บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะสมองเพื่อ
ความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF)ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง
( Purposive sampling) เพราะผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ(Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน และแบบทดสอบทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัย จำนวน 3 ด้าน 1. ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) 2. การยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) และ 3. การยืดหยุ่นความคิด (Shifting) และคู่มือการจัดประสบการณ์รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน30 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive
Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์เป็นแนวปฏิบัติในการจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่3 โดยยังเน้นให้เด็กสำราจ ค้นหาคำตอบ ลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ตรงและสะท้อนความคิดออกมาเชื่อมโยงสู่สถานการณ์ใหม่ โดยครูและผู้ปกครองให้การช่วยเหลือแนะนำ จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์ประกอบด้วยองค์ประกอบ3 ด้าน ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (2) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในการวิจัยนี้ ได้จำแนกสำหรับระดับอนุบาลเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) 2 การยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) และ 3. การยืดหยุ่นความคิด (Shifting) (3) ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพร้อมทั้งในพฤติกรรมทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function :EF) (4) การจัดประสบการณ์เน้นกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น นิทาน การทดลอง บทบาทสมมติ เพลง การระดมสมอง
การใช้คำถามปลายเปิด เป็นต้น (5) ครูต้องใช้เทคนิคการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจประกอบกับการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ และ (6) การประเมินผล ใช้การประเมินตามสภาพจริงด้วยการสังเกตพฤติกรรม การประเมิน ผลงานและการใช้แบบทดสอบ จากการสังเคราะห์ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ(Executive Function :EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ ประกอบด้วยขั้นการจัดการเรียนรู้ ดังนี้1 ชั้นนำ 2 ขั้นสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Preparations) ขั้นที่2 ขั้นตั้งคำถาม (Problem) ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนการดำเนินการ (Planning) ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติ(Practice) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Peroration) และ 3. ขั้นสรุป
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function: EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52, S.D. = 0.50)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะ
สมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ(Executive Function: EF) เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์มการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (ExecutiveFunction EF) เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการ
พัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีวัตถุประสงค์
ย่อยดังนี้
4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function:EF) หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสําเร็จ(Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัย นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สํานักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function :EF) ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก