บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
ภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิด
วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน
ภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิด
วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3)ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินความ
พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองขามพิทยาคม ที่มีต่อการเรียนการสอน
ภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองขามพิทยาคม อําเภอจักราช
จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียนจํานวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการเรียน
การสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เพื่อเสริมสร้าง
ความคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้าน
ความสามารถคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองขามพิทยาคม ที่ได้รับการ
เรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง(Constructivism)
และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองขามพิทยาคม ที่มีต่อการเรียน
การสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)ใช้ระยะเวลาใน
การทดลองสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์รวมทั้งสิ้น
14 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรตู้ามแนวความคิดการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 7 แผน ใช้เวลา 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) สําหรับ
ข
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test
dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
และความต้องการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน มุ่งให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดย
อาศัยความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้สอนมี หน้าที่เสนอปัญหาให้นักเรียนเกิดความขัดแย้งทางปัญญาให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน
และกัน และคอยกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมในการคิดวิเคราะห์จะต้องเป็น
คนช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างซักถาม มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาคําตอบ มีความสามารถใน
การตีความ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์และมีความสามารถในการหาความสัมพันธ์ เชิงเหตุผล เพื่อนมาพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้อย่างถูกต้อง และมีเหตุผล
น่าเชื่อถือ
2. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ที่ดําเนินการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ มีชื่อเรียกว่า OETAR Model มีองค์ประกอบคือ
ที่สําคัญคือ ดังนี้1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี2) สาระสําคัญ 3) มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
4) จุดประสงค์5) สาระการเรียนรู้/เนื้อหา 6) กิจกรรมการเรียนรู้7) บทบาทครู8) บทบาทนักเรียน
9) สมรรถนะของผู้เรียน 10) คุณลักษณะอันพึงประสงค์11) ชิ้นงานและภาระงาน 12) แหล่งเรียนรู้ 13) การวัดและประเมินผล ในส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้มี5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนํา
(Orientation: O) ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of the Knowledge: E) ขั้นที่ 3
ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (Turning restructuring of ideas: T) ขั้นที่ 4 ขั้นนําความคิดไปใช้
(Application of ideas: A) ขั้นที่ 5 ขั้นทบทวน (Review: R) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของ
รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดยผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80-1.00 และ ( X = 4.95, S.D.=
0.11) ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน
การสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อเสริมสร้าง
ความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ
82.66/81.41 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้80/80 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์80/80
ค
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบ
การเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
การทดสอบค่าสถิติt = 16.31, df = 27 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.26 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 3.47 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.93
เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองขามพิทยาคม
จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย
ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เพื่อเสริมสร้างความคิดวิเคราะห์และ
การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองขามพิทยา
คม ที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาไทย ตามแนวความคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( X = 4.04, S.D.= 1.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
สามารถเรียงลําดับได้ดังนี้ด้านกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลําดับที่ 1 ( X = 4.20, S.D.=
1.18) รองลงมาคือ ด้านผู้เรียน ( X = 4.07, S.D .= 1.30) และลําดับที่ 3 คือ ด้านครูผู้สอน
( X = 3.86, S.D.= 1.23) เป็นลําดับสุดท้าย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ
มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ลําดับที่ 1 ได้พัฒนาความสามารถการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( X = 4.33, S.D.=
0.96) ลําดับที่ 2 ได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาการคิดของนักเรียน และได้ท้าทายความสามารถในการคิด
( X = 4.30, S.D.= 1.07) และลําดับที่ 3 ได้แก่ ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างความรู้เข้าใจได้ด้วยตนเอง
( X = 4.26, S.D.= 0.13) ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ําสุดอยู่ในด้านครูผู้สอน ได้แก่ ส่งเสริมให้มีการทํางาน
ร่วมกัน ( X = 3.70, S.D.= 1.46