดำเนินการต่อไป ซึ่งทั้งสองข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากเท่ากัน
5.2 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการการทำนา เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับดำเนินการของกิจกรรม ครูผู้รับผิดชอบส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม
5.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ (ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม) ,ครูผู้รับผิดชอบส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น
5.4 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเพาะเห็ด เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้(ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม) , ระยะเวลาในการดำเนินการของกิจกรรม และมีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น
สรุปในภาพรวมทั้ง 4 กิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับการประเมินมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช และกิจกรรมการทำนาตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว และเมื่อพิจารณาภาพรวมกิจกรรมทั้งหมดเป็นรายข้อ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และนักเรียนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน (µ= 4.52) ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ วิธีการดำเนินกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้
จากการรายงานผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ พบว่า ด้านบริบทสอดคล้องเหมาะสม และเป็นไปได้ ด้านปัจจัยพอเพียงและเหมาะสม ด้านกระบวนการพบว่าดำเนินงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านผลผลิตมีประสิทธิผล สมควรดำเนินการโครงการต่อไป ด้านผลสะท้อนความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการโดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ดังต่อไปนี้
1.1 โรงเรียนควรมีการวางแผนการบริหาร และการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน นักเรียนและชุมชน
1.2 ควรจัดงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว สมควรที่โรงเรียนต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
1.3 การจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม ควรมีการปฏิบัติงานที่มีความยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
1.4 การดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหารจะต้องเป็นแกนหลักในการบริหารและดำเนินการร่วมกับแกนนำอื่นๆเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานให้บุคลากรภายในสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอกร่วมกันทำงานเป็นหมู่คณะ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรทุกฝ่าย
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 การดำเนินโครงการที่สำคัญของโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ควรได้รับการประเมินทุกโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการทุกๆปี
2.2 ควรนำผลการประเมินของโรงเรียนไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินของโรงเรียนอื่นที่ทำโครงการเดียวกันนี้ที่มีสภาพบริบททั่วไปของโรงเรียนใกล้เคียงกันเพื่อพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพต่อไป
2.3 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานโครงการต่างๆตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ต้องมาสนับสนุน ร่วมมือพัฒนา ระดมทรัพยากร เพื่อให้มีความยั้งยื่น เจริญก้าวหน้าของโครงการตลอดไป